เด็กน้อยนักเรียน

เด็กน้อยนักเรียน
เด็กๆกับวัยเรียนรู้

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

ตัวอย่าง TOK เรื่อง อวกาศ

อวกาศ

ความเป็นมาและความสำคัญของประเด็น
            ในอดีตมนุษย์มีความเข้าใจว่า  ท้องฟ้าและอวกาศ  เป็นสถานที่ลึกลับ  การเกิดลม  ฝน  พายุ  หรือสายฟ้าเกิดจากการบันดาลของเทพเจ้า  แต่ต่อมาเมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีมากขึ้น  มนุษย์เริ่มสำรวจหาข้อเท็จจริงโดยการสำรวจในช่วงแรกยังคงเป็นการใช้กล้องโทรทรรศน์ (telescope)  ส่องดูวัตถุต่าง ๆ  บนท้องฟ้า  และใช้จานรับคลื่นวิทยุจากดวงดาวต่าง ๆ ซึ่งอวกาศคือที่ว่างนอกโลก นอกดวงดาว ดังนั้นจึงมีอวกาศระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ระหว่างดาวฤกษ์กับดาวฤกษ์ ซึ่งการศึกษาเกี่ยวกับอวกาศจำต้องมีการสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่นอกโลกของเราและสำรวจโลกของเราเองด้วย ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศได้มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆมากขึ้น โดยองค์การที่มีส่วนมากในการพัฒนาทางด้านนี้คือองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดทำโครงการขึ้นมากมาย ทั้งเพื่อการสำรวจดาวที่ต้องการศึกษาโดยเฉพาะและที่ทำขึ้นเพื่อศึกษาสิ่งต่างๆในจักรวาล การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศนั้นมีทั้งด้านการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารในปัจจุบันทำได้อย่างรวดเร็ว  การสำรวจทรัพยากรโลก ทำให้ทราบว่าปัจจุบันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง   และการพยากรณ์อากาศก็จะทำให้สามารถเตรียมพร้อมที่จะรับกับสถานการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปได้

วัตถุประสงค์ของการรายงาน
1.             เพื่อศึกษาถึงลักษณะของอวกาศ
2.             เพื่อรู้ถึงเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งมีความสำคัญและประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ
3.             เพื่อศึกษาถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ
4.             เพื่อศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ 

ประโยชน์ของการรายงานหรือผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.       ทำให้เกิดความเข้าใจถึงลักษณะของอวกาศและรู้ถึงเทคโนโลยีอวกาศ
2.       สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอวกาศไปใช้ในอนาคต
3.      ทำให้เข้าใจถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ
นิยามศัพท์เฉพาะ

กล้องโทรทรรศน์
อุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น
ดาวฤกษ์
วัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก
เทคโนโลยีอวกาศ
การสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่นอกโลกของเราและสำรวจโลกของเราเองด้วย   ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศได้มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆมากขึ้น โดยองค์การที่มีส่วนมากในการพัฒนาทางด้านนี้คือองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดทำโครงการขึ้นมากมาย ทั้งเพื่อการสำรวจดาวที่ต้องการศึกษาโดยเฉพาะและที่ทำขึ้นเพื่อศึกษาสิ่งต่างๆในจักรวาล 
ระบบสุริยะ
ระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite)
ดาวเทียม
สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ
ยานอวกาศ
พาหนะหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ทำงานในอวกาศเหนือผิวโลก ยานอวกาศนี้อาจเป็นได้ทั้งแบบมีคนบังคับหรือแบบไม่มีคนบังคับก็ได้ สำหรับภารกิจของยานอวกาศนี้จะมีทั้ง การสื่อสารทั่วไป, การสำรวจโลก, การทำเส้นทาง เป็นต้น
เชื้อเพลิง
วัสดุใดๆ ที่นำไปเผาไหม้หรือแปรเปลี่ยนเพื่อนำมาซึ่งพลังงาน  เชื้อเพลิงจะปลดปล่อยพลังงานผ่านปฏิกิริยาทางเคมีเช่นการเผาไหม้ หรือปฏิกิริยานิวเคลียร์เช่นการแตกตัวหรือการรวมตัวของนิวเคลียส
ความเร็วหลุดพ้น
ความเร็วที่จะพาวัตถุไปได้ไกลจนพ้นจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลกได้พอดี ถ้าต้องการส่งยานอวกาศออกไปให้พ้นจากสนามโน้มถ่วงของโลก ต้องทำให้ยานอวกาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าความเร็วหลุดพ้น ความเร็วหลุดพ้นมีค่าประมาณ 11.2 km/s หรือ 40,320 km/h
ทางช้างเผือก
อาณาจักรของดาว กาแล็กซีหนึ่งๆ ประกอบด้วยก๊าซ ฝุ่น และดาวฤกษ์หลายพันล้านดวง กาแล็กซีมีขนาดใหญ่หมื่นล้านถึงแสนล้านปีแสง ทางช้างเผือกเป็นกาแล็กซีของเรามีขนาดประมาณหนึ่งแสนปีแสง เนื่องจากโลกของเราอยู่ภายในทางช้างเผือก


