เด็กน้อยนักเรียน

เด็กน้อยนักเรียน
เด็กๆกับวัยเรียนรู้

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

 องค์การการค้าโลก
(World Trade Organization : WTO)

ประวัติความเป็นมาของ  WTO
     เป็นองค์การที่ถือกำเนิดในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 อันเป็นผลมาจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัย ภายใต้การประชุมของความตกลงทั่วไปว่าด้ายภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ ( General Agreement on Tariffs and Trade : GATT ) องค์การการค้าโลก มีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 81 ประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มขึ้นถึง 144 ประเทศ โดยไต้หวันเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2002 องค์การการค้าโลกมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีของไทยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการในตั้งแต่ 1 กันยายน ค.ศ. 2002 ถึง ค.ศ. 2005 นับว่าเป็นผู้อำนวยการ WTO คนแรกของเอเซียและของประเทศที่กำลังพัฒนาที่ก้าวไปมีบทบาทในสถาบันเศรษฐกิจระดับโลก


วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งของ  WTO
  • สนับสนุนให้มีการค้าเสรีระหว่างสมาชิก  โดยเปิดเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าเป็นรอบๆ
  • ดูแลให้สมาชิกดำเนินการตามข้อตกลงทางการค้าที่มีต่อกัน
  • เป็นคนกลางในการตัดสินข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ

สัญลักษณ์ของ  WTO

หลักการสำคัญของ  WTO
1. ไม่เลือกปฏิบัติ  (Non-Discrimination)  กล่าวคือ  ประเทศสมาชิกจะต้องให้การปฏิบัติต่อสินค้าจากทุกประเทสเท่าเทียมกัน  (Most  Favoured  Nation  Treatment  :  MFN)   และปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าเท่าเทียมกันกับสินค้าภายในประเทศ  (National  Treatment)  ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษีภายใน  หรือการ-     กำหนดกฏระเบียบต่างๆ  
2.             ความโปร่งใส  (Transparency)  กล่าวคือ  ประเทศสมาชิกจะต้องพิมพ์เผยแพร่กฏหมาย  ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับมาตรการทางการค้าต่อสาธารณชน  และแจ้งให้ประเทศสมาชิกอื่นๆทราบ  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง  เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศ
3.             คุ้มครองผู้ผลิตภายในด้วยภาษีศุลกากรเท่านั้น  (Tariff  only  protection)  กล่าวคือ  ห้ามใช้มาตรการจำกัดการนำเข้าทุกชนิด  ยกเว้นกรณีที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของ  WTO
4.             ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป้นธรรม  (Fair  competition)  กล่าวคือ  ประเทศสมาชิกสามารถเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนสินค้านำเข้าได้  
5.             มีสิทธิ์ใช้ข้อยกเว้นในกรณีฉุกเฉินและจำเป็น  (Necessary  Exceptions  and  Emergency  Action)กล่าวคือ  ประเทศสมาชิกสามารถใช้มาตรการคุ้มกันชั่วคราว  ในการขาดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศหรือในกรณีที่เป็นข้อยกเว้นทั่วไป  เช่น  เพื่อรักษาสุขภาพของประชาชน  สัตว์   พืช  เพื่อศีลธรรมอันดี  และเพื่อความมั่นคงภายในประเทศ  เป็นต้น
6.             มีกระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้าให้คู่กรณี  (Trade  Dispute  Settlement  Mechanism)  กล่าวคือ เมื่อมีกรณีขัดแย้งทางการค้าให้หารือเพื่อหาทางยุติข้อพิพาท  หากไม่สามารถหาข้อสรุปไห้  ให้นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติข้อพิพาทของ WTO
7.             ให้แต้มต่อกับประเทศกำลังพัฒนา  (Special  and  Differential  Treatment)  เช่น  การลดภาษีนั้น ประเทศกำลังพัฒนาจะมีเวลาปรับตัวนานกว่า  และลดภาษีลงน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว  ผ่อนผันให้ประเทศกำลังพัฒนาจำกัดการนำเข้าได้  หากมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพดุลการชำระเงิน  และให้ประเทศพัฒนาแล้วให้สิทธิพิเศษทางศุลกากรแก่  ประเทศกำลังพัฒนาได้  แม้จะขัดกับหลัก  MFN  เป็นต้น
8.             ใช้ระบบฉันทามติ  (Consensus)  กล่าวคือ  ในการเจรจาเรื่องหนึ่งเรื่องใด  หากประเทศใดประเทศหนึ่งไม่เห็นด้วย  ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็กหรือใหญ่  เรื่องนั้นก็ยังไม่รับเป็นมติ
9.             ให้มีการรวมกลุ่มทางการค้าเพื่อลดภาษีระหว่างกันได้  หากมีวัตถุประสงค์เพื่อการขยายการค้า  แต่มิใช่เพื่อกีดกันทางการค้าจากประเทศนอกกลุ่ม  (No  Trade  Blocs)

