เด็กน้อยนักเรียน

เด็กน้อยนักเรียน
เด็กๆกับวัยเรียนรู้

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โคบุตร

         
เรื่อง โคบุตร นี้เป็นกลอนนิทานเรื่องแรกของสุนทรภู่ ซึ่งมีคุณค่ากับวรรณกรรมไทยเป็นอย่างมาก
เยาวชนไทยรุ่นหลังอาจจะไม่รู้จักเรื่องนี้ด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงควรมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับนิทานกลอนของบรมครู ท่านสุนทรภู่ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น


ประวัติความเป็นมา
โคบุตร เป็นกลอนนิทานเรื่องแรกของสุนทรภู่ แต่งขึ้นเพื่อถวายเจ้านายในพระราชวังหลังพระองค์หนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่า คือ พระองค์เจ้าปฐมวงค์  เป็นเรื่องเกี่ยวกับ โคบุตรซึ่งเป็นลูกของพระอาทิตย์และนางอัปสร โดยฝากเลี้ยงไว้กับพญาราชสีห์ และนางไกรสร เมื่อเจริญชันษาโคบุตรซึ่งได้รับของวิเศษจากพระอาทิตย์ คือ แหวน และสังวาล และได้รับมอบใบยาวิเศษที่สามารถชุบชีวิตคนตายให้มีชีวิตได้จากราชสีห์ ต่อจากนั้นจึงเป็นเรื่องราวการผจญภัยของโคบุตร ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่งในตอนท้ายที่โคบุตรมีพระมเหสีสองคน คือ นางอำพันมาลา และนางมณีสาคร นางอำพันมาลาเห็นโคบุตรรักนางมณีสาครมากกว่าตน จึงทำเสน่ห์ให้โคบุตรหลงรัก แต่อรุณกุมารได้แก้ไขเสน่ห์ โคบุตรโกรธมากถึงกับสั่งประหาร แต่อรุณกุมารขอร้อง โคบุตรจึงขับไล่นางอำพันมาลาออกจากวัง ดังต่อไปนี้
     โฉมอำพันมาลาน้ำตาไหล
เห็นชาวในพระสนมมาคับคั่ง
ค่อยหยุดยืนฝืนองค์ทรงประทัง
เหลียวมาสั่งสาวสวรรค์กำนัลใน
จงปกป้องครองกันเป็นผาสุก
อย่ามีทุกข์เศร้าสร้อยละห้อยไห้
เรามีกรรมจำลาเจ้าคลาไคล
หักพระทัยออกจากทวารา


ลักษณะคำประพันธ์
เป็นคำกลอนสุภาพ  มีความยาว 28 เล่มสมุดไทย
สมัย 
            ต้นรัตนโกสินทร์

