เด็กน้อยนักเรียน

เด็กน้อยนักเรียน
เด็กๆกับวัยเรียนรู้

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ภัยธรรมชาติและการระวังภัย

ในปัจจุบันเกิดภัยธรรมชาติที่กระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ตั้งมากมาย ดังนั้นเราจึงควรมาทำความรู้จักกับภัยธรรมชาติและวิธีแก้ปัญหาอย่างถูกวิ เพื่อจะได้เตรียมรับมือได้อย่างปลอดภัย


ภัยธรรมชาติและการระวังภัย
                ภัยธรรมชาติ นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ หรือมนุษย์ได้ทำให้มันเกิดขึ้นมา ภัยธรรมชาติมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไป ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ภัยน้ำท่วม
                อันตรายจากน้ำท่วม เกิดจากระดับน้ำในทะเล มหาสมุทร และแม่น้ำสูงมาก จนท่วมท้นล้นฝั่งและตลิ่ง ไหลท่วมบ้านเรือน ด้วยความรุนแรงของกระแสน้ำ ทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก ในแต่ละปีเราจะได้ยินข่าวอยู่เสมอว่า มีอุทกภัยเกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลก เช่น อินเดีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
สาเหตุเกิดจาก
                ฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลานานจนระบายน้ำฝนไม่สามารถระบายออกจากพื้นที่ได้  โดยมากจะเป็นฝนจากลมพายุและหย่อมความกดอากาศ  (บริเวณที่มีความกดอากาศลดลงจากขอบนอกเข้าสู่ศูนย์กลาง  มีกระแสพัดเข้าหาศูนย์กลางในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ  และในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกได้  ในบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำจะมีเมฆมากและมีฝนตกด้วย)
                                -  เกิดเนื่องจากการระบายน้ำไม่ดีมีสิ่งกีดขวางทางเดินของน้ำ  เช่น  ถนนที่ไม่มีท่อระบายน้ำ  การสร้างบ้านเรือนขวางทางการไหลของน้ำ  เป็นต้น
                                -  พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม
                                -  น้ำทะเลหนุน
                                -  แม่น้ำตื้นเขิน
                แนวทางป้องกันและระวังภัยจากภัยน้ำท่วม
                1.  การปลุกบ้านที่อยู่อาศัยควรยกพื้นสูงให้พ้นระดับน้ำ
                2.  ไม่สร้างสิ่งกีดขวางเส้นทางน้ำตามธรรมชาติ  เพื่อให้น้ำระบายน้ำได้สะดวกรวดเร็ว
                3.  ต้องหมั่นขุดลอกลำน้ำเพื่อลดการตื้นเขิน               
                4.  ต้องมีการบริหารการจัดการน้ำส่วนที่เกินไว้ใช้ในฤดูแล้ง เช่น  สร้างอ่างเก็บน้ำ  การผันเส้นทางแม่น้ำไปในพื้นการเกษตรที่ขาดแคลนน้ำ
                5.  ติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าบริเวณเสี่ยงภัย
                6.  ประชาชนหมั่นคอยติดตามข่าวจากกรมอุตุนิยมวิทยา
ภัยสึนามิ
ภาพจาก http://talk.mthai.com/topic/296569

                เป็นคลื่นทะเลขนาดใหญ่  สามารถเคลื่อนด้วยความเร็ว  700 800  กิโลเมตรต่อชั่วโมงไปได้ไกลถึง  1,000  กิโลเมตร  คลื่นมีความสูงประมาณ  30  เมตร เป็นคลื่นหรือกลุ่มคลื่นที่มีจุดกำเนิดอยู่ในเขตทะเลลึก ซึ่งมักปรากฏหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม แผ่นดินทรุด หรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงในทะเล คลื่นสึนามิสามารถเข้าทำลายพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้

