เด็กน้อยนักเรียน

เด็กน้อยนักเรียน
เด็กๆกับวัยเรียนรู้

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ละครนอก เรื่อง มณีพิชัย

ละครนอก เรื่อง มณีพิชัย นี้  ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านในอดีต ที่รู้จักกันในชื่อว่า ยอพระกลิ่น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง และการได้ศึกษาเรียนรู้ยังเป็นการช่วยสืบต่อวัฒนธรรมไทยไว้อีกทางหนึ่งด้วย


บทละครนอก
เรื่อง  มณีพิชัย
ประวัติความเป็นมา
                เป็นที่รู้จักกันในชื่อเรื่องว่า "ยอพระกลิ่น" เข้าใจกันว่าเป็นบทพระราชนิพนธ์ในล้นเกล้า รัชกาลที่ ๒ โดยทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนสำหรับใช้เป็นบทละครนอก ซึ่งความจริงร.๒ แต่เฉพาะตอนที่ยอพระกลิ่น ปลอมตัวเป็นพราหมณ์มาขอพระมณีพิไชยไปเป็นทาส ส่วนเนื้อเรื่องตามต้นเรื่องและบทท้ายนั้น จากหนังสือ "รวมพระราชนิพนธ์บทละครนอก ๖ เรื่อง" ไม่ได้ระบุว่าใครเป็นผู้แต่ง ซึ่งทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดย บริษัท สามเศียร จำกัด และ บริษัท ดาราวิดีโอ จำกัดเคยนำมาสร้างเป็นละครพื้นบ้านแนวจักรๆวงศ์ๆในชื่อ ยอพระกลิ่น โดยผู้รับบท มณีพิชัย คือ ชาตรี พิณโณ และผู้รับบทยอพระกลิ่นคือ กบ สุวนันท์ คงยิ่ง โดยละครเรื่องนี้ออกอากาศเมื่อ ปี 2535