บทบาทหน้าที่ของ  WTO
1.             บริหารความตกลงและบันทึกความเข้าใจ  28  ฉบับ  โดยผ่านคณะมนตรี  (Council)  และคณะกรรมการ (Committee)  ตลอดจนดูแลให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณี
2.             เป็นเวทีเพื่อเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก  ทั้งในรูปของมาตรการภาษีศุลกากรและมาตรการภาษีที่มิใช่ศุลกากร
3.             เป็นเวทีเพื่อให้สมาชิกหันหน้าเข้าหารือเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้า  และหากไม่สมารถตกลงกันได้  ก็จะจัดตั้งคณะผู้พิจารณา  (Panel)  ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ข้อเสนอแนะ
4.             เป็นผู้เฝ้าดูแลสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ  และจัดให้มีการทบทวนนโยบายการค้าของสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ
5.             ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนา  ในด้านข้อมูล  ข้อแนะนำ  เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้อย่างเพียงพอ  ตลอดจนทำการศึกษาประเด็นการค้าที่สำคัญๆ
6.             ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)  และธนาคารโลกเพื่อให้นโยบายทางเศรษฐกิจโลก สอดคล้องกันยิ่งขึ้น

โครงสร้างของ  WTO
          ประกอบด้วยองค์ประชุมระดับต่างๆและองค์กร  เพื่อทำหน้าที่กำหนดหรือทบทวนนโยบาย  การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ  ตลอดจนการระงับข้อพิพาท  และควบคุมดูแลประเทศสมาชิก  ดังนี้
1.             Ministerial  Conference  ประกอบด้วยรัฐมนตรีของทุกประเทศสมาชิก  ทำหน้าที่ตัดสินใจในเรื่องต่างๆที่นำเสนอโดยที่ประชุมคณะมนตรีต่างๆ  และคณะกรรมการต่างๆ  อย่างน้อยปีละ  2  ครั้ง
2.             General  Council  ประกอบด้วยผู้แทนของทุกประเทศสมาชิก  ทำหน้าที่ดูแลงานต่างๆของคณะมนตรีชุดย่อยลงไปและคณะกรรมการต่างๆ  ทำการทบทวนนโยบายการค้า  และกระบวนการยุติข้อพิพาท  และรายงานต่อ Ministerial  Conference  ภายใต้  General Council จะมีคณะมนตรีและคณะกรรมการ  ดังนี้                          
-   Council  for  Trade  in  Goods  คณะมนตรีว่าด้วยการค้า  ทำหน้าที่ดูแลความตกลงต่างๆที่เกี่ยวกับการค้า
-   Council  for  Trade  in  Services  คณะมนตรีว่าด้วยการค้าบริการ  ทำหน้าที่ดูแลความตกลงที่เกี่ยวกับการค้าบริการ
-   Council  for  Trade - Related  of  Intellectual  Property  Rights  เป้นคณะมนตรีการค้าว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา  ทำหน้าที่ดูแลความตกลงการค้าว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา
-   คณะกรรมการคณะต่างๆ  ที่ดูแลเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม  การค้า  และการพัฒนา   
3.             Dispute  Settlement  Body  หรือ  DSB  เป็นองค์กรระงับข้อพิพาท
4.             Trade  Policy  Review  Body  หรือ  TPRB  เป็นองค์กรทบทวนนโยบายการค้าของประเทสสมาชิก  ทำหน้าที่ตรวจสอบนโยบาย  มาตรการการค้าของประเทศสมาชิกให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการค้าเสรี