                สาเหตุการเกิดคลื่นสึนามิ 
                เกิดจากแผ่นดินไหวรุนแรงใต้ท้องทะเล  การปะทุของภูเขาไฟใต้มหาสมุทร  หรือบนเกาะกลางมหาสมุทร  การเคลื่อนตัวของเปลือกผิวโลก  แผ่นดินถล่มใต้มหาสมุทรบริเวณไหล่ทวีป (บริเวณพื้นน้ำใต้ทะเลของทวีปที่มีความลาดเอียงน้อย  แผ่ยื่นออกไปจากฝั่งทะเล  นับจากแนวน้ำลงต่ำสุดไปในทะเลที่ระยะจากแนวน้ำลึก  200  เมตร)  หรือการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ทะเล  การพุ่งชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่ลงบนพื้นน้ำในมหาสมุทร  ส่วนมากจะเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก  โดยเฉพาะแนววงแหวนไฟแปซิฟิก
                คลื่นสึนามิในมหาสมุทรหรือทะเลตรงที่เกิดแผ่นดินไหวเป็นความพยายามที่จะกลับคืนสู่สมดุลย์ภายหลังจากการยกตัวอย่างฉับพลันของพื้นท้องหมาสมุทรนำมาซึ่งการยกตัวของมวลน้ำทะเลอย่างทันทีทันใด อนุภาคของน้ำจะกระเพื่อมขึ้นและลง เริ่มต้นเป็นศูนย์กลางของการแผ่กระจายคลื่นน้ำออกไปในทุกทิศทาง โดนอนุภาคของน้ำเคลื่อนที่เป็นวงรี และมีลักษณะยาวตามแนวนอน โดยมีความสูงของคลื่นไม่มากนักในทะเลลึกแต่มีค่าความเร็วสูง เมื่อคลื่นเข้าใกล้ฝั่งความเร็วของคลื่นจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างฉับพลัน โดยที่แรงปะทะยังทรงพลังอยู่ จึงทำให้ยอดคลื่นถูกยกขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว และสูงสุดที่ชายฝั่ง ดังนั้นผลกระทบจากคลื่นสึนามิบริเวณแหล่งกำเนิดในทะเลจึงแทบไม่ปรากฏ ส่วนบริเวณชายฝั่งตื้นย่อมก่อให้เกิดความเสียหายได้มากกับชีวิตและทรัพย์สินบริเวณชายฝั่งนั้น
แนวทางป้องกันและระวังภัยสึนามิ
                1.  กรณีเกิดฉับพลัน  ให้สังเกตน้ำทะเลบริเวณชายหาดลดลงอย่างรวดเร็ว  ควรรีบวิ่งไปอยู่ในที่สูง  กรณีเล่นเรืออยู่กลางทะเลรีบกลับเข้าหาฝั่ง
                2.  ควรศึกษาแนวทางไว้ป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
                3.  ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสึนามิ
                4.  ร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติ  โดยเฉพาะปลูกป่าชายเลน
                5.  ติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานต่างๆ 
ภัยดินถล่ม
ภาพจาก http://202.28.94.60/webcontest/2554/5440/page1.php

                สาเหตุที่เกิดแผ่นดินถล่ม 
                พื้นที่เป็นภูเขาที่มีความลาดชันมากและมีฝนตกหนักต่อเนื่องยาวนาน  ซึ่งดิน  หิน  และต้นไม้ไม่สามารถที่จะอุ้มน้ำได้จะไหลเข้าถมบ้านเรือนของผู้คนที่อาศัยอยู่ตามเชิงเขาหรือที่ต่ำ 
                จะเกิดจากการที่พื้นดินหรือส่วนของพื้นดินเคลื่อน เลื่อน ตกหล่น หรือไหล ลงมาจากที่ลาดชัน หรือลาดเอียงต่างระดับ ตามแรงดึงดูดของโลกในภาวะที่เกิดการเสียสมดุลด้วยเหตุต่างๆ มักพบบ่อยๆ บริเวณภูเขาที่ลาดชัน แต่ความจริงอาจเกิดขึ้นบริเวณฝั่งแม่น้ำ และชายฝั่งทะเลหรือมหาสมุทร แม้กระทั่งใต้มหาสมุทร