ปีที่แต่ง 
            ราวรัชกาลที่ 2

เนื้อเรื่องโคบุตร
            พระอาทิตย์ ได้ลงมามีความสัมพันธ์กับเทพธิดาในดอกบัวจนเกิดโอรส ด้วยกฎแห่งสวรรค์ ทำให้พระอาทิตย์ไม่สามารถเลี้ยงดูโอรสได้ จึงได้นำโอรสน้อยมาฝากให้ราชสีห์สองผัวเมียช่วยเลี้ยงดู
           ราชสีห์สองผัวเมียเลี้ยงดูโอรสของพระอาทิตย์จนเจริญวัย จนวันหนึ่ง พระอาทิตย์ก็ได้ปรากฏองค์ขึ้น พร้อมกับพระราชทานนามให้โอรสน้อยว่า โคบุตร และยังได้มอบเครื่องทรงกับสร้อยสังวาล และลูกแก้ววิเศษที่ทำให้เหาะได้ให้พระโคบุตร
            พระอาทิตย์ได้ให้พระโคบุตรผู้เป็นโอรสออกท่องไปในโลกกว้างเพื่อหาเมืองเพื่อขึ้นปกครอง พระโคบุตรจึงออกเดินทางทันที โดยที่ราชสีห์ได้มอบผงยาวิเศษที่ใช้ชุบชีวิตคนขึ้นมาได้ให้พระโคบุตรด้วย
             พระโคบุตรออกเดินทางจนมาถึงสระบัวแห่งหนึ่ง ได้กับ เจ้าหญิงมณีสาคร กับพระอรุณกุมารผู้เป็นอนุชากำลังจะถูกยักษ์สี่ตนทำร้าย จึงได้เข้าไปช่วยและฆ่ายักษ์ทั้งสี่ตนตาย
             เจ้าหญิงมณีสาครได้เล่าว่า ตนและพระอนุชาเป็นโอรสและธิดาของ ท้าวพรหมทัต และพระนางปทุมทัศ แห่งนครพาราณสี แต่ได้มีปุโรหิตชั่วคนหนึ่ง สมคบคิดกับลูกชายโค่นล้มราชบัลลังก์และปลงพระชนม์ท้าวพรหมทัตกับพระนางปทุมทัศสิ้นพระชนม์ ส่วนตนและพระอรุณกุมารหนีออกมาได้ พระโคบุตรจึงได้อาสาที่กู้ราชบัลลังก์กลับคืนมาให้ นอกจากนี้ พระโคบุตรยังได้นำผงยาวิเศษที่ได้จากราชสีห์ชุบชีวิตยักษ์สี่ตนขึ้นมาเพื่อให้ช่วยในการนี้ด้วย
             พระโคบุตรกอบกู้ราชบัลลังก์แห่งเมืองพาราณสีกลับคืนมาได้สำเร็จ และชุบชีวิตท้าวพรหมทัตกับพระนางปทุมทัศขึ้นมา ทำให้ทั้งสองพระองค์ซึ้งในน้ำใจของพระโคบุตรยิ่งนัก จึงได้รับพระโคบุตรเป็นลูกบุญธรรม
             พระโคบุตรอาศัยในเมืองพาราณสีได้ปีกว่าๆ ก็ออกเดินทางอีกครั้ง โดยคราวนี้ พระอรุณกุมารได้ขอติดตามไปด้วย
             ทั้งสองออกได้เหาะข้ามทะเล และได้พบกับ ยักษ์หัสกัณฐ์มัจฉา ซึ่งเป็นยักษ์ครึ่งปลา มี ๒๐ มือ หมายจะทำร้าย จึงได้เกิดการต่อสู้กัน แต่พระโคบุตรไม่สามารถฆ่าหัสกัณฐ์มัจฉาได้ เทวดาจึงปรากฏกายขึ้น และบอกพระโคบุตรว่า หัสกัณฐ์มัจฉาเคยได้พรว่าต้องตายด้วยน้ำมือของสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น และในบริเวณไม่ไกลจากนั้น มีฝูงลิงอาศัยอยู่ ให้พระโคบุตรไปตามพญาลิงเผือกซึ่งเป็นจ่าฝูงมา
            พระโคบุตรไปตามพญาลิงเผือกมา และมอบแหวนวิเศษให้ พญาลิงเผือกจึงขว้างแหวนวิเศษนั้นใส่หัสกัณฐ์มัจฉา ถึงแก่ความตายทันที
            หลังจากนั้น พระโคบุตรและพระอรุณกุมารก็อาศัยอยู่กับฝูงลิงจนเติบโตเป็นหนุ่ม จึงลาฝูงลิงและออกเดินทางต่อ
            พระโคบุตรและพระอรุณกุมารออกเดินทางมาจนถึงเมืองกาหลง ของท้าวหลวิราช ซึ่งท้าวหลวิราชมีธิดานามว่า นางอำพันมาลา เลิศด้วยสิริโฉมยิ่งนัก พระโคบุตรหลงรักนางแต่แรกเห็น และได้พานางหนีออกมา
             พระโคบุตร นางอำพันมาลา และพระอรุณกุมารได้เดินทางกลับสู่เมืองพาราณสีอีกครั้ง ซึ่งท้าวพรหมทัต เตรียมจะยกราชบัลลังก์ให้แก่พระโคบุตร แต่พระโคบุตรกล่าวว่า ตนมิได้มีเชื้อสายแห่งนครพาราณสีแต่กำเนิด ราชบัลลังก์แห่งเมืองพาราณสีควรจะเป็นของพระอรุณกุมารมากกว่า
             พระอาทิตย์ผู้เป็นบิดาเห็นดังนั้น จึงได้สร้างเมืองใหม่ให้พระโคบุตรปกครอง ชื่อว่า เมืองปราการบรรพต โดยมีนางอำพันมาลา และนางมณีสาครเป็นมเหสีอยู่เคียงข้าง
             หลังจากอภิเษกสมรสแล้ว พระโคบุตรก็เอาแต่หลงใหลนางมณีสาคร จนนางอำพันมาลาที่กำลังตั้งครรภ์อ่อนๆ เกิดความอิจฉายิ่งนัก นางสร้อย ซึ่งเป็นนางรับใช้ของนางอำพันมาลาจึงได้ไปหา เถรกระอำ พระจอมขมังเวทย์ให้ช่วยทำเสน่ห์ให้พระโคบุตรหลงใหลนางอำพันมาลา และพิธีก็ได้ผล พระโคบุตรเอาแต่หลงใหลนางอำพันมาลาจนไม่สนใจกิจการงานเมือง
             จนกระทั่งความจริงปรากฏ พระโคบุตรก็ทรงกริ้วมาก และเนรเทศนางอำพันมาลาออกจากเมือง ซึ่งนางอำพันมาลาได้รอนแรมอยู่ในป่าจนสลบไป
          *เนื้อเรื่องของโคบุตรที่กรมศิลปากรชำระและพิมพ์เผยแพร่จบลงเพียงเท่านี้ แต่ได้มีผู้สืบค้นต่อไป และพบว่า สุนทรภู่ยังได้แต่งเรื่องโคบุตรต่อจากนั้นอีก*
            หลังจากนางอำพันมาลาสลบอยู่กลางป่า ราชสีห์ที่เลี้ยงดูพระโคบุตรเมื่อครั้งเยาว์วัยมาพบเข้า จึงได้พาไปอาศัยอยู่ด้วยจนนางให้กำเนิดโอรสที่มีใบหน้าละม้ายคล้ายพระโคบุตรยิ่งนัก ด้วยความสงสัย ราชสีห์จึงได้ถามจนทราบความว่าเรื่องมีที่มาอย่างไร ราชสีห์จึงพานางอำพันมาลาไปเข้าเฝ้าพระโคบุตรทันที
         เมื่อได้เห็นหน้าโอรสน้อย พระโคบุตรก็ใจอ่อน จึงรับนางอำพันมาลาซึ่งสำนึกผิดแล้วและพระโอรสกลับเข้ามาอยู่ในเมือง ซึ่งขณะนั้น นางมณีสาครเองก็มีโอรสน้อยเช่นกัน พระโคบุตรจึงตั้งชื่อโอรสอันเกิดจากนางมณีสาครว่า มณีสุริยัน และตั้งชื่อโอรสอันเกิดจากนางอำพันมาลาว่า อำพันสุริยา
        กล่าวถึง ตะวันยักษ์นาคา สหายของหัสกัณฐ์มัจฉา เกิดความแค้นที่พระโคบุตรสังหารสหายของตน จึงได้ส่ง นางมณีกลีบสมุทร ซึ่งเป็นธิดา ให้ไปจับตัวพระโคบุตรมาให้ตนสังหารเสีย ซึ่งนางมณีกลีบสมุทรได้แปลงกายเป็นสาวสวยเข้ามายั่วยวนจนพระโคบุตรหลงใหล
        วันเวลาผ่านไปจนนางมณีกลีบสมุทรตั้งครรภ์อ่อนๆ ก็นึกถึงหน้าที่บิดาของตนสั่งมาได้ จึงจับตัวพระโคบุตรไปให้ตะวันยักษ์นาคา แต่ก็ขอร้องให้บิดาไว้ชีวิตพระโคบุตรด้วย เพื่อเห็นแก่ลูกในท้องของตน ในที่สุด ตะวันยักษ์นาคาก็ใจอ่อน จึงยอมปล่อยพระโคบุตรไป
         พระโคบุตรและมเหสีทั้งสามจึงปกครองเมืองปราการบรรพตสงบสุขนับแต่นั้นมา