วิธีการเจรจาของ  WTO
  • เปิดตลาดแบบค่อยเป็นค่อยไป  (Progressive  Liberalization)
  • ใช้หลักการไม่เลือกปฏิบัติ  หรือ  MFN  
  • ให้แต้มต่อกับประเทสกำลังพัฒนา  คือ  ในการเจรจาจะต้องต่อให้กับประเทศกำลังพัฒนา  โดยคำนึงถึงระดับการพัฒนาประเทศที่ต่ำกว่า



ความตกลงที่สำคัญภายใต้  WTO
1.             พิธีการรอบอุรุกวัยภายใต้  GATT  1994  เรื่อง  การเปิดตลาด  (Marrakesh  Protocol)   ประเทศสมาชิกจะลดภาษีลงตามที่ระบุไว้ในตารางข้อตกลงลดหย่อน  โดยจะลดลงเท่าๆกันทุกปี  เป็นเวลา  5  ปี  และผูกพันไว้ที่อัตราเสนอลด  โดยเป็นการลดภาษีศุลกากรสินค้าอุตสาหกรรมทั่วไป  และการยับยั้งหรือเพิกถอนข้อลดหย่อนสามารถทำได้  โดยต้องมีการเจรจาชดเชยความเสียหายให้กับประเทศที่มีผลประโยชน์อย่างสำคัญ
2.             ความตกลงว่าด้วยสินค้าเกษตร  (Agreement  on  Agriculture)   กำหนดให้เปลี่ยนมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร  เป็นภาษีศุลกากรทั้งหมด  โดยต้องเปิดตลาดโควต้าภาษีจำนวนหนึ่ง  ในอัตราภาษีต่ำ   ลดมาตราการการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนการค้า   และการอุดหนุนการส่งออก  ทั้งนี้  สมาชิกจะต้องเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้แก่กันทุกๆ  5  ปี   
3.             ความตกลงว่าด้วยสิ่งทอและเสื้อผ้า  (Agreement  to  Textiles  and  Clothing  :  ATC)  ประเทศผู้นำเข้าจะต้องยกเลิกมาตรการโควตานำเข้าภายในเวลา  10  ปี
4.             ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช  (Agreement  on  the  Application  of  Sanitary  and  phytosanitary  Measures  :  SPS)  การกำหนดระดับความปลอดภัย  และการตรวจสอบมาตรฐานสินค้านำเข้า  จะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ  หรือมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มารับรอง
5.             ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า  (Agreement  on  Technical  Barriers  to  Trade  :  TBT)  การออกระเบียบด้านเทคนิคและมาตรฐานต่างๆของสินค้า  รวมถึงข้อกำหนดเรื่องการบรรจุหีบห่อ  การทำเครื่องหมายการค้า  และการปิดฉลาก
6.             ความตกลงว่าด้วยระเบียบวิธีการออกใบอนุญาตนำเข้า  (Agreement  on  Import  Licensing)
7.             ความตกลงว่าด้วยการต่อต้านการทุ่มตลาด  (Antidumping  :  AD)
8.             ความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การอุดหนุน  (Agreement  on  Subsidies  and  Countervailing  Measures  :  SACM)
9.             ความตกลงว่าด้วยการประเมินราคาเพื่อการศุลกากร  (Customs  Valuation)
10.      ความตกลงว่าด้วยการตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก  (Agreement  on  Preshipment  Inspection  :  PSI)
11.      ความตกลงว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า  (Agreement  on Rules  of  Origin)
12.      ความตกลงว่าด้วยมาตรการปกป้อง  (Agreement  on  Safeguard)
13.      ความตกลงว่าด้วยการยุติข้อพิพาท  (Dispute  Settlement  Understanding  :  DSU)
14.      ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า  (Agreement on  Trade  Related  Aspects  of  Intellectual  Property  Rights  :  TRIPs) 
15.      ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ  (General  Agreement   on  Trade  in  Services  :  GATS)
16.      ความตกลงว่าด้วยมาตรการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้า  (Agreement   on  Trade-Related  Investment  Measure  :  TRIMs)