ขอบเขตของการรายงาน
-       ข้อบ่งชี้ว่าอวกาศมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้
-       สามารถรู้ถึงเทคโนโลยีอวกาศที่ทันสมัย
-       สามารถรู้ถึงการศึกษาเรื่องอวกาศและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ

กำหนดวิธีการที่นักเรียนใช้ในการศึกษาค้นคว้า และ วัน/เดือน/ปี
ระยะเวลา         6 - 8  มกราคม  2555
-                   6      ธันวาคม 2554     ค้นคว้าข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
-                   7      ธันวาคม  2554    รวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล
-                   8      ธันวาคม 2554     เขียนรายงาน

กำหนดแหล่งข้อมูลที่นักเรียนใช้ในการศึกษาค้นคว้า
                จากการค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต
สถานที่
-                   ร้านอินเทอร์เน็ต

บันทึกการศึกษาค้นคว้าและการสืบค้นข้อมูล
            สรุปผลการศึกษาค้นคว้าข้อมูล
                จากการศึกษาถึงเรื่องอวกาศ ทำให้ทราบถึงว่าอวกาศ คือ อาณาบริเวณอันกว้างใหญ่ที่อยู่เลยชั้นบรรยากาศของโลกออกไป  ไม่สามารถระบุถึงขอบเขตได้อย่างชัดเจน  โดยปกติอวกาศเป็นที่ว่างเปล่า  มีความหนาแน่นน้อย   อวกาศเป็นที่อยู่ของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ อวกาศหลาย ๆ อวกาศรวมกันเป็นจักรวาล นักวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายคนเชื่อว่า จักรวาลเกิดขึ้นจากการระเบิดครั้งรุนแรงที่เรียกว่า บิ๊ก แบงค์ (big bang) เมื่อ 14 ล้านล้านปีมาแล้ว
300 ปีแสงในห้วงอวกาศ จักรวาลประกอบด้วยอะตอมมากมาย เมื่อจักรวาลเย็นลง อะตอมเหล่านี้ก็จับตัวกันเป็นอนุภาคต่าง ๆ อะตอมในอวกาศจะรวมเข้าด้วยกันด้วยแรงดึงดูดจากดาวฤกและดาวเคราะห์
1 ปีแสงเท่ากับ 9,460,000,000 กิโลเมตร ระบบสุริยะเป็นกลุ่มของดาวเคราะห์และดวงจันทร์ที่โคจร
รอบดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง ดวงอาทิตย์ของเราเป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง ดังนั้นโลกจึงอยู่ในระบบสุริยะมีดาวเคราะห์ 9 ดวง โคจรรอบดวงอาทิตย์ของเรา ดาวเคราะห์ที่ว่านั้นมีดังนี้ พุทธ ศุกร์ โลก อังคาร พฤหัส เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน พลูโต
การศึกษาความรู้เกี่ยวกับอวกาศจำเป็นต้องใช้ความรู้ เครื่องมือ และกลวิธีทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ปรับใช้ให้เกิดประโยชน์จึงเกิดเทคโนโลยีอวกาศขึ้นมาซึ่งคือการสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่นอกโลกของเราและสำรวจโลกของเราเองด้วย ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศได้มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆมากขึ้น โดยองค์การที่มีส่วนมากในการพัฒนาทางด้านนี้คือองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดทำโครงการขึ้นมากมาย ทั้งเพื่อการสำรวจดาวที่ต้องการศึกษาโดยเฉพาะและที่ทำขึ้นเพื่อศึกษาสิ่งต่างๆในจักรวาล การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศนั้นมีทั้งด้านการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารในปัจจุบันทำได้อย่างรวดเร็ว  การสำรวจทรัพยากรโลก ทำให้ทราบว่าปัจจุบันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง   และการพยากรณ์อากาศก็จะทำให้สามารถเตรียมพร้อมที่จะรับกับสถานการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปได้