คำถาม - คำตอบ
คำสั่ง  ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (x) ที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว 10 ข้อ
1. ใครเป็นผู้แต่งโคบุตร
     ก.  เจ้าฟ้ากุ้ง
     ข. สุนทรภู่
     ค.  ศรีปราชญ์
     ง.  รัชกาลที่ 6
6. โคบุตร แต่งขึ้นเมื่อใด
     ก.  สมัยอยุธยา
     ข. สมัยสุโขทัย
     ค.  สมัยรัตนโกสินทร์
     ง.  สมัยธนบุรี
2. จุดประสงค์ของการแต่งโคบุตร คือ
     ก.  เพื่อถวายเจ้านายในพระราชวังหลัง
     ข. เพื่อนำไปแสดงละครนอก
     ค.  แต่งให้คนรัก
     ง.  แต่งเป็นนิทานสอนใจ
7.  โคบุตรพาใครหนีออกมาจากเมือง
     ก.  นางมณีสาคร
     ข.  พระอรุณกุมาร
     ค.  นางอำพันมาลา
     ง.  พญาลิงเผือก
3. โคบุตร มีลักษณะคำประพันธ์แบบใด
     ก. โคลง
     ข. ฉันท์
     ค.  กาพย์
     ง.  กลอน
8. พระโคบุตรมีโอรสชื่อว่าอะไร
     ก.  มณีสุริยัน
     ข.  มณีแดง
     ค.  สุริยัน
     ง.  เทวฤทธิ์
4. โคบุตร เป็นลูกของใคร
     ก.  พระจันทร์
     ข.  พระอิศวร
     ค.  พระอาทิตย์
     ง.  พระอินทร์
9.  พระอาทิตย์ได้สร้างเมืองใหม่ให้พระโคบุตรปกครอง ชื่อว่า
     ก.  เมืองปราการบรรพต
     ข.  เมืองกาหลง
     ค.  เมืองพาราณสี
     ง.  เมืองกุสินารา
5. ใครเป็นผู้ชุบเลี้ยงโคบุตร
     ก.  พญายักษ์
     ข.  พญาลิง
     ค.  พญาสิงห์
     ง.  พญาราชสีห์
10. ใครครองเมืองพาราณสีต่อจากท้าวพรหมทัต
     ก.  พระโคบุตร
     ข.  พระอรุณกุมาร
     ค.  พระไชยศิลป์
     ง.  พระมณีพิชัย



เฉลยโคบุตร

1.        
2.        
3.        
4.        
5.        
6.        
7.        
8.        
9.        
10.      

อ้างอิง
http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=39208
 

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านใน ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์

ตำบลเกาะใหญ่

           ต.เกาะใหญ่ ตั้งอยู่ใน อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา 



          เดิมพื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์เป็นตำบลหนึ่งที่อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้มี คณะสงฆ์ ผู้นำชุมชน และคณะครูอาจารย์ในพื้นที่ ๓ ตำบล ได้แก่ ตำบลโรง ตำบลเชิงแส และตำบลเกาะใหญ่ ได้ประชุมตกลงกันเสนอให้ทางการแยก การปกครองออกจากอำเภอระโนด เนื่องจากการคมนาคมระหว่างสามตำบลมีความลำบากไม่สะดวกกับการติดต่อกับทางราชการโดยตกลงขอใช้ชื่อว่า “กิ่งอำเภอกระแสสินธุ์” ทั้งนี้ก็ด้วยการนำเอาอักษรย่อของสามตำบลมาร่วมกันตั้งเป็นชื่อดังกล่าว คือ

บ้านทุ่งบัว
บ้าน ทุ่งบัว  ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา สาเหตุที่เรียกชื่อ บ้านทุ่งบัว เนื่องจากพื้นที่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน ติดต่อกับทะเลสาบสงขลา มีน้ำขังตลอดปี มีบัวนาขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “บ้านทุ่งบัว”
การก่อตั้งหมู่บ้าน เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.ใด นั้นไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แต่จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ว่าน่าจะก่อตั้งหมู่บ้านประมาณไม่ต่ำกว่า ๔๐๐ ปีมาแล้ว บุคคลกลุ่มแรกที่เริ่มมาก่อตั้งหมู่บ้าน คือ สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ พร้อมญาติโยม ซึ่งอพยพหนีภัยโจรสลัดมาลายู มาจากจังหวัดนราธิวาส โดยทางเรือ ซึ่งได้จอดเรือไว้ที่อ่าวบ้านทุ่งบัว ต่อมาซึ่งชาวบ้านได้ขุดพบหลักฐานซากเรือโบราณดังกล่าว ที่บริเวณอ่าวหน้าบ้านทุ่งบัว ปัจจุบันซากเรือได้เก็บรักษาอยู่ที่วัดทุ่งบัว
สภาพภูมิศาสตร์ ของหมู่บ้านทุ่งบัวในอดีต พื้นที่ทางทิศตะวันตกติดกับภูเขาพื้นที่เป็นป่ารก อุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้ สัตว์ป่านาๆชนิด เช่น เสือ กวาง ลิง กระรอก เป็นต้น ทางด้านทิศตะวันออก เป็นที่ราบติดกับทะเลเป็นทุ่งหญ้า อ่าวดอกบัว