การสังเกตก่อนเกิดดินถล่ม
                - น้ำในลำห้วยขุ่นมาก หรือมีสีแดงขุ่นแสดงว่าจะมีตะกอนไหลมาตามลาดเขา
                - เวลาฝนตกนาน ๆ จะมีเสียงดังเหมือนตอนมีน้ำป่ามา ต้นไม้ล้มหรือก้อนหินกลิ้งดังครืน ๆ ถ้ามีเสียงนั้นจริง ๆ แสดงว่าดินจะถล่มลงมา
                - บ้านที่อยู่ในที่ราบเชิงเขาอาจจะเกิดดินถล่มจากภูเขาลงมาทำความเสียหายแก่บ้านเรือนได้
สาเหตุการเกิดดินถล่ม
                - ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันหรือดินบนลาดเขาเป็นดินร่วนและมีความลาดชัน มาก ๆ
                - การทำไร่เลื่อนลอยบนภูเขา ทำให้สภาพดินต้องไป เมื่อฝนตกหนักนาน ๆ ดินบนภูเขานั้นอิ่มน้ำและไถลลงมาตามลาดเขานำเอาตะกอนดิน, ก้อนหิน, ซากไม้ล้มลง มาด้วย

                แนวทางป้องกันและระวังภัยจากแผ่นดินถล่ม 
                1.  ไม่เข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าและพื้นที่เสียงภัย เพื่อก่อสร้างอาคารสถานที่
                2.  ไม่ทำการเกษตรและปลูกบ้านเรือนบริเวณเชิงเขา  และใกล้เส้นทางน้ำไหลตามธรรมชาติ
                3.  ติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา




ภัยไฟป่า
ภาพจาก http://chm-thai.onep.go.th/chm/PA/Detail/treat.html

                ไฟป่าจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  มักเกิดจากอากาศแห้งแล้งอุณหภูมิสูงและมนุษย์เป็นผู้กระทำเพื่อประโยชน์ในการเก็บของป่า  ล่าสัตว์  เผาเพื่อพื้นที่เพาะปลูก

                สาเหตุของการเกิดไฟป่า
               ไฟป่าจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ต้องอาศัยปัจจัย 3 สิ่งคือ เชื้อเพลิง ออกซิเจน และความร้อน ซึ่งเป็น องค์ประกอบของไฟ
                โดยปกตินั้นในป่ามีทั้งเชื้อเพลิงเช่น กิ่งไม้ใบไม้แห้งต่างๆและออกซิเจนหรืออากาศอยู่แล้ว หากมีความร้อนขึ้นย่อมทำให้เกิดไฟป่าขึ้น ฉะนั้น"ความร้อน"จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่าขึ้น
ต้นเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนขึ้นจนกระทั่งกลายเป็นไฟป่าอาจเกิดจากธรรมชาติเอง เช่น ต้นไม้เสียดสีกัน ฟ้าผ่าเป็นต้น หรือจากคนที่จุดไฟขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ ในประเทศไทยไม่พบไฟป่าที่เกิดโดยความร้อนตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือของคนทั้งสิ้น มนุษย์จึงเป็นต้นเหตุของไฟป่า ที่สำคัญยิ่ง ดังนี้
                -ล่าสัตว์- จุดไฟเพื่อให้สัตว์หนีออกจากที่ซ่อน เพื่อสะดวกในการล่า
-เผาไร่- เผากำจัดวัชพืช เตรียมพื้นที่เพาะปลูกโดยปราศจากการควบคุมทำให้ไฟลุกลามเข้าไปในป่า
-หาของป่า- ตีผึ้ง เก็บไข่มดแดง ผักหวาน หน่อไม้ เห็ด ใบตองตึง เก็บฟืน
-เลี้ยงสัตว์- เพื่อให้หญ้าแตกใบอ่อนเป็นอาหารสัตว์ในบริเวณใกล้พื้นที่ป่าแล้วเกิดลุกลามเข้าไปในป่า
-นักท่องเที่ยว- หุงต้มอาหาร ให้แสงสว่าง ให้ความอบอุ่น แล้วดับไม่สนิทเกิดเป็นไฟป่าในที่สุด
-ความขัดแย้ง- ชาวบ้านอาจเกิดความขัดแย้งกับหน่วยราชการในพื้นที่แล้วแกล้งโดยจุดไฟเผาป่า
-ลักลอบทำไม้- เผาทางให้โล่งเตียนเพื่อสะดวกในการลากไม้ ไล่ยุง หุงต้มอาหารในป่า เป็นต้น
                แนวทางป้องกันและระวังภัยจากการเกิดไฟป่า
                1.  รณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่า  ให้ผู้คนตระหนักถึงความเสียหายที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม  และให้เห็นความจำเป็นในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
                2.  การทำแนวกันไฟ  เพื่อลดโอกาสการเกิดไฟป่า
                3.  เตรียมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษดับไฟป่าในช่วงฤดูแล้ง
                4.  หาพื้นที่กักเก็บสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง  และรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด
                5.  ติดตามข่าวสารพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา

ภัยพายุ
ภาพจาก http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=72

                เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากลมแรง  ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือนสิ่งก่อสร้าง  ชีวิตคนและสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อนเป็นตัวการสำคัญของการเกิดภัยพายุ เราเรียกว่า วาตภัย
                พายุฝนฟ้าคะนองโดยทั่วไปเป็นพายุที่เกิดเฉพาะท้องถิ่น เกิดจากเมฆคิวมูโลนิมบัส มีฟ้าแลบ (lightning) กับฟ้าร้อง (thunder) รวมอยู่ด้วย นอกจากนั้นมักจะมีลมกระโชกแรง (strong gust) และฝนตกหนักเกิดขึ้น บางครั้งมีลูกเห็บ (hail) ตกลงมาด้วย พายุฝนฟ้าคะนองนี้เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้น มีน้อยครั้งที่เกิดขึ้นนานกว่า 2 ชั่วโมง
                พายุฟ้าคะนอง เป็นลมกระโชกแรงที่เกิดจากเมฆ ที่ก่อตัวทางดิ่งอย่างรุนแรงมียอดเมฆสูงมาก ฐานเมฆมีสีดำ มีเสียงฟ้าร้อง ฟ้าคะนอง ฟ้าผ่าอย่างรุนแรงและถี่ มักจะมีลูกเห็บตกลงมาด้วย

                สาเหตุการเกิดพายุ
                ส่วนใหญ่เกิดจากพายุหมุนในเขตร้อน  ที่เกิดขึ้นในบริเวณอ่าวเบงกอลในมหาสมุทรอินเดีย  เรียกว่า  พายุไซโคลน  ส่วนที่เกิดที่มหาสมุทรแปซิฟิกใต้และทะเลจีน  เรียกว่า  พายุไต้ฝุ่น  ส่วนในออสเตรเลีย  เรียกว่า  พายุวิลล์-วิลลี
วาตภัยยังอาจเกิดขึ้นได้จากมรสุมมีกำลังแรง ซึ่งประเทศไทยจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

                แนวทางป้องกันและระวังภัยจากวาตภัย
                1.  เมื่อฝนตก  ฟ้าคะนอง  ไม่ควรอยู่ที่โล่ง  งดใช้เครื่องสื่อสาร
                2.  ถ้าอยู่ในพื้นที่เสียงควรหมั่นติดตามข่าวสารและคำเตือนจากรมอุตุนิยมวิทยา
                3.  ชาวประมงควรงดออกเรือหาปลาในทะเล
                4.  หมั่นตรวจสอบความแข็งแรงของบ้านเรือนของตนเอง
                5.  เตรียมอุปกรณ์ยังชีพฉุกเฉิน  เช่น  ไฟฉาย  ยารักษาโรค  อาหารแห้ง
                6.  ผู้อาศัยอยู่ใกล้ทะเล  ต้องระวังคลื่นสูงพัดเข้าฝั่ง