ดาวเทียมและยานอวกาศ
     ประเภทของดาวเทียมบางประเภท เช่น
          1. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
          2. ดาวเทียมสังเกตการณ์ดาราศาสตร์
          3. ดาวเทียมชีวภาพ
          4. ดาวเทียวทางการทหาร
          5. ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก
          6. ดาวเทียมสื่อสารโทรคมนาคม
          7. ดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์
          8. ดาวเทียมห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ เช่น ห้องทดลอง LDEF ซึ่งยานขนส่งอวกาศนำไปปล่อยในอวกาศตั้งแต่เดือนเมษายน 2527 และนำกลับลงมา เมื่อ 12 ม.ค. 2533 โครงการทดลองนำเมล็ดมะเขือเทศ 5 ถุงใหญ่ หลังกลับมาแล้วจ่ายเมล็ดมะเขือเทศ 2 แบบ ให้ศึกษาคือที่นำมาจากอวกาศเปรียบเทียบกับที่ผิวโลกศึกษาการเจริญเติบโตของเมล็ดมะเขือเทศทั้งสอง
     การส่งดาวเทียมและยานอวกาศจากพื้นโลกขึ้นสู่อวกาศ ต้องต่อสู้กับแรงดึงดูดของโลก ดาวเทียมและยานอวกาศต้องเอาชนะ แรงดึงดูดของโลก โดยอาศัยจรวดที่มีแรงขับดันและความเร็วสูง ความเร็วของจรวดต้องมากกว่า 7.91 กิโลเมตรต่อวินาที ยานอวกาศจึงจะสามารถขึ้นไปสู่อวกาศและโคจรรอบโลกในระดับต่ำที่สุด (0 กิโลเมตร) ได้ ถ้าความเร็วมากว่านี้ ยานจะขึ้นไป โคจรอยู่ในระดับที่สูงกว่า เช่น ถ้าหากความเร็วจรวดเป็น 8.66 กิโลเมตรต่อวินาที ยานจะขึ้นไปได้สูง 1,609 กิโลเมตร ถ้าหากจะให้ ยานหนีออกไปโคจรรอบดวงอาทิตย์ จรวดที่พายานออกไปต้องมีความเร็วที่ผิวโลกมากกว่า 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งเรียกว่า ความเร็วหลุดพ้น (Escape Velocity) หรือความเร็วผละหนีความเร็วหลุดพ้นจากโลกจะลดต่ำลงเมื่อห่างจากโลกมากขึ้น ดังตารางความสูงจากผิวโลก และความเร็วผละหนี
     เชื้อเพลิงที่ใช้ในการส่งยานอวกาศ ควรใช้เชื้อเพลิงเหลว ซึ่งแยกเชื้อเพลิงและสารที่ช่วยในการเผาไหม้ออกจากกัน การนำจรวด มาต่อเป็นชั้น ๆ จะช่วยลดมวลของจรวดลง และเมื่อจรวดชั้นแรกใช้เชื้อเพลิงหมด ก็ปลดทิ้งไป และให้จรวดชั้นต่อไป ทำหน้าที่ ต่อจนถึงจรวดชั้นสุดท้ายที่ติดกับดาวเทียมหรือยานอวกาศ
     ปี พ.ศ. 2469 โรเบิร์ต กอดดาร์ ชาวอเมริกัน ประสบความสำเร็จในการสร้างจรวดเชื้อเพลิงเหลว โดยใช้ออกซิเจนเหลว เป็นสารที่ช่วย ในการเผาไหม้อยู่ในถังหนึ่งและไฮโดรเจนเหลวเป็นเชื้อเพลิงอยู่ในอีกถังหนึ่ง

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ 
     1. มีการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษา พัฒนา และประดิษฐ์อุปกรณ์ถ่ายภาพในช่วงคลื่น ๆ จากระยะไกล
     2. ทำให้เครื่องรับและส่งสัญญาณมีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วนำอุปกรณ์และเครื่องส่งสัญญาณไปประกอบเป็นดาวเทียม ที่ถูกส่งขึ้นไปโคจรจรอบโลก
     3. ทำให้สามารถสังเกตสิ่งต่าง ๆ บนโลกได้ระยะไกลในเวลาอันรวดเร็ว
     4. ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับเอกภพ โลก ดวงจันทร์ และดาวอื่น ๆ
     5. ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีอวกาศ ช่วยเปิดเผยความลี้ลับในอดีต และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านต่าง ๆ มากมาย