ความมุ่งหมาย 
                เพื่อความบันเทิงของประชาชน

ลักษณะการแต่ง  
                กลอนบทละคร

ข้อคิดที่ได้จากเรื่องมณีพิชัย
                ปัญหาครอบครัวที่สะท้อนให้เห็นจากเรื่องมณีพิชัยนั้น สาเหตุหลักน่าจะเกิดขึ้นจากลักษณะนิสัยของตัวละครในเรื่อง ซึ่งมีทั้งความรัก โลภ โกรธ หลง อยู่ภายในจิตใจ  และอีกสาเหตุหนึ่ง คือ ตัวละครฝ่ายชายที่ไม่พิถีพิถันในการเลือกคู่ครองนั้นเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาระหว่างฝ่ายหญิงกับเครือญาติของตน เช่น ในเรื่องมณีพิชัยทั้งพ่อแม่และมณีพิชัยเองต่างไม่มีใครทราบถึงภูมิหลังของนางยอพระกลิ่นเลย เมื่อมณีพิชัยพบนางยอพระกลิ่นในปล้องไม้ไผ่เกิดต้องใจก็พานางเข้าเมืองเลย ทำให้เกิดปัญหาภายหลัง คือนางจันทรต้องการให้มณีพิชัยแต่งกับราชธิดาพระเจ้ากรุงจีน เพราะนางยอพระกลิ่นไม่มีชาติตระกูลไม่เหมาะสมกับมณีพิชัย
             ตัวการสำคัญที่มีผลทำให้ครอบครัวแตกแยกมากที่สุด คือนางจันทรเทวี  ผู้เป็นแม่ของพระมณีพิชัย ที่ต้องการได้ลูกสาวพระเจ้ากรุงจีนผู้ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่เขย มาเป็นลูกสะใภ้  แต่กลับพบว่า พระมณีพิชัยได้นางยอพระกลิ่นมาเป็นพระชายาแล้ว  จึงออกอุบาย ใส่ร้ายนางยอพระกลิ่น ดังที่นางได้สารภาพหลังจากที่นางยอพระกลิ่นปลอมตัวเป็นพราหมณ์มารักษาว่า
           แม่กลัวกรุงจีนจะโกรธา  
ยกมารบพุ่งเอากรุงใหญ่
จึงแกล้งทำแยบยลกลใน
พาโลลูกสะใภ้ด้วยมารยา
เอาเลือดวิฬาร์ทาปากนาง
ตัดหางแซมใส่ในเกศา
แล้วขับไล่ไปเสียจากพารา 
พาลผิดริษยานางทรามวัย
แม่ทำชั่วน่าชังครั้งนี้
เพราะจะให้พระมณีมีเมียใหม
บอกเจ้าตามจริงทุกสิ่งไป
อย่าให้แม่ม้วยชีวี
                 นางจันทรเทวี อ้างว่ากลัวพระเจ้ากรุงจีนจะโกรธและยกทัพมา  แต่ลึก ๆ แล้วนางก็คงไม่อยากได้หญิงที่ไม่มีหัวนอนปลายเท้ามาเป็นลูกสะใภ้ จึงออกอุบายเพื่อที่จะกำจัดนางยอพระกลิ่นแบบนี้ เพราะนางจันทรเทวียึดติดอยู่กับชาติตระกูลมากเกินไป
                พระมณีพิชัย ก็มีถือว่ามีส่วน คือ มีไม่หนักแน่น มีความอ่อนแอและหูเบา เมื่อได้นางยอพระกลิ่นมาก็ไม่บอกให้พ่อแม่รับรู้  ปล่อยให้พ่อแม่รับปากว่าจะให้แต่งงานกับธิดาพระเจ้ากรุงจีน  จึงเกิดเรื่องราววุ่นวายขึ้น  ทั้งยังไม่คิดจะช่วยเหลือ  หรือสอบสวนข้อเท็จจริง ตอนที่นางยอพระกลิ่นถูกใส่ร้าย  โดยยินยอมให้นำตัวไปฝังทั้งเป็น  ซึ่งอาจเกิดจากความที่พระมณีพิชัยเองก็ ไม่แน่ใจในตัวนางยอพระกลิ่นเช่นกัน  
               ความยุ่งยากที่เกิดขึ้นในเรื่องมณีพิชัยนี้จึงนอกจากอิทธิพลของการเลือกคู่ครองที่กล่าวในข้างต้นแล้วพอจะสรุปได้ว่า เกิดจากความหลงในอำนาจชาติตระกูลของนางจันทรเทวี ส่งผลให้ออกอุบายใส่ร้ายนางยอพรกลิ่น  และความไม่มั่นใจในตัวคนรักของพระมณีพิชัย  ที่ไม่เชื่อใจคนรักของตน ทั้งหมดนี้จึงเกิดเป็นปัญหาครอบครัวแตกแยก  เกิดการพลัดพรากและต้องติดตามหาตัวกันตลอดทั้งเรื่อง

ผู้แสดง
                ในสมัยโบราณจะใช้ผู้ชายแสดงล้วน ผู้แสดงจะต้องมีความคล่องแคล่วในการรำ และร้อง มีความสามารถที่จะหาคำพูดมาใช้ในการแสดงได้อย่างทันท่วงทีกับเหตุการณ์ เพราะขณะแสดงต้องเจรจาเอง

การแต่งกาย
                ในขั้นแรกตัวละครแต่งตัวอย่างคนธรรมดาสามัญ เป็นเพียงแต่งให้รัดกุมเพื่อแสดงบทบาทได้สะดวก ตัวแสดงบทเป็นตัวนางก็นำเอาผ้าขาวม้ามาห่มสไบเฉียง ให้ผู้ชมละครทราบว่าผู้แสดงคนนั้นกำลังแสดงเป็นตัวนาง ถ้าแสดงบทเป็นตัวยักษ์ก็เขียนหน้าหรือใส่หน้ากาก ต่อมามีการแต่งกายให้ดูงดงามมากขึ้น วิจิตรพิสดารขึ้น เพราะเลียนแบบมาจากละครใน บางครั้งเรียกการแต่งกายลักษณะนี้ว่า "ยืนเครื่อง"