ประเทศไทยใน  WTO
     ประเทศไทยร่วมลงนามตามความตกลงมาร์ราเกซ  ซึ่งเป้นความตกลงจัดตั้ง  WTO  โดยประเทศไทยเข้าเป้นสมาชิกลำดับที่  59  มีสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อผูกพันที่สำคัญๆ  ดังนี้ 
1.             การเปิดตลาดสินค้าเกษตร
2.             การลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม
3.             การขยายการส่งออกสิ่งทอ
4.             การลดภาษีสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.             การเปิดตลาดการค้าบริการ
6.             ภาษีศุลกากรจากการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 
7.             การยกเลิกการกำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบ  หรือชิ้นส่วนในประเทศ
8.             ออกกฏหมายว่าด้วยการประเมินราคาศุลกากร
9.             ออกกฎหมายว่าด้วยทรัย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า


ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเป็นสมาชิก WTO
1.             มีกฏเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ  ทำให้การค้าระหว่างประเทศของโลกมีระเบียบมากขึ้น  สมาชิกไม่  สามารถกำหนดมาตราฐานสินค้าได้ตามอำเภอใจ  การกีดกันทางการค้าโลกจึงลดลง  การแข่งขันทางการค้าเป็นธรรมมากขึ้น  ราคาสินค้าและบริการเป้นไปตามกลไกของตลาดโลก  สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนของไทย  ในการที่จะขยายการลงทุนและการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้น
2.             มีโอกาสทางการค้าและมีตลาดส่งออกมากขึ้น  เนื่องจากสมาชิกของ  WTO  มีจำนวนมากขึ้นทุกปี  โดยประเทศเหล่านี้ก็ได้ผูกพันที่จะลดภาษี  ยกเลิกหรือลดการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆลง  ทำให้ไทยมีโอกาสทางการค้าเพิ่มขึ้น  เนื่องจากมีตลาดส่งออกเพิ่มขึน  ในขณะเดียวกัน  อัตราภาษีและอุปสรรคที่สินค้าออกของไทยต้องเผชิญ  มีแนวโน้มลดลง  
3.             มีอำนาจในการต่อรองทางการค้ามากขึ้น  ในการเจรจาสองฝ่าย  ประเทศเล็กมักจะเสียเปรียบประเทศใหญ่  เนื่องจากประเทศเล็กมักมีอำนาจต่อรองน้อยกว่า  และมักถูกประเทศใหญ่กว่ากดดัน  จนต้องยอมตาม  แต่ในระบบการค้าพหุภาคีสมาชิกทุกประเทศมีสิทธิมีเสียงเท่ากัน  ดังนั้น   การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของไทย  ทำให้ไทยมีอำนาจในการต่อรองทางการค้าเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไทยได้มากขึ้น  นอกจากนั้น  ไทยยังสามารถรวมตัวกับประเทศหรือกลุ่มประเทศสมาชิกอื่นๆแสดงจุดยืนร่วมกันเพื่อเพิ่มพลังต่อรองทารงการค้าได้ด้วย
4.             มีอำนาจในการตรวจสอบนโยบายการาค้าของประเทศคู่ค้ามากขึ้น  ประเทศที่พัฒนาแล้วถูกตรวจสอบทุก 2 ปี ประเทศกำลังพัฒนาถูกตรวจสอบทุกๆ 4 ปี ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดถูกตรวจสอบทุกๆ 6 ปี ดังน้นไทยจึงมีสิทธิและมีโอกาสที่จะตรวจสอบนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้าว่าสอดคล้องกับกฏเกณฑ์ของ WTO และอุปสรรคต่อการส่งออกของไทยหรือไม่อย่างไร หากพบว่าไม่สอดคล้องกับกฏเกณฑ์ของWTOและกระทบต่อผลประโยชน์ของไทย ไทยก็สามารถนำขึ้นฟ้องร้องได้
5.             ผู้บริโภคของไทยมีทางเลือกมากขึ้น  ไทยและประเทศสมาชิกจะต้องเปิดตลาดให้สินค้าและบริการจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้น  ด้วยการลดภาษีและอุปสรรคทางการค้าลง จึงทำให้ผู้บริโภคของไทยมีสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและราคาที่หลากหลายให้เลือกซื้อกันมากขึ้น
6.             ต้นทุนการผลิตลดลง  การลดภาษีและมาตรการกีดกันทางการค้า  จะทำให้วัตถุดิบที่นำเข้ามีราคาลดลงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตตลอดจนราคา สินค้าสำเร็จรูปและบริการในประเทศมีราคาลดลง ในแง่ของสินค้าการเกษตรประเทศคู่แข่งของไทยนอกจากจะเปิดตลาดให้แก่สินค้า เกษตรมากขึ้นแล้ว  ยังจะต้องลดการให้เงินอุดหนุนเกษตรกรภายในประเทศ  และลดการให้เงินอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรลง  ซึ่งจะทำให้ไทยมีความได้เปรียบในแง่ของการแข่งขัน  เนื่องจากไทยมีต้นทุนวัตถุดิบที่มีราคาสูงกว่า
7.             มีการจ้างงานมากขึ้น  การส่งออกที่มากขึ้นจะช่วยนำรายได้เข้าประเทศมากขึ้น  เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้มีการลงทุนและการผลิตเพื่อการส่งออกเพิ่ม ขึ้น  การจ้างงานก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย 