ข้อสังเกต
     1. ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์
     2. ดาวเคราะห์ที่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดาวศุกร์
     3. ดาวศุกร์ที่เห็นในตอนเช้า เรียกว่า ดาวกัลปพฤกษ์ หรือดาวประกายพรึก เห็นตอนหัวค่ำ เรียกดาวประจำเมือง
     4. ดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล คือ ดาวพฤหัส ดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุด คือ ดาวพลูโต
     5. ดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กกว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพลูโต
     6. ดาวเคราะห์ที่มีขนาดโตกว่าโลก ได้แก่ ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
     7. การเรียงลำดับขนาดของดาวเคราะห์จากโตไปเล็ก เรียงได้ ดังนี้ ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน โลก ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพุธ ดาวพลูโต
     8. ดาวเคราะห์ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อยืนอยู่บนโลก มี 5 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์
     9. การที่เรามองเห็นดาวฤกษ์กะพริบแสงอยู่ตลอดเวลา เพราะดาวฤกษ์อยู่ไกลโลกมาก ลำแสงที่มาจากดาวฤกษ์ จึงคล้ายกับ แสงเส้นเดียว แสงเมื่อผ่านชั้นบรรยากาศจะหักเหอย่างไม่คงที่จึงเห็นดาวฤกษ์กะพริบแสง
     10. การที่มองเห็นดาวเคราะห์ที่แสงนวลนิ่ง เพราะดาวเคราะห์อยู่ใกล้โลกมากกว่าลำแสงใหญ่กว่า จึงมองเห็นกะพริบน้อย
     11. กาแล็กซีทางช้างเผือก หรือกาแล็กซีของเรา ประกอบด้วย ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง อุกกาบาต ดวงจันทร์ที่เป็นบริวาร และเนบิวลา
     12. ดาวเคราะห์น้อย เป็นกลุ่มของแข็งและดาวเคราะห์ขนาดเล็กโคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัส อยู่ประมาณ 3 - 5 หมื่นดวง
     13.ดาวเคราะห์วงในและดาวเคราะห์วงนอก ใช้โลกเป็นเกณฑ์แบ่งดาว
          ดาวเคราะห์วงใน ประกอบด้วย ดาวพุธ และดาวศุกร์
          ดาวเคราะห์วงนอก ประกอบด้วย ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และดาวพลูโต