การแสดง  
                การแสดงละครนอกมีความมุ่งหมายในการแสดงเรื่องมากกว่าความประณีตในการร่ายรำ ฉะนั้นในการดำเนินเรื่องจะรวดเร็ว ตลกขบขัน ไม่พิถีพิถันในเรื่องของขนบธรรมเนียมประเพณี การใช้ถ้อยคำของผู้แสดง มักใช้ถ้อยคำ "ตลาด" เป็นละครที่ชาวบ้านเรียกกันเป็นภาษาธรรมดาว่า "ละครตลาด" ทั้งนี้เพื่อให้ทันอกทันใจผู้ชมละคร
ดนตรี
                มักนิยมใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า ก่อนการแสดงละครนอก ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงโหมโรงเย็น เป็นการเรียกคนดู เพลงโหมโรงเย็นประกอบด้วย เพลงสาธุการ ตระ รัวสามลา เข้าม่าน ปฐม และเพลงลา
เพลงร้อง
                มักเป็นเพลงชั้นเดียว หรือเพลง 2 ชั้น ที่มีจังหวะรวดเร็ว มักจะมีคำว่า "นอก" ติดกับชื่อเพลง เช่น เพลงช้าปี่นอก โอ้โลมนอก ปีนตลิ่งนอก ขึ้นพลับพลานอก เป็นต้น มีต้นเสียง และลูกคู่ บางทีตัวละครจะร้องเอง โดยมีลูกคู่รับทวน มีคนบอกบทอีก 1 คน  บทร้องจากเรื่องมณีพิชัย ที่นิยมนำไปร้องเพลง โอ้ลาว
                เพลงโอ้ลาวจัดอยู่ในประเภทเพลงเร็วของโบราณ ในอัตราสองชั้นและชั้นเดียว ประเภทหน้าทับสองไม้ และต่อมามีผู้คิดขยายเป็นอัตราสามชั้นหลายทาง โดยทางที่นิยมนำมาบรรเลงกัน เป็นทางของหลวงประดิษฐไพเราะ ซึ่งแต่ราวพ.ศ. 2456 ท่วงทำนองอ่อนหวาน โศก ซึ้ง ใช้บรรเลงในความหมายถึงการคร่ำครวญ รำพึงรำพันถึงความทุกข์ยากในขณะเดินทางไกล หรือแสดงความอาลัยอาวรที่ต้องจากถิ่นที่อาศัย

สถานที่แสดง
                โรงละครเป็นรูปสี่เหลี่ยมดูได้ 3 ด้าน (เดิม) กั้นฉากผืนเดียวโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามท้องเรื่อง มีประตูเข้าออก 2 ทาง หน้าฉากตรงกลางตั้งเตียงสำหรับตัวละครนั่ง ด้านหลังฉากเป็นส่วนสำหรับตัวละครพักหรือแต่งตัว