บ้านแหลมยาง
                บ้านแหลมยาง  ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านมาประมาร ๒๐๐ ปี มาแล้ว พื้นที่ตั้งหมู่บ้านมีลักษณะเป็นที่ราบเชิงภูเขา ติดต่อกับทะเลสาบสงขลา สาเหตุที่เรียกชื่อบ้านว่า “แหลมยาง” สมัยก่อนพื้นที่ในหมู่บ้านมีต้นยางขึ้นอยูป็นจำนวนมาก และมีต้นยางขนาดใหญ่มาก จำนวน ๑ ต้น มีอายุหลายร้อยปี ผู้สัญจรไปมาในท้องทะเล ไม่ว่าจะเป็นคนในท้องถิ่น หรือต่างถิ่น เช่น ชาวบ้านจากจังหวัดพัทลุง ก็จะมองเห็นต้นยางใหญ่ต้นนี้มาจากระยะไกล ซึ่งเป็นจุดเด่นและสัญลักษณ์ว่า ใกล้จะถึงบ้านแหลมยางแล้ว จึงเรียกชื่อบ้าน “แหลมยาง” มาจนถึงปัจจุบัน


บ้านไร่

บ้านไร่ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา  เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีมาแล้ว พื้นที่ตั้งหมู่บ้านมีลักษณะเป็นที่ราบ เชิงภูเขา สมัยก่อนพื้นที่เป็นป่ารกไม่มีเจ้าของ ต่อมาประชาชนเข้ามาถางป่า จับจองที่ดินทำกิน ทำไร่ ส่วนใหญ่จะทำไร่ข้าว ไร่มัน ละไร่แตงโม จึงเรียกหมู่บ้านว่า “บ้านไร่”


บ้านแหลมบ่อท่อ



บ้านแหลมบ่อท่อ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา  ที่มาของชื่อหมู่บ้านแหลมบ่อท่อ เนื่องจากพื้นที่ของหมู่บ้านมีลักษณะเป็นที่ราบเชิงภูเขาติดต่อกับทะเลสาบสงขลา ชาวบ้านจึงเรียกว่า “แหลม” ส่วน “บ่อท่อ” มาจากชื่อของบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านอยู่ทางทิศเหนือของวัดแหลมบ่อท่อ ประมาณ ๗๐ เมตร ติดกับทะเลสาบสงขลา เป็นบ่อน้ำผุดขึ้นเหนือพื้นดินตามธรรมชาติ มีน้ำใส และปริมาณน้ำในบ่อมาก ชาวบ้านจึงนำไม้ มาทำท่อสวมลงไปในบ่อเพื่อรองรับน้ำให้สะดวกในการใช้น้ำ จึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “แหลมบ่อท่อ” จนถึงปัจจุบัน


บ้านยางทอง

                บ้านยางทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕  ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา  สาเหตุที่เรียกชื่อ บ้านยางทอง เนื่องจากในสมัยก่อนในหมู่บ้านมีต้นยางเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านมีอาชีพเผาเอาน้ำมันมาจากต้นยาง มาทำไต้เพื่อใช้แสงสว่าง และใช้มันยางในการต่อเรือ และมีต้นยางขนาดใหญ่ ๑ ต้น ปัจจุบันอยู่ที่ “หลาทวด” ซึ่งไม่ใครสามารถตัดเอามาทำน้ำมันยางได้ เนื่องจากมีงูจงอางอยู่ประจำที่ต้นยาง และชาวบ้านในหมู่บ้านเชื่อว่าเป็นต้นยางที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ จึงเป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้าน มีการบนบาน ร้องขอในสิ่งต่างๆ เมื่อได้ตามความประสงค์ก็จะนำทองคำเปลว มาติดต้นยางรอบๆต้น จนเต็มไปด้วยทองคำเปลว จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน “ยางทอง” จนถึงปัจจุบัน
                ปัจจุบัน ต้นยางต้นดังกล่าวไม่มีแล้ว แต่ชาวบ้านได้สร้างศาลา (ชาวบ้านเรียกว่า หลาทวด ตั้งอยู่บนเนินภูเขาเกาะใหญ่ หมู่ที่ ๕ ต.เกาะใหญ่) และรูปปั้นของทวด ถืองูจงอางมีหงอนสีแดงพันรอบๆรูปปั้น เพื่อเป็นที่สักการบูชา ปัจจุบัน ชาวบ้านยังทำพีเซ่นไหว้ทำบุญให้แก่ทวด เป็นประจำทุกปี ปีละ ๒ ครั้ง ในวัน สงกรานต์และวันทอดผ้าป่า


บ้านแหลมหาด
                บ้านแหลมหาด ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา  ได้ก่อตั้งขึ้นโดยประมาณ ๑๕๐ ปี มาแล้ว โดยมีนายปาน ขุนราช เป็นกำนันคนแรก ที่มาของชื่อบ้านแหลมหาด เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นพื้นดินที่ยื่นออกไปในทะเลสาบ เรียกว่า แหลม และมีหาดทราย ซึ่งในอดีตมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านเรียกอีกชื่อว่า หาดไข่เต่า ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดแหลมหาด และเรียกชื่อว่า บ้านแหลมหาด ในปัจจุบันบ้านแหลมหาด ยังมีชื่อบ้านที่แยกออกเป็น ๓ หมู่บ้าน คือ บ้านคลองเติง บ้านแหลมเตาปูน บ้านสวนฝรั่ง

บ้านเกาะใหญ่
                บ้านเกาะใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา  บ้านเกาะใหญ่เริ่มก่อตั้งเป็นหมู่บ้านมาประมาณ ๓๐๐ ปีมาแล้ว สาเหตุที่เรียกชื่อบ้านว่าบ้านเกาะใหญ่ เนื่องจากมีสภาพพื้นที่เป็นแหลมที่มีภูเขายื่นติดต่อกับทะเลสาบสงขลา ลักษณะเหมือนเกาะขนาดใหญ่ ชาวบ้านจึงเรียก “บ้านเกาะใหญ่” จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านว่า คนกลุ่มแรกที่เป็นผู้เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเกาะใหญ่ คือ สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ ซึ่งอพยพหนีภัยโจรสลัดมลายู มาจากจังหวัดนราธิวาส
                เกาะใหญ่ เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของทะเลสาบสงขลา ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของทะเลสาบสงขลาตอนเหนือ ห่างจากฝั่งตะวันตกประมาณ ๑๕ กิโลเมตร อาณาเขตเกาะใหญ่ ทิศเหนือ  ใต้ ตะวันตก จดทะเลสาบสงขลา ส่วนทางทิศตะวันออกจดคลองยมราช กว้างประมาณ 10 เมตร ยาวจากฝั่งทะเลสาบที่อ่าวทุ่งบัวไปจดฝั่งทะเลสาบที่อ่าวเกาะใหญ่ รวมความยาวคลองนี้ ประมาณ ๒,๕๐๐ เมตร


บ้านแหลมคูลา
                บ้านแหลมคูลา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา  ที่มาของชื่อบ้านแหลมคูลา เนื่องจากมีลักษณะพื้นที่ดินยื่นออกไปนอกทะเลสาบสงขลาฝั่งตะวันตก จึงเรียกว่า”แหลม” ส่วน “คูลา” เนื่องจากในสมัยก่อนชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ข้าว และมีนกคูลา มากินข้าวในไร่ และอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้เป็นจำนวนมาก จึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่าบ้านแหลมคูลา (ปัจจุบันอาชีพทำไร่ข้าวจ้าวและนกคูลา ไม่มีให้เห็นอีก) และอีกกระแสหนึ่งชาวบ้านเล่าว่า เดิมเคยมีพระพุทธรูปทำด้วยโลหะชื่อว่า พระคูลา เป็นพระคู่บ้านแต่ปัจจุบันพระพุทธรูปดังกล่าวไม่ได้อยู่ในหมู่บ้านอีกแล้ว จึงเรียกชื่อหมู่บ้านตามชื่อพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว

บ้านแหลมชัน
            บ้านแหลมชัน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา  ได้แยกหมู่บ้านมาจากหมู่ที่ ๖ ตำบลเกาะใหญ่ ในปี ๒๕๒๘ โดยมีนายจรูญ  บุษบงค์  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ที่มาของชื่อ บ้านแหลมชัน เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งของหมู่บ้านแหลมชัน มีลักษณะเป็นแหลมเชิงภูเขาสูงชันติดริมทะเล ชาวบ้านจึงเรียกว่า “บ้านแหลมชัน