ภัยน้ำป่าไหลหลาก
ภาพจาก http://www.siamrath.co.th/web/?q=category/channel/health&page=6

                น้ำป่า หรือ น้ำท่วมฉับพลัน (flash flood) คือน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในแม่น้ำ ลำธารหรือร่องน้ำที่เกิดจากฝนที่ตกหนักมากติดต่อกันหรือจากพายุฝนที่เกิดซ้ำที่หลายครั้ง น้ำป่าอาจเกิดจากที่สิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เขื่อนหรือฝายพังทลาย

สาเหตุภัยน้ำป่าไหลหลาก
สาเหตุของน้ำป่าเกิดจากการอิ่มตัวของผืนดินจากฝนที่ตกมากเกินขีดความสามารถในการดูดซับน้ำ ทำให้ปริมาณของน้ำฝนที่ตกลงมาทั้งหมดไหลไปตามผิวพื้นดินจากที่เคยถูกซึมซับไว้ได้ น้ำจะรวมตัวไหลสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็ว ในระหว่างทางก็จะมีน้ำป่าส่วนอื่นเพิ่มปริมาณสมทบทะลักลงไปตามร่องน้ำอย่างรวดเร็ว ยิ่งชันและมีพื้นที่รับน้ำมาก ก็ยิ่งมีความเร็วและพลังที่รุนแรงมากขึ้น ผลที่ตามมาคือการเพิ่มระดับน้ำตามทางน้ำอย่างรวดเร็วนับเป็นวินาทีจนอพยพหนีไม่ทัน น้ำป่าอาจเกิดได้จากเหตุอื่น เช่นการอุดขวางทางน้ำโดยก้อนน้ำแข็งในประเทศเขตหนาว หรืออาจเกิดจากการแตกร้าวพังทลายของเขื่อนกั้นน้ำดังกล่าวมาแล้ว ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศต่างๆ

แนวทางป้องกันและระวังภัยน้ำป่าไหลหลาก
                        1. พยายามชะลอการไหลของน้ำให้กัดชะผิวหน้าดิน โดยเฉพาะบริเวณต้นน้ำลำธารให้น้อยที่สุด
                2. พยายามลดความรุนแรงของน้ำในแม่น้ำที่ไหลท่วมที่ราบน้ำท่วมสองข้างฝั่งโดยเฉพาะ
                การควบคุมอุทกภัยบริเวณต้นน้ำลำธาร จึงขึ้นอยู่กับการจัดการผิวดินของที่ลาดเท โดยการปลูกป่าใหม่ (reforestation) หมายถึง การเปลี่ยนสภาพพื้นที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นป่าไม้มาก่อนแต่ได้ถูกทำลายไปให้กลับเป็นป่าไม้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง การปลูกป่าใหม่ต้องหมั่นปลูกอยู่เสมอ เพื่อให้ผิวหน้าดินมีพืชปกคลุมจะได้ดูดซึมน้ำได้เพิ่มขึ้นสู่อัตราการไหลของน้ำผิวดินปกติ วิธีการข้อ A นี้รวมทั้งการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำหลาย ๆ แห่งและในหุบเขาตอนล่าง ๆ ด้วย เพื่อที่จะลดการปะทะของคลื่นที่เกิดจากน้ำท่วมได้อย่างมาก และสามารถปล่อยน้ำให้ไหลลงสู่แม่น้ำสายใหม่ได้ตลอดไป
                3.การไม่เข้าไปทำกิจกรรมในทางน้ำธรรมชาติ โดยเฉพาะในฤดูฝน หากสังเกตเห็นว่าอาจมีฝนตกบนภูเขาให้รีบย้ายขึ้นที่สูงไว้ก่อน ในกรณีที่นำป่าเริ่มหลากลงมา แม้แลดูว่ายังตื้นเดินลุยหรือขับรถข้ามโดยง่าย ก็อย่าเสียง จงหลีกเลี่ยงรีบหันกลับขึ้นที่สูงอย่างรวดเร็วไว้ก่อนเพราะน้ำป่าประมาทมิได้

แผ่นดินไหว 
ภาพจาก http://www.tkc.go.th/wiki/show/.com
                แผ่นดินไหวคืออาการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ความรุนแรงของการสั่นสะเทือนนี้มีตั้งแต่ที่มนุษย์ไม่รู้สึกจนถึงขั้นที่เกิดความเสียหายพังทลายของสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน ถนนหนทาง เขื่อน เป็นต้น
                สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว 
                เกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก (earth crust) เนื่องจาก เปลือกโลกมีลักษณะเป็นแผ่น ๆ(plates) เรียงประกอบกันอยู่ เสมือน jigsaw puzzle ประกอบกับภายในโลกมีความร้อนสูงมากก่อให้เกิดกระแสหมุนเวียน (convection) ของแมนเทิล (mantle) การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกมี 3 ลักษณะ
1.ชนกัน (convergent plates)
2.แยกหรือปริออกจากกัน (divergent plates)
3.เคลื่อนที่ในลักษณะเสียดสีกัน (transform plates)
               เมื่อเปลือกโลกเกิดการเคลื่อนไหวไม่ว่าลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือผสมกันจะก่อให้เกิดรอย แตกของเปลือกโลกหรือหิน (fault) และการระเบิดของภูเขาไฟซึ่งจะก่อให้เกิดการสะสมของพลังงานจลน์ (kinetic energy) ในเปลือกโลกบริเวณนั้นและพลังงานนี้จะถูกปลดปล่อยและแปรรูปเป็นพลังงานความร้อนจนกระทั่งหมดและกลับสู่สภาวะสมดุลย์ แต่ในช่วงที่เกิดการสะสมของพลังงานจะเกิดแรงทางธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (tectonic force) และก่อให้เกิดคลื่นแผ่นดินไหว(seismic waves) แพร่ออกไปทุกทิศทุกทางจากจุดแรกที่เกิดการสะสมพลังงานและพลังงานถูกปลดปล่อยออกไป (earthquake focus)
                ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนที่ของขอบรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก  จากภูเขาไปปะทุ  การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่  การสูบน้ำใต้ดินมาใช้มากเกินไป  ซึ่งทำให้ชั้นหินใต้ผิวโลกเคลื่อนตัวได้  รวมทั้งการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน  ซึ่งทั้งหมดนี้สาเหตุมาจากธรรมชาติและมนุษย์เป็นผู้กระทำ
                แนวทางการป้องกันและระวังภัยจากแผ่นดินไหว
                1.  สังเกตพฤติกรรมสัตว์พวกอยู่บนดินจะวิ่งเพ่นพ่าน  พวกอยู่ในรูจะออกมา
                2.  ศึกษาข้อมูลแผ่นดินไหว
                3.  ศึกษาคูมือเกี่ยวกับแผ่นดินไหวเพื่อเป็นข้อมูลในการระวังตน
                4.  กำหนดนโยบายในการก่อสร้างบ้านเรือนสามารถรองรับแผ่นดินไหวได้
                5.  ติดตามข้อมูลข่าวสาร
                6.  ฝึกซ้อมเตรียมการอพยพเพื่อความเข้าใจและลดการบาดเจ็บเละเสียชีวิต
               
อ้างอิง

http:www.bunnjong.files.wordpress.com
http://www.cmmet.tmd.go.th/met/natural_danger.php
http://www.siamvolunteer.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=11&auto_id=7&TopicPk=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น