เนื้อเรื่องมณีพิชัย
            ท้าววรกรรณ และ พระนางบุษบง ได้จัดงานเลือกคู่พระธิดา ชื่อ เกศนี มีราชา และเจ้าชายจากต่างเมือง มาเลือกคู่มากมาย และนางกลับเลือกชายที่สติไม่เต็ม ท้าววรกรรณจึงขับไล่ออกนอกวัง ชายบ้าใบ้จึงคืนร่างกลายเป็นพระอินทร์ดังเดิม และพานางเกศนีขึ้นไปอยู่บนสวรรค์จนมีลูก แต่ทวยเทพจะมีลูกไม่ได้ผิดธรรมเนียม จึงนำลูกที่ชื่อยอพระกลิ่นมาไว้ในปล้องไผ่ จึงเสกของอำนวยความสะดวกให้แก่ยอพระกลิ่นจนโตเป็นสาว ทำให้ปล้องไผ่นั้นหอมอบอวล
                มณีพิชัย โอรสท้าวพิไชยนุราช และ นางจันทร แห่งกรุงอยุธยาได้ออกมาเที่ยว ได้กลิ่นจากปล้องไผ่ จึงใช้ดาบฟันปล้องไผ่ และปรากฏร่างหญิงสาว ชื่อ ยอพระกลิ่น จึงพบรักกัน และได้พานางเข้าวัง และบอกกับเสด็จพ่อเสด็จแม่ว่า ยอพระกลิ่นเป็น ชายา(เมีย) ของตนท้าวพิไชยนุราชสุดแสนดีใจ แต่ฝ่ายแม่นั้นไซร้ เกลียดซังนางยอกพระกลิ่นอย่างยิ่ง เพราะ ลูกของตนได้หมั้นหมายกับองค์หญิงแห่งกรุงจีนไปแล้ว กลับพานางยอพระกลิ่นแล้วมาบอกว่าเป็นเมียเสียนี่
                วันหนึ่งนางคิดแกล้งจึงบอกสาวใช้เอาเลือดแมวและศพแมวไปทิ้งไว้ในห้องยอพระกลิ่น รุ่งขึ้น นางจันทรจึงบอกกับท้าวพิไชยนุราชว่า นางยอพระกลิ่นเป็นกระสือ ให้ไล่ออกไป เพราะหลักฐานและพยานหนาแน่นนางยอพระกลิ่นจึงถูกขับไล่ออกจากวัง และพ่อของยอพระกลิ่น ได้ลงมาบอกให้ลูกสาวแปลงกายเป็นพราหมณ์  รอแก้แค้นอยู่ที่อาศรมริมสระน้ำนี่
               วันหนึ่งนางจันทรมาอาบน้ำที่สระได้ถูกงูพิษดที่แอบอยู่กับดอกบัวกัด นางเจ็บปวดแทบขาดใจกระเซอะกระเซิง เข้าวัง พราหมณ์ก็ได้ตามไปด้วยพร้อมกับบอกให้นางจันทรว่าจะรักษาพิษงูให้ หากนางยอมบอกความจริงว่ายอพระกลิ่นไม่ได้กินแมวนางรักษาให้ แต่หากไม่ยอมบอกจะปล่อยให้ตายนางจึงเล่าความจริงให้ฟัง และพอรักษาพิษงูได้ พราหมณ์ก็เอ่ยปากขอมณีพิชัยไปเป็นทาสสักระยะหนึ่งราชาก็ตกลง
                มณีพิชัยอยู่รับใช้พราหมณ์ที่อาศรมเป็นเวลานานหลายเดือน ถึงแม้พราหมณ์ยอพระกลิ่นจะแปลงกายเป็นสาวสวยมาลวงล่อให้หลงรัก แต่มณีพิชัยก็ไม่ชายตาแล พราหมณ์ยอพระกลิ่นเห็นว่า ผัวของตนซื่อสัตย์กับตนเองจึงคืนมณีพิชัยให้แก่เมืองอยุธยาดังเดิม
               ทางกรุงจีนเมืองปักกิ่งได้เร่งรัดให้ทางเมืองอยุธยามาแต่งงานองค์หญิงเล็กเร็วๆสักที เจ้าชายมณีพิชัยจึงต้องไปอภิเษกกลัวจะเกิดสงครามใหญ่ พราหมณ์ยอพระกลิ่นจึงขอตามไปด้วย พอไปถึงเจ้ากรุงจีนได้ทราบว่ามณีพิชัยได้มีชายาแล้วจึงแกล้งให้มณีพิชัยยกขันหมากมา 1,000 ชุด หากไม่ได้จะถูกประหาร ทั้งสองจึงหนีหลงเข้าไปในเมืองยักษ์ สลบไร้สติเพราะมนต์แห่งเมืองยักษ์ นางวาสันจึงจับมณีพิชัยไปให้นางผกาลูกสาวที่ตำหนัก จนพราหมณ์ฟื้นเห็นนางผกาอยู่กับผัวของตนที่ตำหนัก ก็พร่ำรำพันต่างๆนานา แล้วก็แปลงกายเป็นนางยอพระกลิ่นดังเดิมจนหมดสติไปอีก พระอินทร์จึงต้องมาแก้ไขเรื่องราวแล้วเหาะมาส่งที่เมืองอยุธยา ทั้งสองจึงจัดงานอภิเษกที่ยิ่งใหญ่ และครองรักกันอย่างมีความสุข ตราบฟ้าดินมลาย


 ภาพจาก  http://www.korattheatre.go.th/
นางยอพระกลิ่น

จากภาพการแสดงจะเห็นได้ว่า
            ท่าทางของตัวนางนั้น รำฉุยฉายยอพระกลิ่น ซึ่งอยู่ในละครดึกดำบรรพ์เรื่องมณีพิชัยบทพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เรื่องราวในตอนนี้มีอยู่ว่า พระมณีพิชัยจะต้องไปเป็นข้ารับใช้เจ้าพราหมณ์ ซึ่งที่แท้ก็คือนางยอพระกลิ่นผู้เป็นมเหสีปลอมตัวมา เจ้าพราหมณ์นึกสงสารพระมณีพิชัยจึงออกอุบายว่าจะไปป่า และจะให้น้องสาวมาอยู่เป็นเพื่อน เมื่อสั่งเสร็จแล้วเจ้าพราหมณ์ก็ลงจากศาลา หลบไปปลอมตัวกลับเป็นยอพระกลิ่นตามเดิม




 
อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น