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและธุรกิจไทยในการเข้าเป็นสมาชิก WTO

ผลประโยชน์ที่จะได้รับ
                1.มีกฎระเบียบการค้าที่ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม  สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ค้าและผู้ลงทุน 
                2.ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสามารถคาดการณ์และวางแผนการค้าระหว่างประเทศล่วงหน้าได้เนื่องจากมีความโปร่งใสโดยเฉพาะในเรื่องภาษี 
                3.ผู้บริโภคมีทางเลือกจากการมีผู้ประกอบการมากขึ้น  ตลอดจนได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพราคาถูกลง 
                4.มีเวทีในการร้องเรียนข้อพิพาททางการค้า  และมีแนวร่วมในการต่อสู้กับประเทศใหญ่ 
                5.มีกฎ ระเบียบที่รัดกุม โปร่งใส และเป็นธรรม  เช่น การไต่สวนและการเก็บอากรต่อต้านการทุ่มตลาดและตอบโต้การอุดหนุน 
    

ผลเสียที่ไทยได้รับ
                1.โดยภาพรวมแล้ว พันธกรณีของไทยต่อองค์การการค้าโลก มิได้ก่อให้เกิดผลเสีย  เนื่องจากผูกพันเปิดเสรีเท่าที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้  อาทิ ภาษี  ส่วนใหญ่ผูกพันไว้สูงกว่าที่เรียกเก็บจริงภาระในการลดภาษ๊จึงไม่มากนัก  และการอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นในธนาคารหรือบริการคมนาคม พื้นฐานก็เป็นไปตามที่กฎหมายปัจจุบันให้ไว้ 
                2.ในส่วนที่ไทยต้องดำเนินการเพิ่ม 
                              2.1ไทยต้องปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับความตกลง 
                               2.2ไทยต้องปรับปรุงมาตรฐานการผลิตภายในประเทศให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามากขึ้น  เนื่องจากมีแนวโฯ้มว่าจะมีการนำมาตรการที่มิใช่ภาษีมาเป็นเครื่องมือในการกีดกันการค้ามากขึ้น เช่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งไทยมีกรณีพิพาทกับสหรัฐฯมาแล้วในเรื่องการใช้มาตรการอนุรักษ์เต่าทะเลของสหรัฐฯและมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ( SPS : Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measured ) ซึ่งส่งผลต่อการส่งออกของไทย เช่น ในกรณีที่ออสเตรเลียห้ามนำเข้าไก่ต้มสุก  และเม็กซิโกห้ามนำเข้าข้าวจากไทย เป็นต้น 
                              2.3ไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของ WTO อย่างเคร่งครัด 


ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทย
                1.จะต้องผลักดันให้ระบบการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศมีความเสรีและเป็นธรรมยิ่งขึ้นไปอีก ตามทิศทางที่ได้ดำเนินการไปแล้วภายใต้องค์การการค้าโลก 
                2.จะต้องมีการศึกษาอย่างถ่องแท้ว่าในบรรดาสินค้าเกษตรทั้งหลายนั้น มีสินค้าใดบ้างที่ไทยมีศักยภาพเหนือกว่าคู่แข่ง  และเป็นสินค้าที่มีความต้องการในตลาดโลก เพื่อผลักดันให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตของสินค้า 







อ้างอิง

http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Org-Inter/WTO.htm