นอกเหนือจากดาวเคราะห์ 9 ดวง ยังต้องทราบสิ่งต่าง ๆ อีก เช่น
     1. ดวงอาทิตย์ (The Sun) เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์กว้างกว่าโลก 109 เท่า มีอุณหภูมิ 5,800 องศาเคลวิล แสงสว่างจากดวงอาทิตย์เดินทางถึงโลก ใช้เวลา 8.3 นาทีหมุนรอบตัวเองครบรอบในเวลา 27.27 วัน
     2. ดวงจันทร์ (The Moon) ซึ่งเป็นบริวารของโลกอยู่ใกล้โลกมากที่สุดในอวกาศเป็นวัตถุที่สว่างที่สุดในท้องฟ้าตอนกลางคืน ดวงจันทร์โคจรอบโลกในเวลา 29 วันครึ่ง
     3. จุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) พื้นผิวของดวงอาทิตย์บางแห่งก็มีจุดดับ อันที่จริงจุดดับคือพายุ แก๊ส ไฟฟ้า ที่หมุนบิดไปมาขณะที่มวลของแก๊สเคลื่อนที่ไปบนพื้นผิวของดวงอาทิตย์
     4. ดาวหาง เป็นบริวารของดวงอาทิตย์โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี ดาวหางสว่างขึ้นได้เพราะสะท้อนแสง
     5. ทางช้างเผือก (Milky Way) เป็นแสงสว่างจาง ๆ เห็นเป็นทางยาวมัว ๆ พาดข้ามขอบฟ้า แสงนี้จากดวงดาวนับล้าน ๆ ดวง
     6. สุริยุปราคา โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก เมื่อดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ เงาของ ดวงอาทิตย์จะทอดลงบนดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดสุริยุปราคา
     7. จันทรุปราคา โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก เมื่อโลกมาอยู่ระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เงาของโลกทอดลงบนดวงจันทร์ ทำให้เกิดจันทรุปราคา
     ประโยชน์และความก้าวหน้าของการสำรวจอวกาศ เริ่มต้นยุคอวกาศ เมื่อ ปี พ.ศ.2500 เมื่อดาวเทียมดวงแรกของโลก ส่งขึ้นไปโคจร รอบโลก คือ สปุตนิต 1 ของสหภาพโซเวียต (รัสเซีย)
อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้าข้อมูล
            ความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาถึงเรื่องอวกาศนั้นทำให้ทราบว่า ยุคอวกาศเป็นยุคที่วงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการพัฒนาและเฟื่องฟูที่จะศึกษาเรื่องของอวกาศมากขึ้น  มีการประดิษฐ์ยานอวกาศเพื่อส่งไปสำรวจห้วงอวกาศ  ส่งดาวเทียมและยานอวกาศขึ้นไปโครจรรอบโลกมากมาย  รวมทั้งการส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวเคราะห์ต่าง ๆ และมีการร่วมมือกันระหว่างประเทศ เพื่อจัดตั้งโครงการสถานอวกาศเป็นสถานีทดลองทางวิทยาศาสตร์บนห้วงอวกาศ  และในปัจจุบันสิ่งประดิษฐ์ที่อาศัยความรู้ทางด้านเทคโนโลยีอวกาศมีมากมายหลายชิ้น  โดยเฉพาะการสร้างดาวเทียมประเภทต่าง ๆ ขึ้นมาช่วยอำนวยประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน ที่สำคัญ ได้แก่  การสื่อสารซึ่งมีดาวเทียมสื่อสาร  เป็นดาวเทียมที่ทำหน้าที่เป็นสถานีรับส่งคลื่นวิทยุเพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคม  ทั้งที่เป็นการสื่อสารภายในประเทศและระหว่างประเทศ  ส่วนใหญ่ใช้สำรับกิจการโทรศัพท์  โทรเลข  โทรสาร  รวมทั้งการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์และสัญญาณวิทยุ, การพยากรณ์อากาศซึ่งมีดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา  ทำหน้าที่ส่งสัญญาณภาพถ่ายทางอากาศที่ประกอบด้วยข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา  เช่น  จำนวนและชนิดของเมฆ  ความแปรปรวนของอากาศ  ความเร็วลม  ความชื้น  อุณหภูมิ  ทำให้สามารถเตือนภัยที่เกิดจากธรรมชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะการเกิดพายุ  และการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ  เป็นดาวเทียมที่ถูกใช้เป็นสถานีเคลื่อนที่สำรวจดูพื้นที่ผิวโลกและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  ทำให้ทราบข้อมูลทั้งทางด้านธรณีวิทยา  นิเวศวิทยา  เป็นประโยชน์ด้านการเกษตรและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ


ปัญหาที่พบในการศึกษา
            1. ข้อมูลเรื่องอวกาศยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร เพราะเป็นเรื่องไกลตัว และยากแก่การเข้าใจของคนทั่วไป
            2. กิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้เรื่องอวกาศมีน้อยทำให้เกิดการเผยแพร่ความรู้น้อยลงไปด้วย
            3. เทคโนโลยีอวกาศเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กนักเรียนหรือบุคคลทั่วไปมองว่าเป็นเรื่องยากแก่การเข้าใจ จึงทำให้ไม่อยากเรียนรู้และศึกษา

ข้อเสนอแนะ
                1. ส่งเสริมข้อมูลเรื่องอวกาศยังให้แพร่หลาย เช่น สร้างห้องเรียนออนไลน์เกี่ยวกับอวกาศเพื่อง่ายต่อการเข้าใจ
                2. ควรส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับความรู้เรื่องอวกาศ เช่น จัดให้มีการดูดาวหรือจัดนิทรรศการเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ
            3. นำเสนอและเผยแพร่ประโยชน์ขอการศึกษาเรื่องอวกาศและเทคโนโลยีอวกาศให้ทุกคนรับรู้ จะได้ร่วมกันศึกษาและช่วยกันเผยแพร่ความรู้ออกไป




อ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/06/star/technology1.html
http://sites.google.com/site/kroobow410/technology
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-10627.html
http://www.chaiyatos.com/sky_lesson4.htm


























1 ความคิดเห็น: