เด็กน้อยนักเรียน

เด็กน้อยนักเรียน
เด็กๆกับวัยเรียนรู้

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระรายละเอียดต่างๆ จำนวน ๓๓ พระองค์


รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
พระรายละเอียดต่างๆ จำนวน ๓๓ พระองค์

กรุงศรีอยุธยามีพระมหากษัตริย์ปกครองทั้งหมด ๓๔ พระองค์ จาก ๕ ราชวงศ์ได้แก่ ราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณบุรี สุโขทัย ปราสาททอง และบ้านพลูหลวง ตามที่ปรากฎใน"พระราชพงศาวดารฉบับพระราช หัตถเลขา",๒ เล่ม ทั้งนี้บางแห่งนับพระมหากษัตริย์อยุธยาว่ามีเพียง ๓๓ พระองค์ โดยไม่นับว่า "ขุนวรวงศาธิราช" เป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา

ลำดับพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา

ลำดับ
พระนาม
ปีที่ครองราชย์
พระราชวงศ์
1
1893 - 1912 (19 ปี)
2
สมเด็จพระราเมศวร (พระราชโอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 1
1912 - 1913 (1 ปี)
อู่ทอง
3
1913 - 1931 (18 ปี)
4
สมเด็จพระเจ้าทองลัน (พระราชโอรสขุนหลวงพะงั่ว)
1931 (7 วัน)
สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ 2
1931 - 1938 (7 ปี)
อู่ทอง
5
สมเด็จพระรามราชาธิราช (พระราชโอรสพระราเมศวร)
1938 - 1952 (14 ปี)
อู่ทอง
6
สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) (พระราชนัดดาของขุนหลวงพระงั่ว)
1952 - 1967 (16 ปี)
สุพรรณภูมิ
7
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) (พระราชโอรสเจ้านครอินทร์ )
1967 - 1991 (16 ปี)
สุพรรณภูมิ
8
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระราชโอรสเจ้าสามพระยา)
1991 - 2031 (40 ปี)
สุพรรณภูมิ
9
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ)
2031 - 2034 (3 ปี)
สุพรรณถูมิ
10
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ)
2034 - 2072 (38 ปี)
สุพรรณภูมิ
11
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2)
2072 - 2076 (4 ปี)
สุพรรณภูมิ
12
พระรัษฎาธิราช (พระราชโอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4)
2076 (5 เดือน)
สุพรรณภูมิ
13
สมเด็จพระไชยราชาธิราช (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2)
2077 - 2089 (12 ปี)
สุพรรณภูมิ
14
พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) (พระราชโอรสพระไชยราชาธิราช)
2089 - 2091 (2 ปี)
สุพรรณภูมิ
ขุนวรวงศาธิราช (สำนักประวัติศาสตร์บางแห่งไม่ยอมรับว่าเป็นกษัตริย์)
2091 (42 วัน)
-
15
2091 - 2111 (20 ปี)
สุพรรณภูมิ
16
(พระราชโอรสพระมหาจักรพรรดิ)
2111 - 2112 (1 ปี)
สุพรรณภูมิ
17
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พระราชบุตรเขยในพระมหาจักรพรรดิ)
2112 - 2133 (21 ปี)
18
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา)
2133 - 2148 (15 ปี)
สุโขทัย (พระร่วง)
19
สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา)
2148 - 2163 (15 ปี)
สุโขทัย (พระร่วง)
20
พระศรีเสาวภาคย์ (พระราชโอรสพระเอกาทศรถ)
2163 (ไม่ทราบที่แน่ชัด)
สุโขทัย (พระร่วง)
21
2163 - 2171 (8 ปี)
สุโขทัย (พระร่วง)
22
สมเด็จพระเชษฐาธิราช (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม)
2171-2173 (2 ปี)
สุโขทัย (พระร่วง)
23
พระอาทิตยวงศ์ (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม)
2173 (36 วัน)
สุโขทัย (พระร่วง)
24
2173 - 2198 (25 ปี)
25
สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง)
2198-2199 (1 ปี)
ปราสาททอง
26
สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พระราชอนุชาพระเจ้าปราสาททอง)
2199 (3 เดือน)
ปราสาททอง
27
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง)
2199 - 2231 (32 ปี)
ปราสาททอง
28
2231 - 2246 (15 ปี)
29
2246 - 2251 (6 ปี)
บ้านพลูหลวง
30
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ)
2251 - 2275 (24 ปี)
บ้านพลูหลวง
31
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ)
2275 - 2301 (26 ปี)
บ้านพลูหลวง
32
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
2301 (2 เดือน)
บ้านพลูหลวง
33
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
2301 - 2310 (9 ปี)
บ้านพลูหลวง


พระราชปะวัติและเหตุการณ์สำคัญ

รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
·         พระเจ้าอู่ทองเข้ามาเสวยราชสมบัติ พราหมณ์ถวายพระนามชื่อ สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสุนทร บรมพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ แล้วให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวรขึ้นไปครองราชย์สมบัติในเมืองลพบุรี 
·         ครั้งนั้นขอมมีการแปรพักตร์ จึงให้ขึ้นไปเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวรให้ยกทัพไปตีกัมพูชา ในศึกครั้งนั้นไทยเสียพระศรีสวัสดิ์ไปให้แก่ชาวกัมพูชา เมื่อข่าวเข้ามาถึงพระนคร จึงมีพระราชโองการให้ไปเชิญสมเด็จพระบรมราชาธิราช ซึ่งเป็นพระเชษฐา อยู่ที่เมืองสุพรรณบุรีให้ไปรับกับกัมพูชา เพื่อช่วยพระศรีสวัสดิ์ สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า จึงยกทัพไปตีกัมพูชา ได้รับชัยชนะกลับมาและกวาดต้อนชาวกัมพูชาเข้ามาในไทยได้มากมาย
·         ศักราช 715 ทรงพระกรุณาตรัสว่าที่พระตำหนักเวียงเหล็กให้สถาปนาเป็นพระวิหารและพระมหาธาตุ เป็นพระอารามแล้วให้ชื่อว่า วัดพุทไธศวรรย์
·         ศักราช 725 ทรงพระกรุณาตรัสว่า ให้เผาศพที่ตายด้วยโรคอหิวา และที่ปลงศพนั้นให้สถาปนาพระเจดีย์และวิหารเป็นพระอารามแล้วให้นามว่า วัดป่าแก้ว
·         ศักราช 731 สมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 20 ปี

รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ( ครั้งที่ 1 )
·         สมเด็จพระราเมศวรขึ้นเสวยราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระรามาธิบดี

รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช ( ครั้งที่ 1 )
·         ปีศักราช 732 สมเด็จพระบรมราชาธิราช เสด็จลงมาจากสุพรรณบุรี สมเด็จพระราเมศวรจึงถวายราชสมบัติแล้วถวายบังคมลาขึ้นไปอยู่ลพบุรีอย่างเก่า
·         สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าสามารถตีเอาเมืองฝ่ายเหนือ เมืองนครพัง เมืองแซงเซรา เมืองพิษณุโลก ได้สำเร็จ ครั้งที่เสด็จไปเอาเมืองชากังราวนั้น พญาใช้แก้ว พญากำแหง ซึ่งเป็นเจ้าเมือง ออกรบกับท่าน พญาใช้แก้วตาย แต่พญากำแหงและไพร่พลหนีไปได้ ทัพหลวงจึงเสด็จกลับมาพระนคร
·         ศักราช 738 เสด็จไปเอาเมืองชากังราวได้สำเร็จ
·         ศักราช 744 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 13 ปี

พระเจ้าทองลัน
·         พระเจ้าทองลันขึ้นเสวยราชสมบัติได้ 7 วัน พระราเมศวรเสด็จลงมาจากเมืองลพบุรี จับพระเจ้าทองลัน แล้วปลงพระชนม์ ที่วัดโคกพญา
·        
รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ( ครั้งที่ 2 )
·         ศักราช 746 สมเด็จพระราเมศวรให้ยกพลขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ฝ่ายเจ้าเมืองเชียงใหม่ขอพระราชทานให้งดทำศึก 7 วัน เพื่อนำเครื่องราชบรรณาการออกไปเจริญพระราชไมตรี เมื่อครบ 7 วันแล้ว เสบียงในกองทัพเริ่มจะหมด สมเด็จพระราเมศวรทรงพระกรุณาสั่งให้บุกเข้ายึดเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าเมืองเชียงใหม่หนีออกไปได้ เหลือแต่นักส้างบุตรของเจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงทรงให้นักส้างถวายสัตยานุสัตย์ และให้ครองราชสมบัติ ณ เมืองเชียงใหม่ ขณะนั้น พญากัมพูชายกทัพเข้ามาถึงเมืองชลบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธิเจ้าอยู่หัว ให้พญาไชยณรงค์เป็นทัพหน้า ยกไปถึงสะพานแยก ชาวกัมพูชาออกมาตีทัพพญาไชยณรงค์ ทัพของพญากัมพูชาแตก พระเจ้าอยู่หัวยกเข้าตีเมืองได้ พญากัมพูชาหนีไปได้ จับได้พญาอุปราชลูกพญากัมพูชา
·         ศักราช 749 สถาปนาวัดภูเขาทอง เวลาเย็นเสด็จไป ณ พระที่นั่งมังคลาภิเษก ท้าวมลซึ่งตายแต่ก่อนนั้นมานั่งขวางทางเสด็จอยู่และหายไป สมเด็จพระราเมศวรบรมบพิตรก็เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 6 ปี

รัชกาลสมเด็จพระยาราม
·         พระยารามซึ่งเป็นพระราชกุมารท่านได้เสวยราชสมบัติ 14 ปี สมเด็จพญารามมีความพิโรธแก่เจ้ามหาเสนาบดี และให้กุมเอาตัวเจ้ามหาเสนาบดี แต่เจ้ามหาเสนาบดีหนีรอดไปอยู่ฟากปทาคูจาม จึงให้เชิญสมเด็จพระอินทราชา ณ เมืองสุพรรณบุรี เสด็จเข้ามาปล้นเอาพระนครศรีอยุธยาได้

รัชกาลสมเด็จพระอินทราชา
·         สมเด็จพระอินทราชานั้น เสวยราชสมบัติ ให้สมเด็จพญารามไปครองเมืองปทาคูจาม ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าอ้ายพญา ครองเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พญาครองเมืองแพรกศรีราชา เจ้าสามพญาครองเมืองชัยนาท
·         ศักราช 780 สมเด็จพระอินทราชาเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 15 ปี เจ้าอ้ายพญา เจ้ายี่พญา ยกเข้ามาชิงกันจะเอาราชสมบัติ ทั้ง 2 พระองค์ ทรงพระแสงของ้าวต้องพระศอขาดพร้อมกันทั้ง 2 พระองค์

รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
·         มุขมนตรีออกไปเฝ้าเจ้าสามพญา เพื่อเชิญเข้ามาในพระนครเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามชื่อ สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า
·         ศักราช 783 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองนครหลวงได้ ท่านจึงให้พระราชกุมารท่านพระนครอินท์เจ้า เสวยราชสมบัติ ณ เมืองนครหลวง
·         ศักราช 786 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าสร้างวัดมเหยงคณ์
·         ศักราช 790 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ แต่ทรงพระประชวร ทัพหลวงจึงเสด็จกลับ อีก 2 ปีถัดมา เสด็จขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง ครั้งนั้นได้เชลยศึกแสนสองหมื่นคน ทัพหลวงเสด็จกลับ
·         ศักราช 796 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 16 ปี


รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
·         สมเด็จพระราเมศวร เจ้าผู้เป็นพระกุมารของสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ขึ้นเสวยสมบัติ ทรงพระนามชื่อ พระบรมไตรโลกนาถ สร้างพระที่นั่งสรรเพชญบปราสาท แล้วพระราชทานชื่อขุนนางตำแหน่ง เอาทหารเป็นสมุหกลาโหม เอาพลเรือนเป็นสมุหนายก เอาขุนเมืองเป็นพระนครบาลเมือง เอาขุนวังเป็นพระธรรมาธิกร เอาขุนนาเป็นพระเกษตรา เอาขุนคลังให้ถือเป็นโกษาบดี และที่ถวายพระเพลิงสมเด็จพระรามาธิบดี ที่พระองค์สร้างกรุงนั้นให้สถาปนาพระมหาธาตุและพระวิหารเป็นอารามชือ วัดพระราม
·         ศักราช 802 เกิดไข้ทรพิษผู้คนล้มตายจำนวนมาก
·         ศักราช 803 แต่ทัพไปเอาเมืองมะละกา
·         ศักราช 804 แต่ทัพไปเอาเมืองสพเถิน
·         ศักราช 805 เกิดปัญหาราคาข้าวเปลือกแพง
·         ศักราช 806 ให้บำรุงพระพุทธศาสนาและหล่อรูปพระโพธิสัตว์ 550 พระชาติ
·         ศักราช 808 พญาเชลียงคิดกบฎ ปีถัดมา พญาเชลียงนำมหาราชมาเอาเมืองพิษณุโลกแต่ไม่สำเร็จ จึงยกทัพไปเอาเมืองกำแพงเพชรแทน เข้าปล้นถึง 7 วันก็ยังไม่ได้เมือง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระอินทราชาเสด็จไปช่วยกัน ครั้งนั้น พระอินทราชาต้องปืน ณ พระพักต์ ทัพมหาราชนั้นเลิกกลับคืนไป
·         ศักราช 810 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสร้างวิหารวัดจุฬามณี
·         ศักราช 811 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงพระผนวช วัดจุฬามณีได้ 8 เดือน และลาพระผนวช
·         ศักราช 813 มหาท้าวบุญชิงเมืองเชียงใหม่
·         ศักราช 815 พระบรมไตรโลกนาถได้ช้างเผือก
·         ศักราช 816 สมภพพระราชโอรส
·         ศักราช 821 ตั้งเมืองนครไทย
·         ศักราช 822 พระสีหราชเดโชถึงแก่กรรม
·         ศักราช 824 พญาลานช้างถึงแก่กรรม
·         ศักราช 828 พระบรมราชาผู้เป็นพระราชโอรสทรงผนวช
·         ศักราช 829 สมเด็จพระโอรสเจ้าลาผนวช
·         ศักราช 832 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จยกทัพไปตีเมืองทวาย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 38 ปี

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
·         สมเด็จพระบรมาชาธิราชเจ้าซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบรมไตรโลกนาถขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนาม สมเด็จพระรามาธิบดี
·         ในสมัยพระองค์มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และได้มีการนำปีนไฟมาด้วย การรบแบบใช้ดาบลดความสำคัญลง มีการแต่ตำราว่าด้วยการรบขึ้น เช่น การจัดกระบวนทัพ การตั้งค่าย การเดินทัพ การเข้าจู่โจม และการตั้งรับ
·         มีการจัดตั้งกรมสุรัสวดีขึ้น(คือ สัสดี ในปัจจุบัน) กรมสุรัสวดีมีหน้าทำบัญชีหางว่าว แยกประเภทว่าขุนนางผู้ใดมีเลกมนสังกัดจำนวนเท่าใด(เลก หมายถึง ไพร่มีหน้าที่ต้องเข้ารับราชการเป็นทหาร)
·         สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างสถูปเจดีย์ขึ้น 2 องค์ เพื่อบรรจุ อัฐิสมเด็จพระราชบิดา และบรรจุอัฐิของพระเชษฐา นอกจากนี้ยังได้ทรงสร้างพระวิหารหลวงขึ้นในวัดสุทธาวาสนี้ แล้วหล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่ด้วยทองสัมฤทธิ์หุ้มทองคำ ถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ (ต่อมาพระพุทธรูปองค์นี้ถูกพม่าเอาไฟเผาเพื่อลอกเองทองคำ จนองค์พระละลาย ครั้งเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2300)
·         ทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองขึ้นเป็นครั้งแรกในคลอกสำโรงกับคลองทัพนางในเมืองพระประแดง เพื่อสะดวกแก่การคมนาคมและการเดินเรือระหว่างลำแม่น้ำเจ้าพระยากับคลองบางปะกง
·         พ.ศ. 2050 พระเมืองแก้วเจ้าเมืองเชียงใหม่หวังจะแสดงอานุภาพด้วยการขยายอาณาเขต จึงยกทัพลงมาตีกรุงสุโขทัย ชาวเมืองรักษาเมืองไว้อย่างเข้มแข็ง ทัพเมืองเชียงใหม่ต้องยกถอยไป สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 รับสั่งให้พระยากลาโหมคุมกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ และตีได้เมืองแพร่
·         พ.ศ. 2056 เมืองเชียงใหม่ได้ให้หมื่นพิงยียกพมาตีเมืองสุโขทัย และหมื่นมะลายกทัพมาตีเมืองกำแพงเพชร แต่ชาวเมืองก็รักษาเมืองไว้ได้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 จึงยกทัพไปปราบปรามเมืองลำปาง แล้วยกทัพกลับมาและทรงเห็นว่าพระอาทิตยวงศ์พระราชโอรส มีพระชนมายุพอสมควรที่จะรับพระราชภาระของพระองค์ได้แล้ว จึงทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระบรมราชาตำแหน่งพระมหาอุปราช และไปครองเมืองพิษณุโลก
·         ชาวโปรตุเกสตีเมืองมะละกาได้ ต่อมาชาวโปรตุเกสรู้ว่าเมืองมะละกาเป็นเมืองขึ้นของไทย เกรงว่าไทยจะยกทัพไปตีเอาเมืองคืน จึงแต่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ชาวโปรตุเกสจึงได้ค้าขายกับไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวโปรตุเกสได้นำอารยธรรมมาเผยแพร่เป็นอันมาก ได้นำวิธีใช้ปืนไฟและวิชาทหารแบบยุโรปเข้ามาเผยแพร่ ได้มีชาวโปรตุเกสเข้ามารับราชการทหารไทย และเป็นกำลังในทางสงครามได้อย่างดี
·         สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงครองราชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2034 และสวรรคตในปี พ.ศ. 2074 สิริครองราชย์ได้ 38 ปี รวมพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา
รัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร (รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 )
·         สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรเป็นโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เดิมได้รับสถาปนา ให้เป็นพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ครองเมือง พิษณุโลก เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว จึงให้พระไชยราชาซึ่งเป็นอนุชาต่างมารดาไปครองเมืองพิษณุโลกแทน
·         ในสมัยพระองค์ได้เจริญสัมพันธไมตรีกับเชียงใหม่ ขณะนั้น กรุงศรีฯได้มีการติดต่อคาขายกับโปรตุเกส และชาวโปรตุเกสได้นำปืนไฟมาใช้ และมีการทำปืนไฟ และสร้างป้อมปราการต่อสู้ปืนไฟ ที่สวรรคโลกสุโขทัย และอยุธยา
·         ทรงครองราชย์ได้ 4 ปีก็สวรรคตด้วยโรคไข้ทรพิษ

รัชกาลสมเด็จพระรัษฎาธิราช
·         ทรงเป็นโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่4(หน่อพุทธางกูร) เนื่องจากได้ได้มีการตั้งพระมหาอุปราชไว้ดังรัชกาลก่อน เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 สวรรคต จึงได้เชิญ พระรัษฎาธิราชกุมาร อายุ 5 พรรษา ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนาม พระรัษฎาธิราช
·         ครองราชย์ได้ 5 เดือนเศษ พระไชยราชาซึ่งเป็นพระเจ้าอา ยกทัพมาจับไปสำเร็จโทษ สวรรคต

รัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช
·         เมื่อสำเร็จโทษพระรัษฎาธิราชแล้ว ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงมีโอราส 2 พระองค์ คือ พระยอดฟ้า และ พระศรีสิน ในสมัยของพระองค์พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงกราน ทรงยกทัพหลวงไปตีคืนมา ได้เกณฑ์ชาวโปรตุเกสไปช่วยรบด้วย เมื่อมีชัยชนะ จึงพระราชทานอนุญาต ให้ชาวโปรตุเกสสร้างวัดสอนศาสนาคริสต์ได้แต่นั้นมา
·         เจ้าครองเมืองเชียงใหม่ซึ่งขึ้นต่อกรุงศรีฯถูกฆ่าตาย บรรดาหัวเมืองต่างๆไม่ยอมขึ้นต่อเจ้าเชียงใหม่คนใหม่ จึงได้ขอให้ทางศรีอยุธยา ส่งทัพไปปราบ เมื่อยกทัพไปถึงเชียงใหม่ เจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ออกมาขอสวามิภักดิ์
·         ในสมัยพระองค์ได้มีการปรับปรุงบ้านเมือง และขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่าคลองบางกอก
·         ต่อมาเชียงใหม่เห็นพม่ามีกำลังเข้มแข็ง จึงเอาใจออกห่าง ไปสวามิภักดิ์ต่อพม่า
·         เมื่อสมเด็จรพระไชยราชาธิราชทรงทราบก็โกรธมาก ได้ยกทัพไปตีเชียงใหม่ ตีลำพูน ตีลำปาง ได้แล้วก็ยกไปล้อมเชียงใหม่ไว้ นางพญามหาเทวีซึ่งครองเชียวใหม่เห็นสู้ไม่ได้ก็ออกมาสวามิภักดิ์ ทรงยกทัพกลับมากลางทางก็ทรงประชวร ถึงแก่สวรรคต ทรงครองราชย์มา 12 ปี

รัชกาลสมเด็จพระยอดฟ้า
·         พระยอดฟ้าโอรสองค์โตของพระไชยราชาธิราช ขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ 11 พรรษา แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ จึงได้ทูลเชิญพระราชชนนี คือ พระนางศรีสุดาจันทร์เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินแทน ทรงพระนามว่า นางพญาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ต่อมาท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ไปพัวพันกับ พันบุตรศรีเทพ ซึ่งเป็นพนักงานรักษาหอพระ ทรงให้เลื่อนตำแหน่ง พันบุตรศรีเทพ เป็นขุนชินราช แล้วย้ายเข้ามาอยู่หอพระข้างในและได้ลักลอบเป็นชู้กัน หลังจากนั้นได้เลื่อนให้เป็นขุนวรวงศาธิราช ต่อมาทรงพระครรภ์ จึงเกรงจะปิดเป็นความลับไม่ได้ จึงกำจัดพระยอดฟ้าเสีย โดยการยาพิษลงในอาหาร แล้วยกขุนวรวงศาธิราชขึ้นครองราชย์แทน
·         พระยอดฟ้าครองราชย์ได้ 2 ปี ก็สวรรคต

รัชกาลขุนวรวงศาธิราช ( พันบุตรศรีเทพ )
·         ขุนวรวงศาเมื่อได้รับสถาปนาเป็นกษัตริย์แล้วได้ตั้งนายชัน ซึ่งเป็นอนุชา เป็นพระมหาอุปราชา และได้จัดเปลี่ยนตำแหน่ง เจ้าเมืองทั้งหลายโดยเอาคนสนิทไปแทน
·         ต่อมาขุนพิเรนเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา และหลวงศรียศ วางแผนกำจัดขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์ แล้วไปเชิญพระเฑียรราชาซึ่งผนวชอยู่มาปกครองแผ่นดินต่อไป

รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราช
·         ขุนพิเรนเทพขุนอินเทพและขุนนางทั้งปวง ได้ไปอัญเชิญพระเฑียรราชา ซึ่งผนวชอยู่ที่วัดราชประดิษฐาน มาครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จรพระมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราชเจ้า และทรงได้รับเลี้ยงพระศรีสินไว้
·         ทรงปูนบำเหน็จ แก่ผู้ทำความชอบทั้งหลาย
·         แต่งตั้งให้ขุนพิเรนเทพเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา ไปครองเมืองพิษณุโลก และยกพระเจ้าลูกเธอพระสวัสดิราช ให้เป็นอัครมเหสี ทรงพระนามว่า พระวิสุทธิกษัตรีย์
·         เมื่อทางกรุงศรีอยุธยาเกิดความวุ่นวายเนื่องจากพระไชยราชาสวรรคต และได้ตั้งพระยอดฟ้า พระโอรส ขึ้นครองราชย์ แต่ท้าวศรีสุดาจันทน์ ได้คบชู้กับขุนชินราชและฆ่าพระยอดฟ้าตาย และยกขุนชินราชขึ้นครองราชย์แทน พวกข้าราชการทั้งหลายโกรธแค้น จึงวางแผนฆ่าขุนชินราชและท้าวศรีสุดาจันทน์เสีย
·         ข่าวรู้ไปถึงทางพม่า พม่าจึงยกทัพมาตีไทยทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เมืองกาญจนบุรี เมื่อรู้ว่าบ้านเมืองสงบแล้วก็คิดจะยกทัพกลับแต่ก็เลยมาดูกำลังท่าทีของทางกรุงศรีฯ พม่ายกมาตีสุพรรณบุรี ป่าโมกข์ แล้วตั้งค่ายอยู่ที่ ตำบล ลุมพลี ล้อมกรุงอยู่3วัน ทางไทยก็ยกกำลังทหารป้องกันเมืองได้ พม่ายกทัพกลับ
·         เมื่อข่าวหงสาวดียกมาตีกรุงศรีฯ พญาละแวกรู้ว่าทางกรุงศรีฯเพิ่งผลัดแผ่นดินใหม่ก็ถือโอกาสเข้ามากวาดต้อนผู้คนแถวปราจีนบุรีไป หลังจากนั้นทางกรุงศรีฯได้จัดแจงซ่อมแซมกำแพงเมืองดดและสร้างวัดชื่อ วัดวังไชย
·         ศักราช 893 ทำพระราชพิธีประถมกรรม
·         ศักราช 894 ทรงให้ยกทัพไปตีระแวก พญาละแวกยอมแพ้ ส่งสารมาขออ่อนน้อม และส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย แล้ให้นักพระสุโท นักพระสุทัน มาเป็นข้าพระบาท ทรงให้พญาละแวกกลับไปครองเมืองอย่างเดิม นำนักพระสุโท นักพระสุทันกลับมากรุงศรีฯ แล้วให้
·         นักพระสุทัน ไปครองเมือง สวรรคโลก
·         ศักราช 895 ทรงให้แปลงเรือแซเป็นเรือไชยและเรือศรีษะสัตว์ต่างๆ
·         ศักราช 896 ทำพิธีมัธยมสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช ที่ตำบล ชัยนาทบุรี
·         ศักราช 897 เสด็จไปวังช้าง ตำบล บางละมุง ได้ช้าง 60 เชือก และในเดือน 12 ได้ช้างเผือกที่กาญจนบุรี ชื่อ พระคเชนทโรดม
·         ญวนยกทัพมาตี ละแวกและพญาละแวกเสียชีวิต ทรงให้ นักพระสุทันซึ่งไปครองสวรรคโลก ยกทัพไปช่วย
·         ศักราช 898 พญาสวรรคโลกแพ้ญวนและเสียชีวิต
·         ศักราช 899 เกิดเพลิงไหม้ในราชวังในเดือน 3 ทำการพระราชพิธี อาจาริยาภิเษก ในเดือน 7 เสด็จไปวังช้าง ตำบล โครกพระ ได้ช้าง 60 เชือก
·         ศักราช 902 เสด็จไปวังช้าง ตำบล วัดกระได ได้ช้าง 50 เชือก
·         ศักราช 904 เสด็จไปวังช้าง ตำบล ไทรน้อย ได้ช้าง 70 เชือก
·         ศักราช 905 พม่ายกทัพใหญ่มาตีกรุงศรีฯ ไพร่พล 3 แสนให้พระมหาอุปราชาเป็นกองหน้า พระเจ้าแปรเป็นเกียกกาย พญาพสิมเป็นกองหลัง พระเจ้าหงสาวดีเป็นจอมทัพ ทรงช้างพลายมงคลปราบทวีป ยกมาทางเมาะตะมะ ทางกาญจนบุรีส่งข่าวมา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้สั่งการให้ พระมหาธรรมราชา ซึ่งอยู่ทางพิษณุโลก ยกทัพมาช่วย ให้พระยาจักรีออกตั้งค่ายที่ลุมพลีรับศึก พระมหานาคสึกออกมา เกณฑ์ผู้คนช่วยขุดคูนอกค่าย กับทัพเรือ เรียกว่าคลองมหานาค
·         ทัพพม่ายกข้ามกาญจนบุรีมาถึงอยุธยาตั้งค่ายหลวงที่ตำบลบ้านใหม่ มะขามหย่อง ทัพพญาพระสิมตั้งค่ายที่ ตำบล ทุ่งประชด
·         วันรุ่งขึ้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยกทัพออกไปดูกำลังข้าศึกที่ทุ่งภูเขาทอง ทรงช้างต้นพลายจักรรัตน์ พระสุริโยทัยแต่งองค์เป็นพญามหาอุปราช ทรงช้างพลายสุริยกษัตริย์
·         พระราเมศวรทรงช้างพลายมงคลจักรพาส พระมหินทริราชทรงช้างพลายพิมานจักรพรรดิ
·         พม่าก็โจมตีไทยอย่างหนัก ทางกรุงศรีฯได้ตั้งรับไว้ รอทัพพิษณุโลกมาช่วย
·         พระมหาธรรมราชาได้จัดกำลังทัพมาช่วยอยุธยา ยกมาตั้งทัพที่ชัยนาท
·         พม่ายกมาตีไทย มาจนเสบียงอาหารเริ่มขาดแคลน และใกล้จะถึงฤดูฝน จำเป็นจะต้องยกทัพกลับ พม่าวางแผนจะยกไปทางกำแพงเพชร ออกด่านแม่ละเมา ซึ่งจะต้องไปปะทะกับทัพพระมหาธรรมราชา ก็เกรงว่ากรุงศรีจะยกทัพมาตีท้ายกระหนาบ ก็เลยจัดทัพออกมาตั้งรับทั้งกองหน้าและกองหลัง โดยให้พระมหาอุปราชา รั้งท้ายคอยสู้กับทัพกรุงศรีฯ
·         ทางกรุงศรีฯเมื่อรู้ว่าพม่าถอยทัพไปก็จัดส่งกำลงไปตีทัพโดย พระราเมศวร และพระมหินทราธิราช อาสาไป
·         พม่ายกทัพกลับไป มาถึงอินทรบุรี พม่าเข้ายึดค่ายไว้ได้ ทหารไทยซึ่งหนีมาได้เข้าทูลต่อพระมหาธรรมราชาว่า พม่ายกทัพมามากมายเห็นเกินกำลังจะต่อสู้ได้ ก็ให้ทหารกระจายกำลังออกดักซุ่มโจมตี
·         พระราเมศวรและพระมหินทรายกทัพมาใกล้ถึงที่ทัพพระมหาธรรมราชาอยู่ก็จะเข้าโจมตี แต่ถูกพม่าซ้อนกล พระเจ้าลูกเธอทั้งสองถูกจับไป
·         ทหารซึ่งแตกทัพไป ได้ไปกราบทูลต่อพระมหาจักรพรรดิก็ทรงให้แต่งสารไปเจริญพระราชไมตรี ขอให้ปล่อยโอรสทั้งสองกลับ
·         พม่ายอมปล่อยโอรสทั้งสองแต่ขอช้างพลายศรีมงคลและพลายมงคลทวีปไปแลก
·         เมื่อนำช้างทั้ง 2 ไปส่งแก่พม่า ปรากฏว่าควาญช้างไม่สามารถควบคุมได้ จึงต้องส่งคืน
·         พม่ายกทัพกลับทางกำแพงเพชรออกด่านแม่ละเมาะ
·         เมื่อถวายพระเพลิงสมเด็จพระสุริโยทัยแล้วพระมหาธรรมราชาทูลลากลับไปพิษณุโลก ส่วนที่พระราชเพลิงศพได้พระราชทานนามว่า วัดศพสวรรดิ์ แล้วทรงจัดเขตเมืองใหม่ให้เป็นระเบียบเพื่อป้องกันข้าศึก
·         ศักราช 906 พระศริสิน(น้องพระยอดฟ้า) ซึ่งบวชเป็นสามเณรอยู่วัด ราชประดิษฐาน คิดกบฎ จับได้แต่ไม่ได้ประหาร ให้คุมตัวไว้ที่วัดธรรมิราช จะให้บวชแต่ พระศรีสินหนีไปชุมนุมไพร่พลที่ ตำบล ม่วงมดแดง แล้วยกมาเข้ายึดพระราชวัง พระราเมศวรและพระมหินทราธิราชพาทหารต่อสู้ พระศรีสินตาย
·         ศักราช 907 เสด็จไปวังช้าง ตำบล ไทรน้อย ได้ช้างเผือกชื่อ พระรัตนากาศ
·         ศักราช 908 ไปวังช้าง ตำบลป่าเพชรบุรี ได้ช้างเผือก ชื่อ พระแก้วทรงบาท ต่อมาได้ช้างเผือกแม่ลูก ที่ตำบล ป่ามหาโพธิ์
·         ศักราช 909 ได้ช้างเผือกที่ทะเลชุบศร ชื่อ พระบรมไกรสร ต่อมาได้ช้างเผือกที่ตำบล ป่าน้ำทรง ชื่อ พระสุริยกุญชร
·         กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมากมีช้างเผือกถึง 7 เชือก พ่อค้าต่างชาติมาค้าขายจำนวนมาก จนได้รับถวายพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก
·         พม่าถือโอกาสให้ทูตส่งสารมาขอช้างเผือก 2 เชือก หากไม่ให้จะยกทัพมาตี
·         ทางไทยไม่ยอมให้ พระเจ้ากรุงหงสาวดีจึงให้ยกทัพมาตีอยุธยา โดยยกมามากกว่าครั้งก่อนถึง 3 เท่า
·         ศักราช 910 พม่ายกทัพใหญ่มา พระเจ้าหงสาวดีเป็นจอมทัพ ทรงช้างพลายเทวนาคพินาย ยกทัพมาทางเมาะตะมะ กำแพงเพชร สุโขทัย และพิษณุโลก ตั้งค่ายหลวงที่ตำบลโคก
·         พระมหาธรรมราชาส่งคนไปแจ้งกรุงศรีให้ยกมาช่วย พม่าส่งสารเข้าไปให้พระมหาธรรมราชาออกมาเจรจากับพระมหาธรรมราชา เห็นทัพพม่ามากมาย ก็รู้ว่าสู้ไม่ได้ยอมออกไปสวามิภักดิ์ พม่าให้พระมหาธรรมราชายกทัพตามมา
·         ทัพกรุงศรีซึ่งยกทัพไปช่วยแต่ได้ข่าวว่าหัวเมืองทางเหนือได้ไปเข้ากับพม่าแล้วก็ถอยทัพกลับ
·         ทัพพม่ามาล้อมกรุงศรีไว้ พระมหาจักรพรรดิ์ รู้ว่าทัพพม่ายกมาครั้งนี้มากกว่าครั้งก่อน ก็ให้รักษาเมืองไว้ ไม่ได้ยกทัพออกไปต่อสู้ด้วย พม่าก็ส่งสารมาท้ารบ หาไม่ก็ให้ออกมาเจรจาสงบศึก
·         พระมหาจักรพรรดิ์ ออกไปเจรจาสงบศึกกับพม่าที่วัดพระเมรุราชิการาม พม่าเรียกร้องเอาช้างเผือกเป็น 4 เชือก และขอเอาพระราเมศวรไปพม่าด้วย และขอให้พญาจักรีและ
·         พระสมุทรสงครามไปด้วย ไทยเสียช้าง 4 เชือก คือ พระคเชนทโรดม พระบรมไกรสร
·         พระรัตนากาศ พระแก้วทรงบาท
·         พญาตานี ซึ่งยกทัพมาช่วยกลับคิดเป็นกบฎ พระมหาจักรพรรด์หนีไปเกาะพราห์ม ทหารตีชาวตานี กลับไป
·         ศักราช 912 พระเจ้ากรุงสรีสัตนาคนหุตได้แต่งทูตมาขอพระเทพกษัตริย์ไปเพื่ออภิเษกด้วย ทรงเห็นเป็นการผูกไมตรีจึงพระราชทานให้
·         เจ้าเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต แต่งทูตมารับพระเทยกษัตริย์ตรีแต่ทรงพระประชวรหนักจึงได้ยกพระแก้วฟ้าไปแทน
·         พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ถวายส่งคืนพระแก้วฟ้าโดยขอพระราชทานพระเทพกษัตริย์ตรีอย่างเดิม
·         เมื่อทรงหายประชวรแล้ว ก็ทรงให้จับขบวนส่งพระเทพกษัตริย์ตรีไป
·         พระมหาธรรมราชาแจ้งข่าวเรื่องนี้ไปยังพม่า พม่าส่งคนมาแย่งพระเทพกษัตริย์ตรีไป พระเจ้าศรีสัตนาคนหุตโกรธแค้นมากจะยกทัพมาตีพิษณุโลก แต่พระมหาจักรพรรดิ์ห้ามไว้



รัชกาลสมเด็จพระมหินทราธิราช
·         ศักราช 914 พระมหินทราธิราชขึ้นครองราชย์แทนและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ได้เสด็จออกไปอยู่วังหลัง ขณะนั้นพระชนมมายุ 59 พรรษา ส่วนพระมหินทราธิราช เสวยราชสมบัติอายุ 25 พรรษา
·         ขณะนั้นพระมหาธรรมราชาได้สิทธิขาดในการปกครองเมืองเหนือและสั่งการต่างๆยังกรุงศรีฯ ทำให้ทรงไม่พอพระทัย ขณะนั้นพระยารามออกจากำแพงเพชร มาเป็นพญาจันทบูร ทรงได้ร่วมกันวางแผนให้ ศรีสัตนาคนหุตยกทัพมาตีพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาไม่รู้ว่าเป็นแผนของพระมหินทราธิราช จึงขอให้มาช่วย พระมหินทราธิราชได้ส่งพญาศรีราชเดโชและพญาท้ายน้ำไปโดยจะให้ไปจับกุมพระมหาธรรมราชาแต่พญาศรีราชเดโช กลับนำความลับนี้ไปแจ้งแก่ พระมหาธรรมราชา พระมหาธรรมราชาจึงแจ้งข่าวให้พม่ามาช่วย
·         พระเจ้าศรีสัตนาคนหุต ยกทัพมาถึงพิษณุโลกตั้งทัพที่ตำบล โพธิเวียง
·         พระมหินทราธิราช ทำทียกทัพไปช่วยโดยยกไปทางน้ำ พระมหาธรรมราชา เมื่อรู้แผนการของกรุงศรีฯแล้วก็ไม่ให้ยกทัพเข้าเมือง วางแผนใช้แพไม้ไผ่วางเพลิงไป เผากองเรือกรุงศรีฯแตกพ่ายไป
·         พม่ายกทัพมาช่วย ทัพกรุงศรีและศรีสัตนาคนหุตก็เลยถอยทัพกลับ
·         เดือน 8 ปีขาล พระมหาจักรพรรดิ์เสด็จทรงผนวช พระมหาธรรมราชารู้ว่า พญารามเป็นคนวางแผนเรื่องต่างๆจึงได้มีสารมาขอตัวพญารามให้ไปเป็นพญาพิชัย พญารามกลัวถูกส่งตัวไปพม่า จึงทูลยุยง เรื่องพระมหาธรรมราชาไปเข้ากับพม่า และมาบังคับบัญชาพระองค์ หากพม่ายกทัพมาจะอาสาป้องกันพระนครเอง

รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราช ครั้งที่ 2
·         พระมหินทราธิราช ไปทูลเชิญให้มาครองราชย์สมบัติใหม่ พระมหาธรรมราชา เสด็จไปหงสาวดีเพื่อขอโทษแทนพญาพุกาม และพญาเสือหาญ ซึ่งทำการผิดพลาด พระเจ้าหงสาวดียกโทษให้
·         ข่าวพระมหาธรรมราชาเสด็จไปหงสาวดีรู้ถึงกรุงศรีฯ พระมหินทราธิราชจึงทูลแก่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ว่า พระมหาธรรมราชา ได้ไปขึ้นกับพม่า เห็นควรจะให้ไปรับ สมเด็จพระวิสุทธิกษัตริย์และพระเอกาทศรถ ซึ่งเป็นพระพี่นางและพระนัดดาลงมา พระมหาธรรมราชาเมื่อรู้ข่าวก็ให้พระเจ้าหงสาวดีช่วย
·         ศักราช 917 พม่ายกทัพมาถึงกำแพงเพชร มาถึงนครสวรรค์มาสมทบกับทัพของพระมหาธรรมราชา แล้วยกลงมาล้อมกรุงศรีฯได้ พระยาราม ก็จัดทหารป้องกันพระนคร
·         ทัพพม่ามาตั้งค่ายที่ ตำบล ลุมพลี ต่อสู้กับทหารไทยอยู่ถึง 2 เดือน ก็ยกมาถึงริมคูเมือง กรุงศรีอยุธยาส่งสารไปให้ล้านช้างยกทัพมาช่วย
·         พม่าเมื่อล้อมกรุงศรีฯไว้แล้วเห็นจะเข้าตีก็ยากจึงให้ทหารจัดหาเสบียงอาหาร ไว้ให้พอต่อการรบ 1 ปี ทุกกองหากกองใดมิได้จะมีโทษประหาร
·         ศักราช 918 พระเจ้าช้างเผือกประชวรหนัก และสวรรคต ครองราชย์มา 22 ปี
·         พระมหินทราธิราชไม่ได้สนใจการศึกปล่อยให้พญารามเป็นคนสั่งการทุกอย่าง
·         ทัพพม่าและไทยต่อสู้กันหลายครั้ง แต่ไทยยังป้องกันเมืองไว้ได้ พระเจ้าหงสาวดีจึงสั่งให้ทหารถมดินคูคลองเพื่อให้เข้ามาถึงกำแพงนครได้ ทางกรุงศรีฯต่อสู้ แต่พม่าไม่ย่อท้อ ทำการอยู่ 3 เดือน ก็ถมดินมาถึงฟากพระนคร
·         พม่ายกมาทางมุมถนนเกาะแก้วทหารไทยสู้ไม่ได้ก็แตกพ่ายลงมา พม่าพยายามหลายครั้ง แต่ก็ตีเข้าเมืองไม่ได้ จึงออกอุบายให้ส่งตัวพญารามออกไป แล้วพม่าจะยกทัพกลับ
·         เมื่อส่งพญารามออกไปแล้วทางพม่าก็กลับคำไม่ยอมยกกลับ จะรบเอากรุงศรีฯให้ได้ โดยยื่นเงื่อนไขให้ พระเจ้าแผ่นดินมายอมถวายบังคม จึงจะยอมเป็นไมตรีด้วย ฝ่ายไทยไม่ยอมทำตาม
·         ล้านช้างซึ่งฝ่ายไทยได้ส่งสารขอให้มาช่วยก็ยกทัพมา ทัพพม่าตีทัพล้านช้างแตกไป พม่าจะตีกรุงศรีฯให้ได้ใช้อุบายให้พญาจักรี ซึ่งไปเป็นเชลยพม่า มาเป็นไส้ศึกโดยแกล้งทำเป็นลงโทษพญาจักรี แล้วให้หนีมาเข้ากรุงศรีฯ พระมหินทราธิราชเข้าใจว่าพญาจักรีหนีมาจริงๆก็ดีใจ แต่งตั้งให้ทำหน้าที่บัญชาการรบ พญาจักรีก็ทำให้กรุงศรีอยุธยาต้องแตกแก่ข้าศึกในวันเสาร์ แรม 11 ค่ำ เดือน 9 ศักราช 918
·         พม่าจับพระมหินทราธิราชไป และให้พระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยา

รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชา
·         สมเด็จพระมหาธรรมราชาขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาอายุได้ 54 พรรษา พม่าคุมตัวพระมหินทราธิราชกลับไป แต่ทรงประชวรหนัก สวรรคต
·         ศักราช 919 พญาละแวกยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ยกมาปล้นถึง 3 ครั้ง ไม่ได้ จึงยกทัพกลับ
·         ศักราช 920 ทรงให้สมเด็จพระนเรศวรไปครองพิษณุโลก ขณะนั้นมีพระชนมายุ 16 พรรษา
·         ศักราช 921 พม่ายกทัพไปตีล้านช้างให้พระเจ้าอยู่หัวและพระนเรศวร เสด็จไปด้วย แต่ให้พระเอกาทศรฐอยู่รักษาพระนคร ทัพพม่าตีล้านช้างไม่ได้ ยกทัพกลับ
·         พญาละแวกยกทัพมาตีไทยอีกรอบ แต่ตีเข้าไม่ได้ได้
·         ศักราช 922 พญาละแวกยกทัพมาอีกมาตีเอาเมืองเพชรบุรี แต่ตีไม่ได้ ยกทัพกลับไป
·         ศักราช 924 ให้จัดแต่งป้อมค่ายคูประตูเมือง และเกิดกบฎญาณพิเชียร
·         เดือน 3 พญาละแวกยกทัพมาตีเพชรบุรี แตกกวาดต้อนผู้คนไป
·         ศักราช 925 ละแวกส่งทหารมาทางตะวันออก พระนเรศวรส่งทัพมาตี เขมรแตกไป
·         ศักราช 926 สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีสวรรคต พระชนมายุ 65 พรรษา มังเอิงราชบุตร ขึ้นครองราชย์แทน เมืองรุม เมืองคัง พากันแข็งเมือง พระนเรศวรยกทัพไปช่วยปราบสำเร็จ
·         พระเจ้าหงสาวดีมีความระแวงในความสามารถของพระนเรศวร คิดจะกำจัดเสีย ออกอุบายให้มาช่วยปราบกรุงรัตนะบุระอังวะ
·         พระนเรศวรยกทัพไปถึงเมืองแครง วันพฤหัสบดี ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 พักพลอยู่นอกเมืองใกล้วัดพระมหาเถรคันฉ่อง พระมหาเถรคันฉ่องได้บอกข่าวที่พม่าคิดกำจัดพระองค์ พระองค์จึง ประกาศเอกราช ไม่ขึ้นกับพม่าที่เมืองแครง แล้วยกทัพกลับ ทัพพม่าตามมาถึงริมฝั่งแม่น้ำสโตง ก็ข้ามฟากมา พม่าตามมาทัน ทรงพระแสงปืนข้ามไปถูก สุรกำมา แม่ทัพพม่าตาย พม่าก็ยกทัพกลับไป
·         พระนเรศวรได้กราบทูลเรื่องประกาศเอกราชต่อพระมหาธรรมราชา แล้วยกทัพกลับพิษณุโลก
·         ต่อมาทางสวรรคโลก เมื่อรู้ว่า พระนเรศวรเป็นศัตรูกับพม่าแล้วก็ยกทัพมาตีพิษณุโลก ทรงปราบได้สำเร็จ
·         ในเดือน 9 นั้น ได้ทรงยายผู้คนลงมากรุงศรีฯ และพระนเรศวร ก็เสด็จมากรุงศรีฯด้วย
·         พม่ายกทัพมาตีไทยอีกในศักราช 929 พระนเรศวรและพระเอกาทศรถยกทัพไป ข้าศึกสู้ไม่ได้แตกไป
·         พญาละแวกส่งทูตมาขอเป็นไมตรีด้วย
·         ศักราช 930 พม่าให้เชียงใหม่ยกทัพมาตีไทยอีกโดยมาตั้งที่นครสวรรค์
·         พญาละแวกส่งพระศรีสุธรรมาธิราชผู้เป็นอนุชายกมาช่วย วันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือนอ้าย เชียงใหม่ยกทัพมาตั้งที่ ตำบล สระเทศ
·         เดือน 5 พระเจ้าหงสาวดี ให้พระมหาอุปราชายกทัพมาที่กำแพงเพชร ทำการสะสมเสบียง ไว้ทำศึกกับไทย โดยให้ทัพเชียงใหม่ล้อมกรุงศรีฯไว้
·         พระมหาธรรมราชา เกรงว่าหากทัพพม่ายกมาสมทบกับทัพเชียงใหม่ ก็จะยากในการต่อสู้ จึงให้ พระนเรศวรและพระเอกาทศรถยกทัพไปตีทัพเชียงใหม่แตกไป
·         พอเลิกทัพกลับมาถึงตำบล โพธิสามต้นเห็นเรือพระศรีสุพรรมาธิราชจอดดูอยู่ไม่ได้หมอบนั่งดูอยู่จึงให้พระพิไชยบุรินทรา ตัดศรีษะเชลยไปเสียบไว้ที่เรือ พระศรีสุพรรมาธิราช
·         พระศรีสุพรรมาธิราชแค้นใจคิดอาฆาตแต่ทำอะไรไม่ได้ พอเสร็จศึกก็ยกทัพกลับไป
·         พระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งแตกทัพไป ได้ไปรวมกับทัพพระมหาอุปราชาที่กำแพงเพชร
·         พระศรีสุพรรมาธิราช เมื่อกลับไปได้ไปทูลฟ้องพญาละแวกว่าถูกดูหมิ่น พญาละแวกโกรธ คิดจะตัดไมตรีกับกรุงศรีฯ
·         พระเจ้าหงสาวดีรู้ว่าเจ้าเชียงใหม่แพ้ก็โกรธ คาดโทษให้กลับไปเชียงใหม่ รวบรวมเสบียงอาหารให้พอกับคน 3 แสน
·         เดือน 12 พม่ายกทัพมาทางเชียงทอง มาประชุมพลที่กำแพงเพชร ให้เจ้าเชียงใหม่ ยกทัพมาสมทบ
·         พฤหัสบดีขึ้น 2 ค่ำ เดือน 2 พม่ายกทัพใหญ่มาตั้งมั่นที่ ตำบล ขนอนปากคู ตำบล มะขามหย่อง
·         พระมหาอุปราชา และพญาตองอูยกมาทางลพบุรี สระบุรี มาตั้งที่ ตำบล ชายเคือง
·         กรุงศรีฯเห็นพม่ายกทัพใหญ่มาก็เกณฑ์พลกันเก็บเกี่ยวข้าวในท้องนาให้หมด ไม่ให้เหลือเป็นเสบียงแก่พม่า
·         ทัพไทยได้ยกออกไปปะทะกับพม่าหลายครั้ง พระนเรศวร และพระเอกาทศรถได้ยกทัพไปตีทัพพม่าถอยไปตั้งที่ ป่าโมกข์
·         พม่ายกมาล้อมพระนครไว้ 6 เดือน เสียไพร่พลเป็นอันมากจึงยกทัพกลับ
·         ละแวกรู้ว่าพม่ามาตีไทย ก็ส่งทหารมารุกรานไทย ทางแถบตะวันออก ตีปราจีนบุรีแตก พระเจ้าอยู่หัวโกรธก็ให้จัดทัพไปตีทัพพญาละแวก ละแวกตีมาถึงนครนายก โดนทัพไทยตีแตกหนีไป
·         ศักราช 932 พม่ายกทัพมาตีไทยอีกโดนมาทางกำแพงเพชรมาถึงอยุธยา แรม 14 ค่ำ เดือน อ้าย ตั้งค่ายที่บางปะหัน พระนเรศวรยกทัพออกสู้กับทัพพม่า พม่าพยายามเข้าตีพระนครหลายครั้งไม่สำเร็จ ยกทัพกลับไป
·         ศักราช 940 สมเด็จพระมหาธรรมราชาประชวร สวรรคต พระชนมายุ 76 พรรษา ครองราชย์มา 22 ปี

พระนเรศวร
·         พระนเรศวร เป็นกษัตริย์องค์ที่ 19 (ในจำนวน 34 พระองค์)แห่งอาณาจักรอยุธยา พระองค์ทรงเป็นพระโอรสของพระมหาธรรมราชา (อดีตเจ้าเมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่ 18 ของอยุธยา) ซึ่งเป็นเชื้อสายของราชวงศ์สุโขทัย พระนเรศวรทรงเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ไทยสกุลลัทธิชาตินิยมในฐานะ วีรกษัตริย์ ผู้กอบกู้ เอกราชให้กับอยุธยาซึ่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่ 15 ปี ระหว่าง 2112-2127 พระนเรศวรมีพระพี่นาง 1 องค์ และพระอนุชา 1 องค์ พระนเรศวรเป็นที่รู้จักในนามของ องค์ดำผู้มีความปรีชาสามารถในการสงคราม สามารถสถาปนาอาณาจักรอยุธยาให้มีอำนาจและความยิ่งใหญ่ ส่วนพระอนุชา (ซึ่งต่อมาจะเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเอกาทศรถ) นั้นรู้จักกันในพระนามว่า องค์ขาวพระนเรศวรทรงได้รับยกย่องให้เป็น 1 ในบรรดากษัตริย์ไทยที่ทรงเป็น มหาราช พระนเรศวรประสูติเมื่อ 2098 ที่เมืองพิษณุโลกในสมัยที่พระราชบิดายังทรงดำเนินตำแหน่งเจ้าเมืองนั้นอยู่ เมื่ออายุได้ 9 พรรษาถูกส่งไปเป็นตัวประกันที่เมืองพระโค(หงสาวดี) สืบเนื่องมาจากพม่ายึดเมืองพิษณุโลกได้ และพระราชบิดาได้เข้าร่วมกับฝ่ายพม่า ทั้งนี้เพื่อประกันความจงรักภักดีต่อพม่า พระนเรศวรจึงถูกส่งไปเป็นตัวประกันทรงประทับอยู่ในฐานะ โอรสบุญธรรม ของกษัตริย์พม่าถึง 7 ปี ครั้นเมื่อพม่ายึดอยุธยาได้ในปี 2112 พระมหาธรรมราชาได้ขึ้นครองราชสมบัติในฐานะเมืองขึ้นของพม่า พระนเรศวรจึงเสด็จกลับจากเมืองพระโค(หงสาวดี) เมื่อปี 2114 พระชนมายุได้ 16 พรรษา ทั้งนี้โดยการที่พระมหาธรรมราชาต้องส่งพระราชธิดาไปเป็นตัวประกันแทน จากนั้นพระนเรศวรก็ได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก และมีตำแหน่งในฐานะอุปราช หรือ วังหน้าโดยมีพระอนุชา ในฐานะ วังหลัง ที่จะสืบราชสมบัติแทน
·         ในช่วงระยะเวลา 19 ปีก่อนขึ้นครองราชนั้น พระนเรศวรทรงมีส่วนในการสงครามป้องกันอยุธยาเป็นอย่างมาก ทั้งการสงครามกับพม่าและกัมพูชา และในที่สุดก็ได้ประกาศ อิสระภาพในปี 2127 เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในปี 2112 นั้น อาณาจักรไทยนอกจากจะแตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าแล้ว(ทั้งอยุธยาและเชียงใหม่)ภาคกลางของไทยได้รับความเสียหายมาก ประชากรส่วนใหญ่ถูกกวาดต้อนไปพม่า เมืองหลายเมืองต้องถูกทิ้งร้าง เพราะขาดประชากร ที่อยุธยาเองพม่าตั้งกองทัพของตนไว้ 3,000คน ทั้งนี้เพื่อควบคุมพระมหาธรรมราชาไม่ให้เอาใจออกห่าง ดังนั้นอยุธยาจึงอยู่ในสภาพที่อ่อนแอ และขาดกำลังทหารป้องกันเมืองเป็นอย่างมาก
·         ความอ่อนแอของอยุธยาเปิดโอกาสให้กัมพูชาส่งกองทัพมารุกรานหัวเมืองชายทะเล ตั้งแต่แถบเมืองจันทบุรีถึงเพชรบุรี ระหว่างปี 2113-2130 กัมพูชาส่งกองทัพมาตีหัวเมืองชายทะเลดังกล่าวถึง 6 ครั้ง และกวาดต้อนประชากรไปเป็นจำนวนมาก สงครามไทย-กัมพูชานี้เป็นสงครามที่ประทุในแถบชายแดนจันทบุรี และเป็นสงครามที่มีการปล้นสะดมประชากรกัน สงครามในลักษณะดังกล่าวมีมาตั้งแต่สมัยต้นอยุธยา พระนเรศวรมีส่วนอย่างมากในการป้องกันอยุธยาในครั้งนี้ การสงครามกับกัมพูชาในครั้งนั้นทำให้อยุธยาสามารถใช้เป็นข้ออ้างในการที่จะสะสมกำลังคนโดยการโยกย้ายประชากรจากหัวเมืองเข้ามายังอยุธยา ทั้งยังสามารสร้าง และซ่อมแซมกำแพงเมืองตลอดจนป้อมปราการ และจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่มเติมได้โดยปราศจากความสงสัยจากพม่า นอกเหนือจากภัยสงครามจากภายนอกแล้ว ในสมัยดังกล่าวอยุธยาก็ยังเผชิญกับปัญหาภายใน คือ ขบถไพร่ญาณพิเชียรในปี 2124ด้วย
·         ในปี 2124 พระเจ้านันทบุเรงกษัตริย์พม่าสวรรคต และพม่าภายใต้ราชวงศ์ตองอูก็ทำท่าว่าจะแตกสลาย พระนเรศวรได้เสด็จไปยังเมืองพระโคเพื่อไปในงานพระศพของกษัตริย์พม่า และน่าจะทรงทราบดีถึงโอกาสที่อยุธยาจะได้เป็นเอกราช ในขณะเดียวกันพม่าก็ทราบดีเช่นกันว่า พระนเรศวรจะเอาใจออกห่าง ดังนั้นจึงได้ใช้มอญให้วางแผนกำจัดพระนเรศวร แต่พระยาเกียรติพระยาราม ขุนนางมอญกับนำความลับนี้มากราบทูลต่อพระนเรศวร ดังนั้น ปี 2127 พระนเรศวรจึงประกาศ อิสรภาพ ของอยุธยา ตลอดปลายรัชสมัยของบิดาของพระองค์ พระนเรศวรต้องทำสงครามต่อต้านการรุกรานของพม่า ระหว่าง 2128-2130 พระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติเมื่อปี 2133 เมื่อพระบิดาสวรรคต และมีพระชนมายุ 35 พรรษา
·         ตามประวัติศาสตร์ไทยกล่าวว่า สงครามยุทธหัตถี หรือการรบโดยการชนช้างในปี 2135-2136 เป็นสงครามที่พระนเรศวรทรงมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือพม่า พระมหาอุปราชแม่ทัพพม่า สิ้นพระชนม์ด้วยพระแสงของ้าวของพระนเรศวรที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี สงครามครั้งนี้นับได้ว่าเป็นสงครามใหญ่ครั้งสุดท้ายของพุทธศตวรรษที่22 หลังจากนั้นไทยกับพม่าก็ค่อนข้างจะว่างสงครามกัน100กว่าปี จนเมื่อพม่าได้สถาปนาราชวงศ์อลองพญา(คองบอง)
·         ตลอดรัชสมัย 15 ปีของพระนเรศวร พระองค์ทรงพยายามสถาปนาความเป็นปึกแผ่นของอยุธยา ทรงขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง ทรงทำให้กัมพูชาต้องยอมเป็นเมืองขึ้น
·         ตามหลักฐานประวัติศาสตร์กล่าวว่าพระนเรศวรทรงสนใจในการเมืองระหว่างประเทศ เห็นได้จากการเสนอส่งกองทัพไทยไปช่วยจีนรบกับญี่ปุ่น ในสมัยของ โตโยโตมิ ฮิเดโยชิ เมื่อปี2135 แต่ทางจีนได้ปฏิเสธข้อเสนอนี้เมื่อปี 2136
·         พระนเรศวรสวรรคตที่เมืองหาง รัฐฉานในพม่า เมื่อ 2148 พระชนม์พรรษาได้ 50 ปี และดูเหมือนว่าพระองค์จะไม่มีพระราชโอรสหรือพระธิดา บ้างก็กล่าวว่าพระองค์ไม่มีฝ่ายในด้วยซ้ำไปดังนั้นพระอนุชาคือพระเอกาทศรถจึงได้ครองราชสมบัติแทน

พระเอกาทศรถ
·         พระเอกาทศรถ เป็นกษัตริย์องค์ที่ 20 ของอยุธยา พระองค์เป็นพระอนุชาของพระนเรศวร ทรงประสูติเมื่อ 2103 มีพระชนมายุอ่อนกว่าพระนเรศวร 5 พรรษา ในสมัยที่พระราชบิดาทรงครองราชย์ พระเอกาทศรถได้สถาปนาเป็น วังหลังเมื่อพระนเรศวรขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระเอกาทศรถก็ได้รับยกย่องในฐานะเท่าเทียมกับพระนเรศวร พงศาวดารไทยจะกล่าวถึงพระองค์ในฐานะของ พระเจ้าอยู่หัวอีกพระองค์หนึ่ง ทั้งนี้อาจจะเป็นได้ว่าพระเอกาทศรถทรงร่วมรบในสงครามกับพระนเรศวรมาตลอด และอาจเป็นเพราะพระนเรศวรไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีพระมเหสีหรือพระโอรส พระเอกาทศรถจึงอยู่ในฐานะของอุปราชหรือผู้ที่จะได้สืบราชสมบัติอย่างชัดเจน หลักฐานจากชาวฮอลันดากล่าวถึงพระองค์ในฐานะ พระอนุชาธิราชพระราเมศวรซึ่งตำแหน่ง พระราเมศวร เป็นตำแหน่งของพระโอรสองค์โตในสมัยต้นอยุธยา พระเอกาทศรถขึ้นครองราชสมบัติเมื่อ ปี 2148 พระชนมายุได้ 45 พรรษา
·         พระเอกาทศรถขึ้นครองอยุธยาในสมัยที่อาณาจักรเป็นปึกแผ่นมั่นคง พระนเรศวรได้ขยายอำนาจของอยุธยาออกไปอย่างกว้างขวางอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในสมัยอยุธยาก่อนหน้านี้ อยุธยามีอำนาจเหนือเชียงใหม่ และรุกเข้าไปในดินแดนรัฐฉาน ทางด้านพม่าตอนใต้ก็ได้แถบทวาย มะริด ตะนาวศรี และทางด้านกัมพูชาก็ทำให้เขมรต้องยอมรับอำนาจของไทย แต่อย่าางไรก็ตามบรรดาอาณาเขตเหล่านี้จำนวนมากก็เป็นอิสระเมื่อสิ้นพระนเรศวร กระนั้นก็ตามอำนาจของอยุธยาในพม่าตอนล่างก็ยังคงอยู่ ทำให้เปิดประตูการค้าไปในอ่าวเบงกอลที่ประจวบเหมาะกับการที่ชาติตะวันตกแพร่อิทธิพลของตนเข้ามาทำการค้าขาย จึงเป็นรัชสมัยการปูพื้นฐานของการที่อยุธยาจะมีสัมพันธ์ด้าาานการค้าและการเมืองกับประเทศตะวันตก ซึ่งจะเห็นได้ชัดในกลางพุทธศตวรรษที่ 22ต้น23 พระเอกาทศรถเป็นกษัตริย์อยุธยาองค์แรกที่ส่งทูตไปถึงกรุงเฮก ประเทศฮอลันดาเมื่อ 2151 และฮอลันดาก็ตั้งสถานีการค้าของตนในอยุธยา ฮอลันดามีจุดมุ่งหมายที่จะใช้อยุธยาเป็นเมืองท่าแลกเปลี่ยนสินค้า และเป็นฐานในการที่จะค้าขายต่อกับจีนและญี่ปุ่น ฮอลันดานำเอาผ้าฝ้าย อาวุธ มาแลกกับสินค้าพื้นเมืองคือหนังกวาง และพริกไทย
·         เอกสารของชาวต่างประเทศกล่าวว่า ทั้งพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงโปรด ชาวต่างชาติ ดังนั้นอยุธยาจึงต้อนรับชาวต่างชาติอื่น ๆอีก เช่น โปรตุเกส ญี่ปุ่น สมัยนี้เป็นสมัยที่เรือญี่ปุ่นได้รับ ใบเบิกร่องตราแดง สินค้าที่ญี่ปุ่นมาซื้อคือฝาง หนังกวาง หนังปลาฉลาม ตะกั่ว ดีบุก
·         สมัย พระเอกาทศรถเป็นสมัยการสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ พระเอกาทศรถไม่โปรดการสงคราม ไม้ได้ทำการขยายอำนาจทางทหารอย่างสมัยพระนเรศวร จึงเป็นสมัยการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ และเป็นสมัยที่มีมาตราการทางด้านภาษีอากรอย่างมาก พงศาวดารไทยกล่าวว่า ทรงพระกรุณาตั้งพระราชกำหนดกฎหมายพระอัยการ และส่วนสัดพัฒนากรขนอนตลาด ซึ่งหมายถึงการเก็บภาษีจากผลิตผล ตลอดจนภาษีผ่านด่าน และภาษีตลาด ซึ่งตรงกับหลักฐานของฮอลันดาที่ว่าพระองค์ให้สำรวจจำนวนประชากร ให้มีการขึ้นสังกัดต่อนาย ให้มีการสำรวจสวนเพื่อเก็บภาษีต้นไม้(ที่ออกผล)เช่น มะพร้าว หมาก ส้ม มะนาว มะขาม ทุเรียน มะม่วง โดยเก็บต้นละ 1 เฟื้อง
·         (เท่ากับ 12 สตางค์ ครึ่ง หรือ = 8อัฐ) เป็นต้น และที่น่าสนใจก็คือมีการเสียภาษีมรดกเมื่อขุนนางสิ้นชีวิตลง 1ใน3ของทรัพย์สมบัติต้องตกเป็นของหลวง
·         พระเอกาทศรถครองราชย์เพียง 5 ปี เมื่อสวรรคตก็มีปัญหาการสืบราชสมบัติแย่งชิงกันในหมู่พระโอรสของพระองค์เอง อันเป็นปัญหาทางการเมืองภายในของอยุธยาที่มีมาตลอดเกือบจะทุกสมัย การสืบราชสมบัติหรือการส่งต่ออำนาจทางการเมือง ไม่สามารถจะสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันได้

พระศรีเสาวภาคย์
·         เป็นกษัตริย์องค์ที่ 21 เป็นพระโอรสของพระเอกาทศรถ (กษัตริย์องค์ที่ 20) ได้ขึ้นมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินก่อนในช่วงเวลาสั้น ๆเพียง 1ปีกับ 2เดือน เข้าใจว่าเป็นระยะเวลาที่พระเจ้าเอกาทศรถจะสิ้นพระชนม์ พระศรีเสาวภาคย์ เป็นเจ้าฟ้าที่มีพระเนตรข้างเดียว และก็มีสิทธิที่จะได้ครองบัลลังก์ต่อเมื่อเจ้าฟ้าสุทัศน์พระราชบุตรผู้พี่ได้สวรรคตไป



พระเจ้าทรงธรรม
·         พระเจ้าทรงธรรม เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 22 แห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงเป็นโอรสของพระเอกาทศรถแห่งราชวงศ์สุโขทัยที่ได้เข้ามาครองอำนาจในอยุธยาภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเป็นครั้งแรก เมื่อ 2112
·         พระเจ้าทรงธรรมคงเป็นโอรสที่เกิดจากพระสนม มิใช่จากพระมเหสีซึ่งทำให้ข้ออ้างในการขึ้นครองราชย์ไม่แข็งแรงนัก แต่การสืบสันตติวงศ์ในสมัยอยุธยาก็หาได้มีกฎเกณฑ์แน่นอนไม่ ในบางครั้งขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะควบคุมกำลังคน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มขุนนางข้าราชการหรือไพร่พล และใช้กำลังในการยึดอำนาจในลักษณะที่เรียกว่า ปราบดาภิเษก การที่พระเจ้าทรงธรรมขึ้นมาครองราชย์ได้ ก็เพราะเจ้าฟ้าสุทัศน์พระโอรสอันเกิดจากพระมเหสีและได้รับสถาปานาเป็นพระมหาอุปราช ซึ่งมีสิทธิจะได้ครองราชสมบัติต่อนั้น ถูกข้อหาขบถต่อพระราชบิดา (เอกาทศรถ) จึงต้องเสวยยาพิษและสิ้นพระชนม์ไปก่อน
·         ตามหลักฐานของพงศาวดารไทย กล่าวว่าก่อนที่พระเจ้าทรงธรรมจะขึ้นครองราชย์นั้น โอรสอีกองค์หนึ่งของพระเอกาทศรถได้ขึ้นมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินก่อนในช่วงเวลาสั้น ๆเพียง 1ปีกับ 2เดือน เข้าใจว่าในระยะเวลาที่พระเจ้าเอกาทศรถจะสิ้นพระชนม์นั้น พระราชโอรสองค์ที่ว่านี้เกิดจากพระมเหสีทรงพระนามว่า พระศรีเสาวภาคย์ เป็นเจ้าฟ้าที่มีพระเนตรข้างเดียว และก็มีสิทธิที่จะได้ครองบัลลังก์ต่อเมื่อเจ้าฟ้าสุทัศน์พระราชบุตรผู้พี่ได้สวรรคตไป
·         แต่หลักฐานของชาวยุโรปที่อยู่ในอยุธยาขณะนั้น ยืนยันว่าพระเจ้าทรงธรรมได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเอกาทศรถ ดังนั้นอาจเป็นไปได้ที่ว่า ในขณะที่พระเอกาทศรถจะเสด็จสวรรคต พระเจ้าทรงธรรมทรงผนวชอยู่ที่ วัดระฆัง ได้สมณฐานันดรเป็น พระพิมลธรรมอนันตปรีชา ทรงเชี่ยวชาญทางด้านพระพุทธศาสนา มีลูกศิษย์และขุนนางข้าราชการนิยมชมชอบไม่น้อย ทำให้สามารถซ่องสุมผู้คนเป็นกำลังเข้ายึดอำนาจได้
·         พระเจ้าทรงธรรมครองราชย์อยู่ 18 ปี และถือเป็นรัชกาลที่ประสบความสำเร็จ พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญมากพระองค์หนึ่ง ลักษณะเด่นของรัชสมัยของพระองค์คือ ด้านพระพุทธศาสนา และวรรณกรรม การต่างประเทศ และความสงบภายใน
·         ด้านพุทธศาสนามีการค้นพบรอยพระพุทธบาท ที่สระบุรี เมื่อปี 2166 ตามประวัติกล่าวว่านายพรานชื่อบุญเป็นผู้ค้นพบโดยบังเอิญบนภูเขาเล็ก ๆในเขตนั้น พระองค์ได้ทรงให้สร้างมณฑปครอบพระพุทธบาท และทรงเริ่มประเพณีการเสด็จไปบูชาพระพุทธบาทตั้งแต่รัชสมัยของพระองค์ ประเพณีนี้ถือได้ว่าเป็นประเพณีของการจารึกแสวงบุญที่สำคัญที่สุดของกษัตริย์ของอยุธยา ตราบจนกระทั่งเสียกรุงแก่พม่าในปี 2310 และได้กลายเป็นประเพณีของชาวบ้านในแถบภาคกลางจนถึงทุกวันนี้ อาจกล่าวได้ว่าการไปไหว้พระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี ทำให้สถานที่นี้ถือได้ว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนามากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ประเพณีนี้จะทำในเวลาหลังฤดูเกี่ยวข้าวแล้ว คือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ หรือ มีนาคม
·         อาจกล่าวได้ว่าการค้นพบรอยพระพุทธบาทที่สระบุรีนั้น เป็นการสืบทอดจารีตความเชื่อทางด้านพุทธศาสนาที่ไทยได้รับจากสกุล ลังกาวงศ์นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาทั้งนี้เพราะในศรีลังกามีประเพณีการขึ้นไปไหว้รอยพระพุทธบาทที่เขาสมณกูฏ อันเป็นความเชื่อที่สร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างพระพุทธองค์ในอินเดียกับประเทศที่นับถือพุทธศาสนา รอยพระพุทธบาทและชื่อเขาสมณกูฏเองก็ปรากฏในสมัยสุโขทัย
·         ยังมีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดและพระพุทธรูปสำคัญอีกด้วย เช่นพระมงคลบพิตร การจัดให้มีการแต่ง มหาชาติคำหลวง อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้ายก่อนการตรัสรู้ มหาชาติ หรือ พระเวสสันดร นี้ถือเป็นวรรณกรรมทางศาสนาที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย ยังมีการสร้างพระไตรปิฎกถือได้ว่าเป็นความสำเร็จของรัชสมัยในการที่พระมหากษัตริย์เป็น องค์ศาสนูปถัมภกอันเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่พระมหากษัตริย์ไทยจะทรงพึงมีในฐานะ สิทธิธรรมทางการเมืองการปกครอง
·         ด้านการต่างประเทศ พระเจ้าทรงธรรมได้ทรงดำเนินนโยบายสืบต่อมาจากพระเอกาทศรถ อันจะทำให้อยุธยามีบทบาทในการค้า และการติดต่อกับต่างประเทศ เป็นอย่างมากจนถึงสมัยพระนารายณ์
·         ชาวต่างประเทศที่นับว่ามีบทบาทอย่างมากในสมัยนี้คือ อังกฤษ ฮอลันดา ญี่ปุ่น ซึ่งติดต่อค้าขายกัน แต่ในบางครั้งมาตั้งสถานีการค้า หรือ บ้าน ในอยุธยาโดยมุ่งจะใช้สยามเป็นเมืองท่าติดต่อไปยังจีนและญี่ปุ่นอีกทอด
·         ภายหลังการก่อตั้ง English East India Company เมื่อปี 2143 อังกฤษได้ขยายเข้าไปในชวาซึ่งต้องแข่งขันกับฮอลันดา แล้วฮอลันดาชนะ ทำให้อังกฤษต้องไปสร้างอิทธิพลในอินเดียแทน อังกฤษได้เข้ามาในอยุธยาเพื่อหวังจะได้ตลาดผ้าฝ้ายที่นำมาจากอินเดีย เพื่อแลกกับของป่า
·         สำหรับประเทศตะวันตกนั้น ฮอลันดามีบทบาทในอยุธยามากที่สุด
·         รัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรมไม่ประสบความสำเร็จด้านการทหารและการแผ่ขยายอำนาจ แต่ก็เป็นรัชสมัยที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนาและการต่างประเทศ พระเจ้าทรงธรรมทรงประชวรและสวรรคตในปี 2171 เมื่อพระชนมายุได้ 38 พรรษา และปัญหาการสืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ก็มีคล้าย ๆกับตอนที่ พระองค์ขึ้นครองราชย์เช่นกัน

 พระเชษฐาธิราช
·         เป็นกษัตริย์องค์ที่ 23 ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าทรงธรรม (กษัตริย์องค์ที่ 22)

พระอาทิตยวงศ์
·         เป็นกษัตริย์องค์ที่ 24 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นอนุชาของพระเชษฐาธิราช (กษัตริย์องค์ที่ 23)

พระเจ้าปราสาททอง
·         พระเจ้าปราสาททองเป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 ของอาณาจักรอยุธยา และทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ปราสาททองอันเป็นราชวงศ์ที่ 4 (ในจำนวน 5 ราชวงศ์) ของอยุธยา
·         พระเจ้าปราสาททองประสูติปี 2143 และอาจจะมีสายพันธ์ในการทรงเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้าทรงธรรม รับราชการเป็นหมาดเล็กของพระเอกาทศรถ และเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในกรมวังตอนอายุ 17 ปี เมื่อพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต2171 ก็เกิดปัญหาการสืบราชสมบัติอันเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกของอยุธยา ขุนนางในราชสำนักแยกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือ เจ้าพระยามหาเสนาสนับสนุนพระศรีศิลป์ ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าทรงธรรม แต่อีกฝ่ายหนึ่งคือ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ปราสาททอง) สนับสนุนพระเชษฐาธิราชซึ่งเป็นโอรสฝ่ายพระเจ้าทรงธรรม ฝ่ายพระเชษฐาธิราชได้ชัยชนะขึ้นครองราชสมบัติ ดังนั้นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ปราสาททอง) จึงได้รับตำแหน่งกลาโหมมีไพร่พลในบังคับและมีอำนาจมาก พระเชษฐาธิราชครองราชสมบัติได้ 1ปี 7เดือน เกิดความขัดแย้งกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ พระเจ้าแผ่นดินถูกจับสำเร็จโทษ และตั้งพระอนุชาคือ พระอาทิตยวงศ์ขึ้นเป็นกษัตริย์ได้เพียง 1 เดือน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็ยึดอำนาจสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อพระชนม์พรรษา 30 พระองค์ครองราชย์ 27 ปี
·         พระเจ้าปราสาททองพยายามแก้ปัญหาการปกครองคือพยายามที่จะไม่ให้เจ้าหรือขุนนางคนใดคนหนึ่งมีอำนาจในการคุมไพร่พลมากจนมีอำนาจมากขึ้นได้ ในสมัยพระนเรศวรและพระเอกาทศรถได้ทรงแก้ปัญหานี้แล้วด้วยการตัดกำลังและอำนาจของเจ้าเมืองบางเมือง ยกเลิกตระกูลเจ้าหัวเมืองที่จะสืบต่ออำนาจกัน ใช้การแต่งตั้งจากส่วนการออกไป พระเจ้าปราสาททองได้ดำเนินการให้แบ่งแยกอำนาจกันระหว่าง 2 เสนาบดีผู้ใหญ่ คือ กลาโหมและ มหาดไทย แบ่งหัวเมืองทางเหนือให้อยู่ในบังคับบัญชาของหมาดไทย ให้หัวเมืองทางใต้อยู่ในบังคับบัญชาของกลาโหม
·         นอกเหนือจากปัญหาภายในแล้วยังมีปัญหากับชาวต่างชาติคือ ญี่ปุ่น และ ฮอลันดา
·         ในสมัยของพระเจ้าปราสาททองเป็นสมัยที่ศิลปะเกี่ยวกับศาสนาเฟื่องฟูมาก มีการรื้อฟื้นอิทธิพลของสถาปัตยกรรมเขมร เช่นการสร้างปรางค์ที่วัดไชยวัฒนารามและที่อำเภอนครหลวง แต่ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาศิลปะของพระพุทธรูป (ทรงเครื่องกษัตริย์) และปรางค์ (ยอดสูง) แบบไทย อันถือเป็นแบบฉบับที่สำคัญของปลายอยุธยา พระเจ้าปราสาททองทรงเน้นพระราชพิธีเสด็จไปบูชารอยพระพุทธบาทที่สระบุรีอันเริ่มมาแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม จนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญของอยุธยาตอนปลาย
เจ้าฟ้าไชย
·         เป็นกษัตริย์องค์ที่ 26 แห่งราชวงศ์ปราสาททอง เป็นโอรสของพระเจ้าปราสาททอง (กษัตริย์องค์ที่ 25) ขึ้นครองราชย์ได้ 2 วัน

พระศรีสุธรรมราชา
·         เป็นกษัตริย์องค์ที่ 27 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นพระอนุชาของพระเจ้าปราสาททอง (กษัตริย์องค์ที่ 25) ขึ้นครองราชย์ ได้ 2 เดือน 18 วัน

พระนารายณ์
·         พระนารายณ์ ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 28 แห่งอยุธยา พระองค์ทรงได้รับยกย่องให้เป็นมหาราชองค์หนึ่ง ทั้งนี้เพราะถือว่ารัชสมัยของพระองค์เจริญรุ่งเรืองในทางวรรณคดีและการต่างประเทศ แต่ก็เป็นสมัยที่มีปัญหายุ่งยากทางการเมืองภายในอย่างสูง และเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศในลักษณะที่ล่อแหลมจนเกือบทำให้สยามตกอยู่ใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส สมัยของพระองค์เป็นสมัยที่มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์มากที่สุดของอยุธยาเพราะได้หลักฐานจากชาวตะวันตกที่เข้ามาในราชสำนัก
·         พระนารายณ์เป็นโอรสของพระเจ้าปราสาททองกษัตริย์องค์ที่ 25 ทรงประสูติเมื่อ 2175/1632 และเมื่อพระราชบิดาสวรรคต 2199 พระเชษฐาของพระองค์ คือ เจ้าฟ้าไชย ก็ได้ขึ้นครองราชสมบัติเพียง 2 วัน พระนารายณ์ทรงร่วมสมคบกับพระศรีสุธรรมราชาซึ่งเป็นพระเจ้าอา ชิงราชสมบัติ โดยขอให้ชาวต่างชาติในอยุธยา เช่น ฮอลันดา ญี่ปุ่น มุสลิม (เปอร์เซียและปัตตานี) ช่วยให้พระศรีสุธรรมราชาครองราชสมบัติแทน แต่พระศรีสุธรรมราชาก็อยู่ในสมบัติได้เพียง 10 สัปดาห์ พระนารายณ์ก็ชิงราชสมบัติอีกครั้ง
·         ในสมัยของพระนารายณ์ทรงพยายามที่จะสถาปนาอำนาจของอยุธยาเหนือล้านนา (เชียงใหม่) และพม่าตอนล่าง ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลที่ช่วงชิงกันระหว่างอยุธยาและพม่านับตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 21 ทรงส่งกองทัพเข้ารุกรานเชียงใหม่ (2204) และเมืองของพม่า เช่น เมาะตะมะ ร่างกุ้ง พะโค (2205) ในสมัยของพระองค์ อยุธยาสามารถครอบครองเมืองต่างๆในพม่าตอนล่างสุดไว้ได้ เช่น มะริดและตะนาวศรี และใช้หัวเมืองเหล่านี้เป็นเมืองท่าติดต่อค้าขายกับอินเดีย ตลอดจนชาวตะวันตกที่เริ่มเข้ามาเป็นจำนวนมากในแถบนั้น โดยเฉพาะอังกฤษและ ฝรั่งเศส
·         บรรดาชาติตะวันตกที่มีความสำคัญในระยะนี้ คือ ฮอลันดา อังกฤษ ฝรั่งเศส โดยบทบาทของโปรตุเกสได้เริ่มลดลง บรรดาพ่อค้าเหล่านี้พยายามอย่างยิ่งที่จะเข้ามามีผลประโยชน์ในการค้าของเอเชีย ซึ่งเดิมอยู่ในมือของจีนทางด้านตะวันออกและชาวมุสลิม ชาวตะวันตกตั้งสถานีการค้าของตนเพื่อตัดการค้าผูกขาดของราชสำนักไทยที่มีกับต่างประเทศ แม้ว่าศตวรรษที่ 22 จะมีชาวตะวันตกเป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากจีนและมุสลิม ทำให้ชาวตะวันตกไม่ได้รับผลกำไรเท่าที่ต้องการ เป็นผลให้การค้าอยู่ในลักษณะที่ปิดๆ เปิดๆ อยู่ตลอดเวลา
·         ในสมัยของพระนารายณ์ทรงสร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 (2208) และในแต่ละปีทรงพำนักอยู่ที่เมืองนี้มากกว่าอยุธยา กล่าวกันว่า การสร้างราชธานีแห่งที่ 2 นี้ก็เพื่อใช้เป็นป้อมปราการในการที่จะต้องเผชิญต่อการปิดล้อมหรือการคุกคามจากชาติตะวันตก (ฮอลันดา) แต่ในการตีความประวัติศาสตร์แบบใหม่ เหตุผลของปัญหาความยุ่งยากทางการเมืองภายในราชสำนักก็อาจเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง
·         จากสมัยของพระองค์ถือกันว่าเป็นสมัยที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการ มีการแต่งวรรณกรรมเก่าๆ เช่น จินดามณี (2215) ราโชวาทชาดก (2218) พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐ (2223) เป็นต้น งานเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานของประวัติศาสตร์และวรรณคดีของไทยในปัจจุบัน
·         เรื่องที่ถือว่าเด่นที่สุดของสมัยพระนารายณ์ คือ การติดต่อสัมพันธ์กับราชสำนักฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และเป็นเรื่องที่ล่อแหลมต่อการสูญเสียเอกราชของอยุธยาเป็นอย่างมาก
·         ในระหว่าง 2223-2231 มีบทบาทของชาวต่างชาติ (กรีก) ที่มีนามว่า คอนแสตนตินฟอลคอน พ่อค้าผู้นี้ได้เข้ามากับเรือสินค้าของอังกฤษ ด้วยความสามารถทางการค้าและภาษาทำให้ก้าวขึ้นมารับราชการกับกรมพระคลัง และมีส่วนในเรื่องการส่งทูตไทยไปยังเปอร์เซีย ทำให้ได้รับการโปรดปรานเข้าทำงานใกล้ชิดกับพระนารายณ์ จนเลื่อนเป็นเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ รักษาการในตำแหน่งพระคลัง และในที่สุดก็ควบคุมกรมมหาดไทยกลายเป็นเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่
·         ฟอลคอนสนใจระบบการค้าในเอเชีย และต้องการจะหาผลประโยชน์ให้กับตนพร้อมๆกับการทำงานให้ราชสำนักไทย ผลประโยชน์ของเขาขัดกับของอังกฤษ ฮอลันดา และบรรดาชาวมุสลิมที่มีอิทธิพลอยู่ ดังนั้นเขาจึงหันไปร่วมมือกับบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอยู่ในอยุธยา
·         ในแง่ของพระนารายณ์ พระองค์สนใจที่จะมีฐานะในทางการระหว่างประเทศโดยส่งทูตไปเปอร์เซีย อินเดีย จีน พระองค์จึงเล็งเห็นความสำคัญและความสามารถของฟอลคอน ในขณะเดียวกันมิชชั่นนารีเยซูอิตก็ได้เข้ามาในอยุธยาตั้งแต่ 2205 มีส่วนช่วยในด้านวิศวกรของการสร้างวังและป้อมปราการให้กับพระนารายณ์ ได้รับอนุญาตพิเศษให้ตั้งสำนักเซมินารีที่จะสั่งสอนศาสนา และพระนารายณ์ก็ส่งสารไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และสันตปาปาที่กรุงโรมโดยผ่านบาทหลวงเหล่านี้ เป็นผลทำให้เกิดความเข้าใจกันว่าพระองค์สนพระทัยในคริสต์ศาสนา และอาจจะเปลี่ยนไปเข้ารีตได้
·         ในปี 2223 พระนารายณ์ทรงส่งทูตไปฝรั่งเศส แต่ทูตชุดนี้เรือแตกสูญหายไปนอกฝั่งแอฟริกา ต่อมาในปี 2225 ฝรั่งเศสได้ส่งทูตชุดเล็กเข้ามาทำการเจรจาสร้างพันธมิตรระหว่างประเทศ ซึ่งในปี 2227 ทูตชุดที่ 2 ของไทยก็ไปเจรจาเรื่องนี้ต่อ ผลก็คือในปี 2228-2229
·         ฝรั่งเศสได้ส่งทูตชุดใหญ่และสำคัญอันนำโดย เชอวาลิเอ เดอ โชมองต์ เข้ามาในอยุธยาด้วยจุดประสงค์ที่จะให้พระนารายณ์เปลี่ยนศาสนา ให้ฝรั่งเศสมีอิทธิพลในการสอนศาสนา ให้มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ให้ผูกขาดการค้าดีบุกที่ภูเก็ต ให้ได้รับประโยชน์ทางการค้าเท่าเทียมฮอลันดา และให้ตั้งทหารของตนได้ที่เมืองสงขลา
·         ทูตชุดนี้ของฝรั่งเศสกลับออกไปในปี 2229 พร้อมกับนำทูตชุดที่ 3 ของไทยที่นำโดย โกษาปาน ไปด้วย เพื่อเจรจาสัญญาต่างๆในรายละเอียดอีกครั้ง โกษาปานไปต่างประเทศในระหว่าง 2229-2230 ขณะเดียวกันสถานการณ์ในสยามก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในปี 2229 เกิดขบถมักกะสัน ซึ่งเป็นพ่อค้ามุสลิมจากเกาะซูลาเวสี (อินโดนีเซีย) ที่ทรงอิทธิพลและมีผลประโยชน์ขัดกับฮอลันดา พวกมักกะสันนี้ต้องการสนับสนุนให้อนุชาของพระนารายณ์ขึ้นครองราชย์แทน และต้องการให้เปลี่ยนเป็นนับถือศาสนาอิสลามด้วย แต่ก็ถูกฟอลคอนปราบปรามอย่างราบคาบ
·         ในขณะเดียวกันก็เกิดวิกฤตการณ์ขึ้นในเมืองมะริด ซึ่งเป็นเมืองท่าด้านตะวันตกของอยุธยา มีการสังหารชาวอังกฤษ 60 คนที่ขัดขวางผลประโยชน์ทางการค้าของพระนารายณ์และฟอลคอน เป็นเหตุให้อยุธยาอยู่ในสภาพสงครามกับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ เรืออังกฤษปิดล้อมมะริด และอังกฤษก็เรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนมาก (65,000 ปอนด์ ) ทำให้เกิดความยุ่งยากในราชสำนัก และเป็นผลให้พระนารายณ์คิดยกเมืองมะริดให้ฝรั่งเศสในที่สุด
·         ในเดือนกันยายน 2230 ฝรั่งเศสได้ส่งทูตมาอีกชุดหนึ่งนำโดย โคลด เซเบเรต์ และ ซิมอง เดอ ลา ลูแบร์ พร้อมด้วยเรือรบ 6 ลำ ทหาร 500 คน และบาทหลวงเยซูอิต จุดประสงค์คือเรื่องเปลี่ยนศาสนาของพระนารายณ์ และการเจรจาเอาเมืองบางกอก (แทนเมืองสงขลา) นอกเหนือจากเมืองมะริด อันจะทำให้ฝรั่งเศสยึดเมืองที่คุมอาณาจักรอยุธยาได้ทั้งหมด มีการลงนามในสนธิสัญญาใหม่นี้เมื่อ 11 ธันวาคม 2230 ซึ่งฝรั่งเศสได้เมืองบางกอกไป แต่ไม่ได้การเปลี่ยนศาสนาของพระนารายณ์
·         ผลของการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ล่อแหลมนี้ทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้านต่างชาติฝรั่งขึ้นในบรรดาขุนนางไทยและพระสงฆ์ ขุนนางไทยไม่พอใจที่ฟอลคอนมีอิทธิพลมากมายในราชสำนักและมีอิทธิพลต่อองค์พระนารายณ์เอง ทั้งยังได้รับผลประโยชน์จากการค้าอีกด้วย ในขณะเดียวกันชาวต่างชาติอื่นๆก็ไม่พอใจต่อสิทธิพิเศษของฝรั่งเศสและฟอลคอน ในด้านพระสงฆ์เกิดการหวั่นวิตกว่า พระนารายณ์จะหันไปนับถือคริสต์ศาสนา ดังนั้นเมื่อพระนารายณ์ทรงประชวรเมื่อมีนาคม 2231 พระเพทราชา เจ้ากรมช้าง ก็กลายเป็นศูนย์กลางของความรู้สึก ชาตินิยม
·         พระเพทราชาได้รับแต่งตั้งให้รักษาราชการ พระนารายณ์ยังมิทันมอบราชสมบัติให้ผู้ใด พระเพทราชาก็ยึดอำนาจ จับฟอลคอนประหารชีวิตเมื่อ 5 มิถุนายน พระปีย์ (โอรสบุญธรรมของพระนารายณ์) ถูกลอบสังหาร เมื่อพระนารายณ์สวรรคต 11 กรกฎาคม 2231 พระเพทราชาก็ขึ้นครองราชสมบัติ และพระอนุชาของพระนารายณ์ก็ถูกสำเร็จโทษ เป็นอันสิ้นราชวงศ์ปราสาททอง และเริ่มต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง อันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอยุธยา พระเพทราชาเจรจาให้กองทหารฝรั่งเศสถอยออกไปจากเมืองบางกอกเมื่อ 18 ตุลาคม 2231 เป็นอันสิ้นสุดการติดต่อสัมพันธ์ทางการต่างประเทศของอยุธยาในลักษณะล่อแหลม กลับไปใช้การติดต่อค้าขายในลักษณะปกติตามที่เคยเป็นมาแต่ครั้งโบราณกาล

พระเพทราชา
·         พระเพทราชา ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 29 ของอยุธยา และทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวง อันเป็นราชวงศ์ที่ 5 และราชวงศ์สุดท้ายของอยุธยาในประวัติศาสตร์ไทย พระเพทราชาถูกมองว่าเป็นกบฏ แต่ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ถูกมองว่าเป็น นักชาตินิยม ที่สกัดกั้นมิให้ไทยต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของต่างชาติ (ฝรั่งเศส)
·         พระเพทราชาทรงมีพื้นเพมาจากบ้านพลูหลวงใน จ.สุพรรณบุรี พระมารดาทรงเป็นแม่นมของพระนารายณ์ ดังนั้นพระองค์จึงได้รับการเลี้ยงดูควบคู่กันมากับพระนารายณ์ ทำให้มีโอกาสเข้ารับราชการ โดยเฉพาะได้เป็นเจ้ากรมช้างซึ่งเป็นกรมที่มีอำนาจในทางการทหารอย่างสูง ในช่วงปลายรัชสมัยพระนารายณ์ เมื่ออิทธิพลของต่างชาติคือ ฝรั่งเศสมีมากขึ้น พระเพทราชากลายเป็นศูนย์กลางของความรู้สึกต่อต้านฝรั่งเศสและคริสต์ศาสนา
·         พระเพทราชามีพระโอรส 1 องค์คือ หลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นโอรสลับของพระนารายณ์ ที่เกิดจากเจ้าหญิง(ลาว) เมืองเชียงใหม่ หลวงสรศักดิ์มีส่วนผลักดันให้พระเพทราชาขึ้นมายึดอำนาจจากพระนารายณ์ เมื่อพระนารายณ์เริ่มประชวรในเดือนมีนาคม 2230 ก็มีปัญหาการสืบราชสมบัติว่าจะตกกับผู้ใด ผู้ที่อยู่ในข่ายคือ พระอนุชา 2 องค์ เจ้าฟ้าอภัยทศ และ เจ้าฟ้าน้อย กับ โอรสบุญธรรมคือ พระปีย์ (พระนารายณ์ไม่มีโอรส) บุคคลทั้ง 3 ถูกหลวงสรศักดิ์กำจัด เมื่อพระนารายณ์สวรรคตไทยก็ขับไล่ฝรั่งเศสออกนอกอาณาเขต
·         ตลอดรัชสมัย 15 ปี ของพระเพทราชามีปัญหาเรื่องความสงบ จากการที่พระองค์ถูกมองว่าเป็นผู้แย่งราชสมบัติ ก็ทำให้มีการกบฏต่อพระองค์ เช่นหัวเมืองบางเมืองก็ไม่ยอมรับอำนาจของพระเพทราชาคือเมืองนครราชสีมาและเมืองนครศรีธรรมราช ทั้ง 2 เมืองมีเจ้าเมืองที่ได้รับการสถาปนาโดยพระนารายณ์ ทำให้ไม่ยอมรับอำนาจของพระเพทราชาและต้องส่งกองทัพไปปราบในปี 2234ใช้เวลาถึง 2 ปี และเป็นสงครามภายในที่ใหญ่ที่สุดนับได้ว่า พระเพทราชาเป็นกษัตริย์ที่มีปัญหาเสถียรภาพการเมืองภายในสูงมาก
·         นอกจากหลวงสรศักดิ์แล้ว พระเพทราชายังมีโอรสอีก 2 องค์ที่มีสิทธิสืบราชสมบัติคือ เจ้าพระขวัญ และ ตรัสน้อย เมื่อพระเพทราชาประชวร ปัญหาการสืบราชสมบัติก็เกิดขึ้น หลวงสรศักดิ์ลอบประหารเจ้าพระขวัญ (ตรัสน้อยหนีไปบวชพระ) พระเพทราชาจึงตั้งพระนัดดา เจ้าพระพิไชยสุรินทร์ให้สืบราชสมบัติ แต่เมื่อพระองค์สวรรคต2246 หลวงสรศักดิ์ก็ได้สืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าเสือ

พระเจ้าเสือ
·         พระเจ้าเสือทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 30 พระองค์มีชื่อเสียงในฐานะกษัตริย์ของอยุธยาที่ดุร้ายและมักมากในกามคุณ แต่ก็เป็นกษัตริย์ที่ทรงมีความเป็นสามัญชนมากที่สุดของอยุธยา ทรงโปรดปรานการเสด็จออกประพาสโดยมิให้ราษฎรรู้ว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงโปรดการประพาสตกปลา ชกมวย เป็นต้น
·         พระเจ้าเสือประสูติเมื่อ2207 ที่ จ.พิจิตร ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นโอรสลับของพระนารายณ์ ที่เกิดจากเจ้าหญิง(ลาว) เมืองเชียงใหม่แต่เนื่องจากพระนารายณ์ทรงอับอายที่มีโอรสกับเจ้าหญิงที่เป็นลาว ดังนั้นจึงยกพระเจ้าเสือ ซึ่งมีนามเดิมว่า เดื่อ ให้เป็นบุตรบุญธรรมของพระเพทราชาเจ้ากรมช้าง ในสมัยที่ทรงพระเยาว์ พระเจ้าเสือมีนามปรากฏในความสามารถในการบังคับบัญชาช้าง ซึ่งถือว่าเป็นวิชาที่สำคัญต่อความเป็นทหารและเป็นผู้นำ ดังนั้นจึงรับราชการเป็นหลวงสรศักดิ์ ในกรมช้าง
·         พระเจ้าเสืออยู่ในราชสมบัติในระยะเวลา 6 ปี และเป็นรัชสมัยที่ค่อนข้างจะไม่มีปัญหาทั้งการเมืองภายในและภายนอกนักไม่เหมือน 2 พระองค์ที่ผ่านมา ในสมัยพระเจ้าเสือมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการเสด็จประพาสทางเรือและลัทธิของความจงรักภักดีต่อกษัตริย์และกฎเกณฑ์ของบ้านเมือง
·         กล่าวกันว่าครั้งหนึ่งเสด็จจากอยุธยาตามลำน้ำเจ้าพระยาเข้าคลองโคกขาม จะไปเมืองสมุทรสาคร2247 นายท้ายเรือพระที่นั่งชื่อ พันท้ายนรสิงห์ คัดท้ายเรือไม่ดี หัวเรือชนต้นไม้หัก ซึ่งตามกฎแล้วจะต้องถูกประหารชีวิต ด้วยการตัดคอ พระเจ้าเสือทรงมีเมตตาต่อพันท้ายนรสิงห์ จะไม่เอาโทษ พันท้ายนรสิงห์ก็ยอมตายขอให้ประหารชีวิต เพื่อรักษากฎหมาย
·         นอกจากนี้ยังมีการขุดคลองมหาชาติ เชื่อระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับ แม่น้ำท่าจีนซึ่งเป็นผลงานที่สำคัญในด้านการเชื่อมแม่น้ำสายสำคัญในภาคกลาง ทำให้การคมนาคมสะดวกติดต่อกันได้ การขุดคลองนี้ไม่ถือว่าเป็นเรื่องของการชลประทาน แต่ก็มีผลพลอยได้ในการเปิดที่ดินใหม่เพื่อการเกษตรกรรมอย่างมหาศาล การขุดคลองนี้เป็นราชกิจที่มีมาตั้งแต่ต้นอยุธยา มีทั้งการขุดคลองลัดเพื่อให้เส้นทางสั้นลง
·         พระเจ้าเสือสวรรคตในปี 2252 เมื่อพระชนม์พรรษาได้ 45และ พระโอรสก็ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าท้ายสระ โดยไม่มีปัญหาการแย่งราชสมบัติ

พระเจ้าท้ายสระ
·         ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 31 ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าเสือ เมื่อขึ้นครองราชย์ก็ตั้งพระอนุชา(พระเจ้าบรมโกศ) เป็นอุปราชหรือวังหน้า รัชสมัยของพระองค์ยาวนาน 24 ปี ทำให้คนรุ่นต้นรัตนโกสินทร์ มองว่าเป็นสมัยที่ บ้านเมืองดี แต่สมัยนี้ก็มีปัญหาการยุ่งยากกับ กัมพูชา
·         ในสมัยนี้ปรากฏว่าการค้าข้าวของไทยรุ่งเรืองมาก ที่สำคัญคือการขายให้กับจีน มีหลักฐานว่าจีนซื้อข้าวจำนวนมากกับไทย ในปี 2265 ,2278 ,2294 ถึงกับจักรพรรดิจีนพระราชทานเหรียญตราให้กับผู้ที่สามารถนำข้าวจากไทยไปขายในเมืองจีน ดังนั้นเป็นผลให้เมืองท่าของจีนทางใต้ โดยเฉพาะที่กวางตุ้งเปิดให้กับไทย และจีนก็ยิ่งมีอิทธิพลการค้าในไทยเพิ่มขึ้น

พระเจ้าบรมโกศ
·         พระเจ้าบรมโกศ เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 32 เป็นพระโอรสของพระเจ้าเสือ และพระอนุชาของพระเจ้าท้ายสระ เป็นกษัตริย์ในสมัยบ้านเมืองดี ก่อนการเสียกรุงให้แก่พม่าเมื่อ2310 คือ 9 ปีภายหลังที่พระองค์สวรรคต และพระโอรส 2 องค์เกิดแย่งชิงกันไม่สามารถต้านทานศึกพม่าได้ สมัยพระเจ้าบรมโกศเป็นยุคที่รัตนโกสินทร์ตอนต้นมองกลับไปหา และพยายามจะลอกเลียนแบบประเพณีของราชสำนัก
·         ในรัชกาลอันยาวนานของพระเจ้าบรมโกศ 25 ปี ทรงได้ปรับปรุงการปกครองโดยการขยายการตั้ง เจ้าทรงกรม จาก 3 กรมเป็น 13 กรม เป็นการพยายามแก้ปัญหาการคุมอำนาจมากจนชิงราชสมบัติ แต่การขยายกรมที่คุมไพร ทำให้การบังคับบัญชากำลังพลกระจัดกระจายทำให้ไม่สามารถเผชิญกับศึกภายนอกเมื่อพม่ายกทัพมาตีอยุธยา
·         ในด้านศาสนา พุทธศาสนารุ่งเรืองมากมีการส่งทูตไปศรีลังกา 2 ครั้ง ทำให้เกิดการอุปสมบทขึ้นใหม่ และมีการตั้งพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ขึ้น
·         ในด้านความสำคัญกับเพื่อนบ้านมีความสัมพันธ์อันดีกับหงสาวดีและ พม่า
·         ในปี 2300พระเจ้าบรมโกศทรงประชวร และในปีนี้มีดาวหางขึ้น ซึ่งปรากฏว่าเป้นดาวหางฮัลเลย์ เมื่อพระองค์สวรรคตก็เกิดการแย่งอำนาจ

สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ( ขุนหลวงหาวัด )
·         สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ) กับพระอัครมเหสีน้อยหรือกรมหลวงพิพิธมนตรี มีพระเชษฐา 1 พระองค์ พระกนิษฐาและพระขนิษฐา 6 พระองค์ ต่อไปนี้
  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าเอกทัศ (เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี)
  เจ้าฟ้าประภาวดี
  เจ้าฟ้าประชาวดี
  เจ้าฟ้าพินทวดี
  เจ้าฟ้าจันทวดี
  เจ้าฟ้ากระษัตรี
  เจ้าฟ้ากุสุมาวดี
·           สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก่อนที่พระองค์จะทำการพิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชย์ ได้มีพระเชษฐาและพระอนุชาต่างพระมารดา 3 พระองค์ ที่จะทำการกบฏแย่งชิงราชสมบัติหลังจากสมเด็จพระราชบิดาสวรรคต ได้แก่ กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ กรมหมื่นเสพภักดี แต่พระองค์ได้ให้พระราชาคณะ 5 รูป ได้เกลี้ยกล่อมจนสำเร็จ อีก 8 วันต่อมา เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษมนตรี สมเด็จพระเชษฐาธิราช ก็กราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) ให้จับพระอนุชาต่างมารดาทั้งสามสำเร็จโทษเสียเพื่ออย่าให้มีเสี้ยนหนามในแผ่นดินต่อไป
·         อีก 7 วันต่อมา สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรก็กระทำพระราชพิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชสมยัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 34 แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรามราชาที่ 4 แต่ประชาชนพากันเรียกว่า สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
·         เมื่อระหว่างที่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์มาได้เพียง 10 วัน สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงเห็นว่า สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษมนตรี เสด็จประทับอยู่ที่พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ตลอดเวลา ไม่ยอมไปที่ไหน พระองค์ทรงเห็นว่า สมเด็จพระเชษฐาธิราชมีความใฝ่ฝันที่จะได้ครองราชสมบัติ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจะจัดการประการใดก็มิได้เพราะเกรงสมเด็จพระราชชนนี พอทรงครองราชย์สมบัติมอบให้แก่สมเด็จพระเชษฐาธิราช หลังจากนั้นก็ทูลลาออกผนวชที่วัดเดิม แล้วเสด็จไปจำพรรษาที่วัดประดู ครั้งนั้นขุนนางข้าราชการที่มีความสามารถในหน้าที่การงาน พากันลาราชการออกบวชตามพระองค์เป็นจำนวนมาก
·         สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ( ขุนหลวงหาวัด ) หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 ทรงครองราชสมบัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2301 และทำการสละราชสมบัติในปีเดียวกันให้กับสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ซึ่งเป็นสมเด็จพระเชษฐาธิราช สิริครองราชย์ได้ 2 เดือน


สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ( พระเจ้าเอกทัศน์ )
·         สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กับพระอัครมเหสีน้อย หรือกรมหลวงพิพิธมนตรีมีพระอนุชา 1 พระองค์ และพระขนิษฐา 6 พระองค์
·         ในปี 2310 ตรงกับเดือนพฤศจิกายน สมเด็จพระพันปีหลวง กรมพระเทพอามาตย์ทรงพระประชวนจนทิวงคต สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ก็ถวายพระศพอย่างสมพระเกียรติตามโบราณราชประเพณี
·         ขณะนั้นเจ้ากรมมหาดเล็กคนใหม่ พระยาราชมนตรีบริรักษ์ และจมื่นศรีสรรักษ์น้องชายซึ่งถือตัวว่าเป็นน้องชายพระสนมเอก และสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เข้าออกในวังหลวงได้ตลอดเวลา ได้แสดงกิริยาโอหัง ไม่ยอมเคารพข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และเสนาบดีทั้งปวง
·         เจ้าพระยาอภัยราชา ได้หารือกับข้าราชการที่รองลงมาว่าคนสองคนนี้จะยุแหย่ให้บ้านเมืองเกิดการจลาจลวุ่นวาย และมีความเห็นว่าพระเจ้าบรมโกศก็ไม่ต้องการที่จะให้ราชสมบัติแก่พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ต้องการยกให้กรมหมื่นพรพินิต และทรงทำนายไว้ว่า บ้านเมืองจะพินาศฉิบหายเพราะความโง่เขลาเบาปัญญาของสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์จึงเห้นว่าสมควรทูลเชิญให้กรมหมื่นพรพินิตลาผนวชกลับมาครองราชย์ดังเดิม แต่กรมหมื่นพรพินิตนำความไปทูลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์จึงได้วางกำลังล้อมจับคณะปฏิวัติได้ทั้งหมด ลงอาญาให้เฆี่ยนตีบรรดาคณะปฏิวัติชั้นหัวหน้าทุกคนและนำจำขังไว้ ส่วนกรมหมื่นเทพพิพิธนั้นให้ศึกเสียจากพระ พอดีมีเรือที่กลับมาจากส่งสมณฑูตไทยจากลังกา สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชาคณะอีก 2 รูป คือ พระวิสุทธาจารย์ และพระวรญาณมุนีกับพระภิกษุอีก 3 รูป ไปผลัดเปลี่ยนพระที่ลังกาด้วย เป็นการลงโทษสถานเนรเทศให้พ้นออกไปจากกรุงศรีอยุธยา

พระราชกรณียกิจและเหตุการณ์ที่สำคัญๆในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
( พระเจ้าเอกทัศ )
การติดต่อกับจีน
ในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์จะมีศึกสงครามกับพม่าอยู่หลายครั้งจนไทยเป็นฝ่ายเสียกรุงในที่สุดก็ตาม แต่รัชสมัยของพระเจ้าเอกทัศหรือสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ก็ปรากฏตามจดหมายเหตุฝ่ายจีนว่า ไทยได้ส่งฑูตไปเจริญสัมพันธไมตรีรวม 3 ครั้ง คือ พ.ศ. 2305 ไทยส่งฑูตไปจีน พ.ศ. 2307 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ได้มอบให้พระยาสุนทรอภัยเป็นหัวหน้าคณะฑูตไทยไปจีน และครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. 2309 ปีสุดท้ายได้ส่งฑูตถือเครื่องราชบรรณาการไปจีนครั้งหนึ่ง แต่ไม่ปรากฏว่าได้เจรจากันด้วยเรื่องอะไรบ้าง เข้าใจว่าไทยคงนำข้าวสารและสินค้าอื่นๆไปขายในประเทศอื่นตามปกติเท่านั้น

เหตุการณ์ในเมืองพม่า
ในขณะนั้นฝ่ายพม่าซึ่งมีเจ้าอลองพญาผู้ครองเมืองรัตนสืงห์ได้ชัยชนะกับมอญแล้วก็ได้เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองพม่า โดยให้พระราชบุตรทั้ง 6 พระองค์ แยกกันไปครองหัวเมืองต่างๆ โดยให้
มังลอกไปครองเมืองดิปะเยียง
มังระ ไปครองเมืองปีคู่
มังโป ไปครองเมืองอะเมียง
มังเวง ไปครองเมืองปะดุง
มังอู ไปครองเมืองปคาน
มังโปเชียง ไปครองเมืองแปงตแล
“แลัให้สะโดมหาสิริยอุจนา ผู้เป็นพระอนุชา ไปครองเมืองตองอู”

การสงครามกับพม่าครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2302 พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา พงศาวดารพม่า และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทยและต่างชาติ กล่าวตรงกันว่า ขณะนั้นพระเจ้าอลองพญาซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พม่าได้ทราบข่าวความอ่อนแอของไทยในรัชกาลนี้ จึงเสด็จกรีธาทัพมาย่ำยีเมืองไทย โดยยกเข้ามาตีเมืองตะนาวศรี ทวาย และมะริดไว้ได้ และจึงยกทัพมาทางด่านสิงขร ตีหัวเมืองรายทางแตกหมด ซึ่งในเวลานั้น สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ได้ทรงประกาศระดมพลเป็นการด่วน และให้จัดทัพขึ้นต่อสู้พม่า โดยจัดกองทัพออกต่อสู้ แบ่งออกเป็น 2 ทัพ ต่อไปนี้

1.             ให้พระอินทราราชรองเมืองเลื่อนเป็นพระยายมราช เป็นแม่ทัพที่ 1 มีพระยาเพชรบุรีเป็นแม่ทัพหน้า พระยาราชบุรีเป็นยกกระบัตร พระสมุทรสงครามเป็นพลาธิการ พระธนบุรีกับพระนนทบุรีเป็นทัพหลัง ไปตั้งรับที่ตำบลแก่งตุ่ม
2.             ให้พระยารัตนาธิเบศรเป็นแม่ทัพที่ 2 กับกองทัพอาสาสมัครของชาววิเศษไชยชาญซึ่งขุนรองและปลัดชูนำมาสมัครเป็นหน่วยแรกกับคน 400 คน นั้นให้ประจำอยู่กับกองทัพที่ 2 ไปตั้งรับอยู่ ณ เมืองกุยบุรี รวมทั้ง 2 กองทัพ มีจำนวนทหารไทย 5000นาย พร้อมกันนั้นพระองค์มีพระบรมราชโองการไปยังเจ้าหัวเมืองต่าง ๆ ให้เกณฑ์พลเมืองทุกเมืองส่งมาช่วยป้องกันพระนคร ส่วนชาวเมืองที่ต่อสู้ไม่ได้ให้หลบไปซ่อนตัวอยู่ในป่า อย่าให้พม่าจับตัวได้
ขณะเดียวกันกองทัพฝ่ายพม่าก็ยกทัพเข้ามาแต่ฝ่ายไทยตั้งรับไม่ได้ จึงจำต้องนำทหารที่ เหลือถอยร่นลงมาจนถึงแขวงเมืองราชบุรี ในครั้งนี้จึงทำให้ทหารไทย 2 นาย คือ ขุนรอง และปลัดชู ได้แสดงความสามารถต่อสู้ข้าศึกจนสิ้นชีวิตในที่รบ ในที่สุดกองทัพพม่าได้ยกเข้าล้อมพระนครถึงชานเมือง จนทำให้ภายในพระนครเกิดความวุ่นวายตกใจกลัว พร้อมทั้งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยตัวขุนนางและแม่ทัพผู้ใหญ่ที่กำลังถูกขังอยู่ในอดีตออกมาช่วยป้องกันพระนคร และจมื่นศรีสรรักษ์ 2 พี่น้องที่ทำให้เกิดความยุ่งยากให้เข้าคุกแทน เนื่องจากคดีลอบทำชู้ในวังหลวงและเฆี่ยนพระยาราชมนตรีจนตาย แล้วนำศีรษะไปเสียบประจาน สืบเนื่องมาจากกระทำผิดกฎมณเฑียรบาล หลังจากนั้นพระองค์ก็มีรับสั่งให้ไปกราบทูลเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมขุนอุทุมพร ขอให้ลาผนวชมาช่วยศึกครั้งนี้

สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงลาผนวชมาช่วยการศึก
เมื่อสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงลาผนวชขึ้นครองราชย์ครั้งนั้น เข้าพระทัยว่าพระเชษฐาธิราชจะคืนราชสมบัติให้ครองราชย์ดังเก่า จึงจัดระเบียบผู้คนใหม่ ตระเตรียมป้อมปราการสำหรับเป็นที่มั่นต่อสู้ข้าศึก ต่อมาพม่าก็ยกมาถึงสุพรรณบุรี แล้วเข้ามาถึงกำแพงเมืองอยุธยา เมื่อเดือน 5 ขึ้น 11 ค่ำ พ.ศ. 2303 ฝ่ายพม่า มังระกับมังฆ้องนรธาตั้งอยู่ทุ่งโพธิ์สามต้น แล้วเอาปืนใหญ่มาตั้ง ณ วัดราชพลี วัดกษัตรา วัดหน้าพระเมรุ วัดหัสดาวาส ระดมเข้าไปในพระราชวังทั้งกลางวันและกลางคืน จนลูกปืนถูกยอดพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ทลายลง สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรได้เข้าบัญชาการรบอย่างเข้มแข็ง พม่าล้อมกรุงอยู่เป็นเวลานาน ได้พยายามตั้งจังกาปืนใหญ่ยิงเข้ามาในพระนครทุกวัน แต่ก็ไม่สามารถจะตีพระนครให้แตกได้ ขณะเดียวกันฝ่ายพม่าพระเจ้าอลองพญาทรงเข้าบัญชาการยิงปืนใหญ่และจุดปืนใหญ่เอง ในที่สุดปืนใหญ่ระเบิดแตกต้องพระองค์บาดเจ็บสาหัส กองทัพพม่าจึงจำเป็นต้องยกถอยกลับไป ตรงกับเดือน 6 ขึ้น 2 ค่ำ พ.ศ. 2303นั่นเอง ได้ถอยไปทางด่านแม่ละเมา ฝ่ายไทยมีคำสั่งให้พระยาสีหราชเดโชยกทัพติดตามไปทำลายกำลังพม่า จนถึงเมืองตากระหว่างชายแดนไทยพม่า แล้วก็ยกทัพกลับกระนคร ในส่วนของฝ่ายพม่า พระเจ้า อลองพญาทรงทนพิษบาดแผลไม่ไหวก็สวรรคต ณ บริเวณตำบลเมาะกะโลก แขวงเมืองตาก เมื่อแรม 12 ค่ำ เดือน 6 ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 45 พรรษา



บ้านเมืองภายหลังสงครามพม่าครั้งที่ 1
เมื่อกองทัพพม่าเลิกทัพกลับไปแล้ว สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้สั่งให้ทหารไปค้นค่ายพม่าที่เคยตั้งอยู่ที่ค่ายบ้านบางกุ่ม ได้ตรวจค้นค่ายพบปืนใหญ่ขนาด 3-4 นิ้ว ของพม่าฝังไว้ในค่าย 40 กระบอก จึงทรงโปรดเกล้าฯให้นำมาใช้ในราชการ เมื่อเสร็จสงครามแล้วอดีตกษัตริย์ก็เข้าเฝ้าฯ
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ผู้เป็นพระเชษฐาธิราช ถึงกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าหญิงแมงเม่า ซึ่งบวชเป็นชีอยู่สึกจากชี นำถวายเป็นพระอัครมเหสีของสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
วันหนึ่ง สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรไปหาถึงในพระที่ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรได้เห็นพระแสงดาบวางพาดอยู่บนพระเพลา เมื่อสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรเห็นเช่นนั้นก็เข้าพระทัยว่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ รังเกียจพระองค์ กลัวมาแย่งราชสมบัติ จึงเสด็จออกจากพระราชวังหลวงไปประทับที่พระตำหนักบ้านคำหยาด (ปัจจุบันอยู่ที่ จ. อ่างทอง) แล้วกลับมาทรงผนวชที่วัดประดู่โรงธรรมในอยุธยาดังเดิม ขณะนั้นบังเอิญทางพม่าเกิดความวุ่นวายภายใน เมืองไทยจึงได้สงบศึกมาหลายปี

สงครามกับพม่าครั้งที่ 2
หลังจากพม่าเกิดความวุ่นวายภายในและทำการจัดระเบียบราชการแผ่นดินของพม่าใหม่ โดยมีมังลอกพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าอลองพญาได้ราชสมบัติ และต้องทำการสงครามปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งแข็งเมืองกระด้างกระเดื่องอยู่เกือบปี ก็พอดีทรงพระประชวร และสวรรคตในเวลาต่อมา มังระพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในพระเจ้าอลองพญา ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อ มีนิสัยชอบการสงครามเหมือนพระราชบิดา จึงให้ มังมหานรธาเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพพม่าเข้ามาทางทวาย ตีหัวเมืองล้อมกรุงศรีอยุธยา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพเข้าโจมตีไทยฝ่ายเหนือ เริ่มตั้งแต่เชียงใหม่ เวียงจันทร์ แล้วรุดหน้ามาทางใต้เข้าล้อมอยุธยา เป็นทัพกระหนาบ

เหตุการณ์ตอนปลายรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์ไว้ในจดหมายเหตุกรมหลวงนรินทรเทวีเกี่ยวกับการเสียกรุงในครั้งนั้นว่า
"เครื่องศัสตราวุธเห็นจะขัดสนมาก อย่างไขว้เขวกัน มีปืนไม่มีลูก มีลูกไม่มีปืน อาวุธที่จ่ายออกมาก็ชำรุดทรุดโทรม ปืนเอาไปยิงก็จะเกิดอันตรายเนือง ๆ แตกบ้าง ตกรางบ้าง ยิงไม่ออกบ้าง เข็ดหยาดเห็นการยิงปืนยากเสียเต็มที คราวนี้ก็เลยกลัวไม่ใคร่จะมีใครกล้ายิงเองอยู่แล้ว ซ้ำเจ้านายและผู้ดีก็พากันสวิงสวายกลัวอะไรต่ออะไร ตั้งแต่ฟ้าร้องเป็นต้นไป เป็นปกติของผู้ดีชั้นนั้น"
ส่วนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เช่นเดียวกัน ซึ่งปรากฏอยู่ในจดหมายหลวงอุดมสมบัติ ฉบับที่ 1 เป็นใจความว่า
"ครั้งพม่ายกมาตั้งค่ายอยู่ในวัดแม่นางปลื้มนั้น จะหาคนรู้ยิงปืนเป็นสู้รบกับพม่าก็ไม่มี ศูนย์ทะแกล้วทหารเสียหมด (พระเจ้าเอกทัศ) รับสั่งให้เอาปืนปะขาวกวาดวัดขึ้นไปยิงสู้รบกับที่หัวรอ ต่างคนต่างก็ตื่นตกใจเอาสำ
อุดหูกลัวเสียงปืน จะดังเอาหูแตก ว่ากล่าวกันให้ใส่ดินแต่น้อย ครั้นใส่แต่น้อยกำหนดจะยิงข้างน้ำข้างใน (หม่อนต่าง ๆ เข่น มีเรื่องเล่าถึงหม่อนเพ็ง หม่อนแมน) ก็พากันร้องวุ่นวาย เอาสำลีจุกหูไว้ กลัวหูจะแตก ก็รับสั่งให้ผ่อนดินให้น้อยลง จะยิงแล้วไม่ยิงเสีย แต่เวียนผ่อนลง ๆ ดินก็น้อยลงไปทุกที ครั้นเห็นว่าน้อยพอยิงได้แล้วก็ล่ามชนวนออกไปให้ไกลทีเดียว แต่ไกลอย่างนั้นคนยิงยังต้องเอาสำลีจุกหูไว้ กลัวหูจะแตก ครั้นยิงเข้าไปเสียงปืนก็ดังพรูดออกไป ลูกปืนก็ตกลงน้ำ หาถึงค่ายพม่าไม่ (สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ) รับสั่งต่อไปว่า สั่งคนรู้วิชาทัพ ก็จะเป็นไปอย่างนี้นั่นเอง"
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ไม่สามารถทำการศึกสงครามได้ และไม่สามารถทั้งในการรวมคนป้องกันพระนคร ประชาชนจึงไปอันเชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ให้ลาผนวชมาช่วยรักษาพระนครอีกครั้งหนึ่ง แต่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรก็ไม่ยอม พม่าล้อมและระดมตีไทยอยู่ครั้นนั้นเป็นเวลานานถึง ๑ ปี ๒ เดือน ถึงวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลา ๒๐.๐๐ น. ก็เข้าเมืองได้ ได้เผาผลาญบ้านเมืองเสียยับเยิน กวาดเก็บทรัพย์สินและสมบัติและผู้คนเป็นเชลยเสียมากปราสาทราชมณเฑียรต่าง ๆ ก็ถูกไปเผาพินาศสิ้น ทองหุ้มองค์พระพุทธรูป พม่าเอาไฟเผาครอกเอาไปหมด เกี่ยวกับเรื่องนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ใน พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
"ฝ่ายเนเมียวแม่ทัพค่ายโพธิ์สามต้น จึงให้พลพม่าเข้ามาจุดเพลิงเผาปราสาทที่เพนียดนั้นเสีย แล้วให้ตั้งค่ายลงที่เพนียด และวัดพระเจดีย์แดง วัดสามพิหาร วัดมณฑป วัดกระโจม วัดนางชี วัดนางปลื้ม วัดศรีโพธิ์เผาเหย้าเรือนอาวาส และพระราชวังทั้งปราสาทราชมณเฑียร และเพลิงสว่างดังกลางวันแล้วเทียวไล่จับผู้คนค้นริบเอาทรัพย์เงินทองสิ่งของทั้งปวงต่างๆ แต่พระเจ้าแผ่นดินนั้นหนีออกจากเมืองลงเรือน้อยไปกับมหาดเล็กสองคน ไปซ่อนอยู่ในสุมทุมไม้ใกล้บ้านจิกขัน วัดสังฆาวาส มหาเล็กนั้นก็ทิ้งเสียหนีไปอื่น อดอาหารอยู่แต่เพียงพระองค์เดียวพม่าหาจับได้ยาก จับได้เพียงแต่พระราชวงศานุวงศ์ทั้งปวงไปไว้ทุกๆ ค่าย….แล้วพม่าก็เอาเพลิงสุมหลอมเอาทองคำซึ่งแผ่หุ้มองค์พระพุทธรูปผืนใหญ่ในพระวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชรดารามนั้น ขนเอาเนื้อทองคำไปหมดสิ้น
หลังจากนั้นพม่าค้นหาผู้คนและทรัพย์สมบัติอยู่ 10 วัน ได้ทรัพย์สมบัติไปเป็นอันมากแล้วยกกองทัพกลับ ตั้งให้สุกี้เป็นแม่ทัพกุมพล 3,000 คน อยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น เพื่อค้นหาสมบัติและส่งผู้คนไปยังพม่าต่อไป ส่วนองค์พระเจ้าแผ่นดินนั้นหนีไปซุกซ่อนอยู่ อดอาหารมากกว่า 10 วัน สุกี้ไปพบและนำมายังค่ายโพธิ์สามต้นก็สวรรคต พร้อมกับสิ้นบุญกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) ทรงครองราชสมบัติตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๐๑ และสวรรคตในปีเดียวกับการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๑๐ สืบเนื่องมาจากถูกพม่าเผากรุงศรีอยุธยาวอดวายและพระองค์อดอาหาร

สาเหตุการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า เกิดจาก
1.             ความเสื่อมเรื้อรังในสถาบันการเมืองและทางสังคม สืบเนื่องมาจากแย่งชิงอำนาจกัน
2.             ความเสื่อมจากการมีผู้นำที่ไม่เข้มแข็งเด็ดขาด
3.             ไพร่พลขาดความพร้อมในการรบ เพราะเว้นจากการศึกสงครามมานาน
4.             พม่าเปลี่ยนยุทธวิธี และหันมาใช้วิธีตัดกำลังของหัวเมืองต่าง ๆ
5.             เกิดไส้ศึกภายใน

ความเสียหายที่เกิดหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. ๒๓๑๐
1.             สูญเสียทรัพย์สินเป็นมูลค่ามหาศาลในรูปของ เงิน ทองคำ สิ่งมีค่าทั้งปวง
2.             บ้านเรือน วัดวาอาราม ปราสาทราชมณเฑียร ถูกเผาทำลายเกือบหมด
3.             งานศิลป์ สถาปัตยกรรมด้านต่าง ๆเสื่อมไป และพม่ายังกวาดต้อนเอาช่างฝีมือดีในอยุธยาไป
4.             วรรณกรรม จำนวนมากกระจัดกระจายสูญหาย พร้อมทั้งถูกทำลาย
5.             พระพุทธศาสนา วัดวาอารามถูกทำลาย พระสงฆ์ถูกฆ่า พระไตรปิฎกถูกเผาทำลายจนสิ้นเชิง
6.             เกิดภัยพิบัติต่าง ๆหลังจากการเสียกรุงซ้ำเติม
7.             เกิดความแตกแยกขึ้นภายในอาณาจักร เพราะบ้านเมืองขาดศูนย์กลางการปกครอง
เป็นอันสิ้นสุดอาณาจักรอยุธยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอำนาจไทยมา 417 ปี


อ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/node/2107
http://www.angelfire.com/hero/ayutthaya/page3.html

10 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ12 กรกฎาคม 2556 เวลา 07:02

    เจ๋ง
    -<

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ10 กันยายน 2559 เวลา 21:18

    ทําการบ้านได้

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ1 สิงหาคม 2560 เวลา 07:35

    ทำการบ้านเสร็จเเล้ว

    ตอบลบ
  4. มีแหล่งทำการบ้านแล้ว :D

    ตอบลบ
  5. ต้องขอบคุณละครเรื่อง"บุพเพสันนิวาส"ที่ทำให้ต้องมาเปิดเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ดู
    พบว่าละครกล่าวถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง...ขอบคุณหน้านี้ที่ให้ข้อมูล

    ตอบลบ